รีเซต

ไวรัสโคโรนา : ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 33 ราย รัฐบาลประกาศ "ยืนด้วยขาตัวเอง" สู้โควิด-19

ไวรัสโคโรนา : ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 33 ราย รัฐบาลประกาศ "ยืนด้วยขาตัวเอง" สู้โควิด-19
บีบีซี ไทย
16 มีนาคม 2563 ( 11:13 )
36
ไวรัสโคโรนา : ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 33 ราย รัฐบาลประกาศ "ยืนด้วยขาตัวเอง" สู้โควิด-19

วันนี้ (16 มี.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ แถลงความคืบหน้าหลังการประชุมของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ครั้งที่ 1 หลังประชุมกันยาวนานกว่า 5 ชม. โดยข้อสรุปในวันนี้นั้นจะมีการเสนอต่อที่ประชุมครม.ในวันพรุ่งนี้ แต่มีข้อสรุปบางส่วนที่จะมีผลบังคับใช้ทันทีตาม พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558

รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ประจำวันที่ 16 มีนาคม 2563 สธ.เผยพบผู้ติดเชื้อยืนยันเพิ่ม 33 ราย นับเป็นรายที่ 115-147 จากการขยายการตรวจคัดกรองกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง โดยจำแนกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ จำนวน 16 คน จาก กลุ่มสนามมวย 7 คน, กลุ่มสถานบันเทิง 3 คน, สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว 6 คน

กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ จำนวน 17 คน จาก กลุ่มผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ 6 คน, กลุ่มทำงานใกล้ชิดสัมผัสต่างชาติ 6 คน, การระบาดเป็นกลุ่มก้อน 3 คน และกลุ่มผู้ร่วมพิธีทางศาสนาในมาเลเซีย 2 คน

นอกจากนี้ อยู่ระหว่างดำเนินการสอบสวนโรค และ/หรือ รอผลทางห้องปฏิบัติการ จำนวน 27 ราย สรุปมีผู้ป่วยยืนยันที่รักษาหายกลับบ้านแล้ว 38 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 108 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยสะสมในประเทศไทยขณะนี้ 147 ราย สำหรับผู้ป่วยอาการหนัก 1 ราย ที่รักษาตัวอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

สำหรับกลุ่มที่เดินทางมาจากประเทศอิตาลีที่ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี จำนวน 83 คน ในจำนวนนี้ มี 6 คน รับตัวไว้สังเกตอาการที่โรงพยาบาล ทั้งหมดไม่มีไข้ ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ส่วนที่เหลือ 77 คน (ผู้ชาย 24 คน ผู้หญิง 53 คน) ทุกคนไม่มีไข้ ยังต้องอยู่ในการเฝ้าระวังสังเกตอาการ จนครบ 14 วัน ที่อาคารรับรองฐานทัพเรือสัตหีบ

ย้ำยังไม่เข้าสู่ระยะที่ 3

นายวิษณุ ย้ำว่าขณะนี้การระบาดในไทยยังคงอยู่ในระยะที่ 2 ซึ่งได้ประกาศไปก่อนหน้านี้ โดยเกณฑ์การแบ่งระยะนั้นเป็นการกำหนดใช้เองภายในประเทศ เพื่อให้สะดวกต่อการบริหารจัดการ

สำหรับข้อสรุป แบ่งออกเป็น 6 ด้าน

1. ด้านสาธารณสุข

- เตรียมรับมือเรื่องความพร้อมของสถานพยาบาล เตียงสำหรับรับผู้ป่วย นายกฯสั่งการให้รพ.ทั้งรัฐและเอกชน รพ.ในสังกัดของกทม. สถานพยาบาลต่าง ๆ รวมทั้งรพ.สังกัดมหาวิทยาลัย รพ.ทหาร รพ.ตำรวจ เตรียมยมปรับสถานที่ ให้มีเตียงเพียงพอ เพื่อรองรับผู้ป่วย

- เตรียมแพทย์ พยาบาล จากทุกภาคส่วน รวมถึงแพทย์ที่เกษียณราชการแล้ว รวมถึงจิตอาสาที่เชียวชาญ หากจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น

- นายกฯอนุมัติ"ค่าตอบแทนพิเศษ" ให้แก่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19

2. เวชภัณฑ์ทางการแพทย์

- กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ขณะนี้กำลังเร่งกำลังการผลิดหน้ากกากอนมัย ปริมาณกว่า 2 ล้านชิ้นโดยประมาณ ร่วมกับกระทรวงต่างประเทศที่มีการประสานงานบางประเทศที่พร้อมสนับสนุน

- นายกฯสั่งการให้นำหน้ากากอนามัย ซึ่งเป็นของกลางจากการจับกุมการขายหน้าอนามัยในออนไลน์ และจากการยึดของกรมการกงสุล กว่าล้านชิ้น ให้นำมาใช้ในรพ. และสถานพยาบาลก่อนแม้คดียังไม่เป็นที่สิ้นสุด แต่ไม่ให้เสียรูปคดี

3. ข้อมูลข่าวสาร

นายวิษณุ กล่าวว่า ในแต่ละวันมีประชาชนโทรเข้ามากว่าวันละหนึ่งพันราย เพื่อสอบถามข้อมูล ได้มีการทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่เพื่อให้ข้อมูลให้ชัดเจน

4. การต่างประเทศ

- มีต่างประเทศแสดงความปรารถนาต้องการช่วยเหลือเรื่องยา หน้ากากอนามัย อุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่นายกฯ สั่งว่าเราจะรอรับความช่วยเหลือจากเขาไม่ได้ เราจะเร่งการผลิตเอง เร่งผลิตชุด PPE จะ"ยืนด้วยขาตัวเอง" แต่จะรับจากตปท ส่วนหนึ่ง นายวิษณุ แถลงว่า รมว. การต่างประเทศได้รับความปรารถนาดีจากต่างประเทศ​จะให้ความช่วยเหลือด้านหน้ากากอนามัย เวชภัณฑ์ยา

- ตามที่มการยกเลิก VOA หรือ Free Visa ได้ติดต่อไปยังประเทศ และทุกฝ่ายยอมรับนายกฯสั่งการห่วงถึงคนไทยในต่างประเทศ ทั้งที่เป็นข้าราชการประจำสถานทูตกว่าพันห้าร้อยคน นักเรียนไทยนับพันคน และพระภิกษุไทยในต่างแดนกว่าพันห้าร้อยรูป และแรงงานไทยอีกนับแสนคน จะมีการจัดตั้ง "ทีมไทยแลนด์" ภายใต้การดูแลของสถานทูต เพื่อรับเรื่องและรายงานสถานการณ์กลับเข้ามายังประเทศไทย

5. มาตรการป้องกัน

- ยังไม่ประกาศว่าเข้าระยะที่สาม อยู่ในระหว่างการเตรียมรับสถานการณ์

- หากมาจากประเทศที่ประกาศเขตติดโรค 4 ประเทศ และ 2 เขตปกครองพิเศษ คือ จีน เกาหลีใต้ อิหร่าน อิตาลี ฮ่องกง มาเก๊า จะมีมาตรการกักตัวสูงสุด แต่กรณีประเทศอื่นๆ ยังไม่ประกาศเขตติดโรคเพิ่มเติม จะประเมินสถานการณ์เป็นรายงานทุกวัน

- งดสงกรานต์ 13-15 ไม่เป็นวันหยุดราชการ และไม่เป็นวันหยุดงานของภาคเอกชน เพื่อไม่ให้มีการหลั่งไหลในการเดินทาง แต่รัฐจะชดเชยวันหยุด หรือชดเชยสิทธิของผู้ใช้แรงงานในโอกาสอื่นต่อไปในปีนี้ เมื่อสถานการณ์บรรเทาเบาบางลง จะประกาศให้ทราบล่วงหน้านานพอสมควร ให้งดวันหยุดสงกรานต์ปีนี้ 13 14 15 เมษายน โดยจะเปลี่ยนย้ายไปหยุดโอกาสอื่นที่มีวันหยุดยาวๆ ได้

- การปิดหรือหยุดระงับการเปิดสถานที่บางแห่ง จากก่อนหน้านี้มีการติดโรคอย่างผิดปกติ ในที่ชุมนุมที่มีคนอยู่มาก และมีกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง จะมีการเสนอต่อครม.ให้มีการปิดเป็นการชั่วคราว

เกณฑ์สถานที่ที่จะเข้าข่ายให้ปิดเป้นการชั่วคราว คือ

  1. สถานที่ใดมีคนชุมนุมมาก และชุมนุมเป็นกิจวัตร รวมทั้งมีกิจกรรม มีการพูดจาปราศรัย และยากต่อการแยกพื้นที่ หากมีทางเลือกหรือทางเลี่ยงชดเชยการชุมนุมได้ ให้เสนอครม.พรุ่งนี้ เพื่อให้มีการหยุดหรือปิดไว้ก่อนเป็การช่วยคราว เช่น มหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน โรงเรียน สถาบันกวดวิชา เป็นต้น
  2. ชุมนุมครั้งละมาก ๆ มีการส่งเสียงเชียร์ ร้องตะโกน มีกิจกรรมที่มีการสัมผัส มีสารคัดหลั่ง เช่น สนามหมวย สนามกีฬา รวมถึงโรงภาพยนตร์

ซึ่งสำหรับสถานที่ที่ชัดเจนนั้นจะมีการพิจารณาเป็นแห่ง ๆ ต่อไป หากไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว ยังคงเปิดให้บริการได้ แต่ต้องมีมาตรการรองรับ เช่น มีการวัดไข้ มีหน้ากาก เจลล้างมือให้บริการ

ขอความร่วมมือหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ กำหนดมาตราการเลื่อนหรือเลื่อมเวลาทำงาน รับประทานอาการ เดินทางให้เข้าออกไม่พร้อมกัน เพื่อลดความเสี่ยง

6. การเยียวยา

กระทรวงการคลังรับเรื่องไปเจรจากรณีการผ่อนผันค่าเช่า เช่น อาคารราชพัสดุ ตลาด หรือสถานที่ภายใต้สังกัดรัฐ และเอกชนรายใหญ่ให้ผ่อนผันลดหล่อนค่าเช่า รวมถึงกรณีการบังคับคดี ขายฝาก การชำระหนี้ จะมีการพิจารณาเพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง