รีเซต

"อาหารจากห้องแลป" จะมีบทบาทต่อมนุษย์ในอนาคตจริงหรือ?

"อาหารจากห้องแลป" จะมีบทบาทต่อมนุษย์ในอนาคตจริงหรือ?
TNN ช่อง16
29 ธันวาคม 2563 ( 17:38 )
209

หลายคนน่าจะเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับ "การสร้างเนื้อเบอร์เกอร์ในห้องแลป" ซึ่งเป็นการนำสเต็มเซลล์มาเพิ่มจำนวนให้กลายเป็นชิ้นเนื้อเหมือนกับเนื้อวัวในเบอร์เกอร์ หรือการสร้างผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่ใช้วัวนม แต่สิ่งเหล่านี้จะปฏิวัติรูปแบบอาหารของมนุษย์ได้จริงหรือ?


ที่มาของภาพ https://www.sciencenewsforstudents.org/article/new-spin-lab-grown-meat

จากการสร้างเนื้อวัวเพื่อทำเบอร์เกอร์ในห้องแลป นักวิทยาศาสตร์ได้นำสเต็มเซลล์ ซึ่งเป็นเซลล์สามารถเปลี่ยนโครงสร้างได้ตามต้องการ มากระตุ้นให้เปลี่ยนสภาพกลายเป็นเนื้อวัว นับว่าสร้างความฮือฮาให้กับวงการวิทยาศาสตร์และวงการอาหารอย่างมาก ทั้งนี้ ผู้อ่านคงทราบดีว่ากระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสเต็มเซลล์ น่าจะมีราคาที่สูงและดำเนินการได้ยาก เพราะฉะนั้น เนื้อวัวที่ผลิตขึ้นในห้องแลปจึงมิอาจนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือการสร้างผลิตภัณฑ์จากนมวัว โดยไม่ต้องใช้วัวนมเป็นแหล่งของน้ำนม แต่ใช้กระบวนการทางชีวเคมีในการหมักยีสต์สายพันธุ์ Trichoderma ร่วมกับการผสมสารอาหารที่มีอยู๋ในน้ำนม เช่น โปรตีนเคซีน (Casein), น้ำตาลแลคโตส, วิตามินและเกลือแร่อื่น ๆ จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ "เหมือนน้ำนมจากวัว" ทุกประการ นับเป็นอีกหนึ่งความพยายามในการสร้างอาหารขึ้นเลียนแบบอาหารจากธรรมชาติ โดยฝีมือของมนุษย์


ที่มาของภาพ https://www.irishtimes.com/business/innovation/perfect-day-for-cork-as-start-up-raises-25m-to-develop-cow-free-milk-1.3412766

อย่างไรก็ตาม การสร้างผลิตภัณฑ์จากนมให้คล้ายกับที่วัวนมทำได้นั้น แม้จะมีคุณสมบัติไม่ต่างจากนมตามธรรมชาติ แต่ผลิตออกมาได้ค่อนข้างน้อย และคุณสมบัติจะค่อนไปทางผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนมวัว มากกว่าจะเป็นนมวัวแท้ ๆ ที่ใช้ดื่ม ดังนั้น มันจึงถูกใช้ในการทำโยเกิร์ตและชีสสำหรับกลุ่มผู้บริโภคมังสวิรัติ

กลับมาที่คำถาม อาหารที่สังเคราะห์ขึ้นเองเหล่านี้ จะสามารถปฏิวัติรูปแบบอาหารของมนุษย์ได้จริงหรือ? ด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัมผัส, รสชาติ, กลิ่น และสารอาหารที่ได้รับแทบไม่ต่างไปจากอาหารจากธรรมชาติ ในจุดนี้จึงขอตอบว่าพวกมันสามารถทดแทนอาหารจริง ๆ ได้อย่างไม่ต้องสงสัยเลยล่ะ


ที่มาของภาพ https://www.foodnavigator.com/Article/2016/07/06/Lab-grown-meat-to-revolutionise-food-sector

เพียงแต่กระบวนการในการผลิตอาหารสังเคราะห์ ยังคงเป็นที่ถกเถียงในเรื่องของผลข้างเคียงจากการปรับแต่ง โดยเฉพาะกรณีของการใช้สเต็มเซลล์ (คล้ายกับข้อถกเถียงในการรับประทานผัก GMO) รวมถึงต้นทุนการผลิตที่ยังสูงเกินไป จึงอาจจะไม่เหมาะที่จะผลิตและวางจำหน่ายแทนอาหารจากธรรมชาติ

อย่างไรก็ตาม ราคาต้นทุนการผลิตอาหารสังเคราะห์เหล่านี้ เริ่มมีแนวโน้มถูกลงอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีการตัดแต่งยีนในสเต็มเซลล์ ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าในอนาคต เนื้อที่คุณรับประทานอาจออกมาจากห้องแลปก็เป็นได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Forbes

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

ข่าวที่เกี่ยวข้อง