รีเซต

ภาพถ่ายเปลวสุริยะ ผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์

ภาพถ่ายเปลวสุริยะ ผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์
TNN ช่อง16
22 พฤษภาคม 2565 ( 16:25 )
302
ภาพถ่ายเปลวสุริยะ ผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์

เปลวสุริยะ หรือโซลาร์แฟลร์ (Solar Flare) คือการระเบิดของชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการปลดปล่อยอนุภาคและรังสีที่มีพลังงานสูงที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต  แต่สิ่งมีชีวิตบนโลกได้รับการปกป้องจากสนามแม่เหล็กโลกและชั้นบรรยากาศ  มี 2 อย่างหลัก ๆ ที่น่ากังวลจากการปลดปล่อยนี้ คือ โปรตอนพลังงานสูง และรังสีเอ็กซ์


แม้รังสีเอ็กซ์จะผ่านชั้นบรรยากาศโลกของเราเข้ามาได้ไม่มากพอที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต แต่ก็มีผลกระทบต่อกิจกรรมของมนุษย์บริเวณวงโคจรรอบโลก ซึ่งจะรบกวนการสื่อสารทางวิทยุ  


นอกจากนี้ รังสีอัลตราไวโอเลตยังทำให้บรรยากาศชั้นนอกของโลกร้อนขึ้นจนทำให้เกิดการขยายตัว  ส่งผลกระทบต่อดาวเทียมโคจรรอบโลก ทำให้อายุการใช้งานในวงโคจรสั้นลง


โดยทั้ง 2  อาจทำให้ประสิทธิภาพในการสื่อสารผ่านดาวเทียมลดลง เช่น ความแม่นยำในการวัด Global Positioning System หรือ GPS ซึ่งเป็นระบบนำทางที่เราใช้ในชีวิตประจำวันกันบ่อย ๆ อาจลดลงได้


ในทุก 11 ปี จะเกิดพายุสุริยะ หรือ การปลดปล่อยเปลวสุริยะครั้งใหญ่ ซึ่งสัมผัสกับการปลดปล่อยมวลโคโรนา (CME) และวัฏจักรของจุดบอดบนดวงอาทิตย์ (Sun Spot) โดยมีความรุนแรงมากกว่าเปลวสุริยะทั่วไป ทั้งนี้ มันจะใช้เวลา 3-5 วัน ในการไปถึงโลกหลังจากออกจากดวงอาทิตย์


ปัญหาร้ายแรงประการหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างพายุสุริยะคือ ความเสียหายต่อดาวเทียมที่โคจรรอบโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรพ้องคาบโลก (Geosynchronous) ที่สูง ดาวเทียมสื่อสารโดยทั่วไปอยู่ในวงโคจรนี้ ดาวเทียมอาจมีประจุไฟฟ้าสูงในช่วงที่เกิดพายุและส่วนประกอบได้รับความเสียหายจากกระแสไฟที่สูง หรือส่วนประกอบได้รับความเสียหายจากอนุภาคพลังงานสูงที่ทะลุผ่านดาวเทียม


ปัจจุบันนักบินอวกาศไม่ตกอยู่ในอันตรายทันทีเพราะอยู่ใกล้โลกในวงโคจรต่ำ พวกเขาต้องกังวลเกี่ยวกับการได้รับรังสีสะสมระหว่างการเดินในอวกาศมากกว่า อย่างไรก็ตาม มันอาจเป็นอันตรายต่อนักบินอวกาศในภารกิจไปยังดวงจันทร์หรือดาวอังคาร


มนุษย์ในยุคปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากพายุสุริยะมากกว่าในอดีต เนื่องจากในปัจจุบัน เราพึ่งพาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดาวเทียม เครื่องใช้ไฟฟ้ามากกว่า จึงต้องมีการเฝ้าสังเกตดวงอาทิตย์เพื่อระวังภัย และคาดการณ์ความรุนแรงของผลกระทบที่จะได้รับ

ข้อมูลและจาก hesperia.gsfc.nasa.gov


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง