รีเซต

รู้จักอาการ "สะโพกหลวม" ในน้องเทนนิส อายุน้อยก็เป็นได้

รู้จักอาการ "สะโพกหลวม" ในน้องเทนนิส อายุน้อยก็เป็นได้
TrueID
27 กรกฎาคม 2564 ( 13:40 )
1.1K
รู้จักอาการ "สะโพกหลวม" ในน้องเทนนิส อายุน้อยก็เป็นได้

จากความสำเร็จในการคว้าเหรียญทอง ในมหกรรมกีฬาระดับชาติอย่างกีฬาโอลิมปิกที่จัดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น น้องเทนนิสนักกีฬาเทควันโดสาวเจ้าของเหรียญดังกล่าวในรุ่น 49 kg. ได้ออกมาเผยว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับเอ็นไขว้หลัง(เข่า)ขาด และสะโพกหลวม ที่เป็นข้อได้เปรียบในการใช้ท่าไม้ตายคือ "Hook kick" วันนี้ trueID รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพดังกล่าวมาให้ทุกคนได้ทราบกันแล้ว

 

ความเสื่อมของร่างกายเกิดขึ้นได้จากปัจจัยทางด้านอายุ การใช้ชีวิต พันธุกรรม การทานอาหาร รวมถึงการทานยาบางตัวที่ทำปฏิกิริยาให้ความเสื่อมมาเยือน จึงควรรู้สาเหตุและการดูแลรักษาข้อเข่าเสื่อมและข้อสะโพกเสื่อม

 

ข้อสะโพกเสื่อม

ส่วนที่เป็นข้อสะโพกคือ ข้อต่อระหว่างกระดูกเชิงกรานและกระดูกต้นขา ทำหน้าที่งอและเหยียดเวลาเดิน วิ่ง นั่ง นอน จึงทำให้รับน้ำหนักหรือแรงกดแรงบิดในทุกอิริยาบถของร่างกาย หรือแม้กระทั่งการเล่นกีฬาและออกกำลังกาย เมื่อผ่านการใช้งานนาน ๆ จึงมักเกิดการสึกหรอของผิวข้อ หรือมีการทรุดตัวของหัวกระดูกต้นขา หรือกระดูกสะโพกหัก ซึ่งมักเกิดกับผู้สูงอายุ

 

สำหรับวัยกลางคนพบว่า ร้อยละ 80 มีปัญหาข้อสะโพกเสื่อม เพราะขาดเลือดไปเลี้ยงที่ส่วนหัวของกระดูกต้นขา เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก หรือบางคนกินยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ หรือบางคนเคยเกิดอุบัติเหตุข้อหลุดหรือเป็นรูมาตอยด์ โรคข้อยึดติดแข็ง และโรคติดเชื้อ

 

ในวัยเด็กก็อาจเป็นโรคนี้ได้ แต่ส่วนมากมักเป็นตั้งแต่กำเนิด เช่น สะโพกหลวมโดยกำเนิดหรือเบ้าสะโพกตื้น จนทำให้ข้อหลวมหรือหลุด รวมทั้งอาจเป็นโรคเยื่อกระดูกเจริญผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวดหรือหลังคด ข้อขยับหรือหมุนได้น้อย ทำให้ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน มีอาการเดินโยกเยกผิดปกติ

 

การสังเกตอาการเพื่อดูว่าตนเองมีอาการของโรคข้อสะโ พกเสื่อมหรือไม่ให้ดูจากเวลาเดินหรือวิ่งมีอาการเจ็บแปล๊บ ๆ ที่ข้อสะโพก บริเวณที่เจ็บมักเกิดที่ตำแหน่งด้านหน้าหรือด้านหลังสะโพก และมีอาการเจ็บปวดร้าวลงไปแค่เข่า ไม่ก็เลยไปถึงปลายเท้า

 

หลายคนคิดว่าสะโพกเสื่อมมักเกิดกับผู้สูงอายุ แต้แท้จริงแล้ว คนอายุน้อยที่ยังไม่ถึงเลข 6 ก็สะโพกเสื่อมได้เช่นกัน ถ้าเป็นโรคที่เกิดจากข้อสะโพกเสื่อมมักเกิดทีละข้าง

 

วิธีชะลอข้อสะโพกเสื่อม ดูแลน้ำหนักตัวอย่าให้โหลดเกินไป ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และใช้ยาสเตียรอยด์ด้วยความระมัดระวัง และหมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบสะโพกให้มีความแข็งแรงด้วย 4 ท่าหลัก คือ

 

  • ท่าที่ 1 ยืนจับเก้าอี้ แกว่งขาไปด้านหลัง และปล่อยกลับมาด้านหน้า ทำซ้าย – ขวาทีละข้างสลับกัน
  • ท่าที่ 2 จับเก้าอี้ ยกเข่างอขึ้นมาด้านหน้า ปล่อยกลับยืนตรง ทำซ้าย – ขวาทีละข้างสลับกัน
  • ท่าที่ 3 ยืนจับเก้าอี้หรือเสา เตะขาออกไปด้านข้างลำตัว และดึงกลับเข้ามาทำซ้าย – ขวาทีละข้างสลับกัน
  • ท่าที่ 4 นอนตะแคงบนพื้น เอาหัวหนุนแขน ยกขาขึ้นด้านบน ทำซ้าย – ขวาทีละข้างสลับกัน

 

ส่วนโรคกระดูกพรุนกับข้อสะโพกเสื่อมอาจไม่ได้เกี่ยวเนื่องกันโดยตรง แต่ถัากระดูกซึ่งเป็นฐานของข้อเนื้อแน่นไม่พรุน ไม่ทรุดง่าย โอกาสที่ข้อเสื่อมก็จะน้อยลง

 

การป้องกันทางอ้อม เช่น กินแคลเซียม กินวิตามินดี ช่วยให้กระดูกแข็งแรงและเนื้อแน่นขึ้น สำหรับการรักษาผู้ที่มีอาการสะโพกเสื่อมด้วยการผ่าตัด แพทย์จะแนะนำข้อเทียมชนิดต่าง ๆ ที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละรายให้ผู้ป่วยเป็นคนตัดสินใจเลือกใช้

 

โดยจะบอกข้อดีข้อเสียให้ผู้ป่วยทราบเพราะวัสดุต่าง ๆ นั้นมีราคาและค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ปัจจุบันการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียมจะเป็นวิธี Minimal Invasive Surgery แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กและไม่ได้ตัดกล้ามเนื้อมาก ทำให้เจ็บปวดน้อยลง เสียเลือดน้อยกว่าสมัยก่อน 

 

ช่วยให้การฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็วขึ้น ยิ่งมีการวางแผนจากทีมแพทย์จะทำให้ผลการรักษาเป็นไปตามเป้าหมาย ผู้ป่วยหลายคนหลังการผ่าตัดสามารถลุกเดินได้ในวันรุ่งขึ้น ปัจจุบันอายุการใช้งานของข้อเทียมรุ่นใหม่ยาวนานขึ้น เนื่องจากถูกออกแบบมาให้มีรูปร่างที่ดี มีวัสดุผิวสัมผัสที่ดี มีขนาดของหัวที่ใหญ่ ทำให้โอกาสที่ข้อจะเคลื่อนหลุดน้อยลง และเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อมากกว่าเดิม ทำให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้มากขึ้น

 

 

ข้อมูล :โรงพยาบาลกรุงเทพฯ , 

ภาพโดย IAOM-US จาก Pixabay 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง