รีเซต

ผู้ป่วยเบาหวานลุ้นได้ใช้อวัยวะเทียมยืดหดได้ นักวิจัยพบอาจช่วยลดพังผืดผ่าตัด

ผู้ป่วยเบาหวานลุ้นได้ใช้อวัยวะเทียมยืดหดได้ นักวิจัยพบอาจช่วยลดพังผืดผ่าตัด
TNN ช่อง16
10 สิงหาคม 2565 ( 22:32 )
145

สำหรับเทคโนโลยีการแพทย์ เช่นการปลูกถ่ายอวัยวะ มีการนำอุปกรณ์อวัยวะเทียมรักษาโรคมาใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานมานานแล้ว แต่อาจเกิดเนื้อเยื่อแผลเป็น หรือพังผืดขึ้นในบริเวณที่มีการผ่าตัด ซึ่งถือเป็นปรากฎการณ์ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่สร้างปัญหาให้กับผู้ป่วยมาเป็นเวลานาน

ทำให้เหล่าบรรดาวิศวกรและผู้ช่วยจากสถาบันเอ็มไอที (Massachusette Institute of Technology-MIT) นำโดยเอลเลน โรช (Ellen Roche) ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเครื่องกลและสมาชิกสถาบันวิศวกรรมการแพทย์และวิทยาศาสตร์ของเอ็มไอที ร่วมศึกษากับไอเมียร์ โดลัน (Eimear Dolan) และ ศ. แกร์รี ดัฟฟี (Garry Duffy) อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติไอร์แลนด์ เพื่อเริ่มพัฒนาอุปกรณ์กลไกแบบอ่อน (Soft robotic device) ที่ขยายและยืดหดได้ใช้สำหรับการจ่ายอินซูลิน โดยมีแนวคิดว่า อุปกรณ์ดังกล่าวจะสามารถป้องกันพังผืดแผลเป็นที่เกิดจากอุปกรณ์ฝังที่ปล่อยอินซูลินสู่ร่างกาย 

โดยนักวิจัยจะสูบลมและปล่อยลมอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นเวลา 5 นาที ทุก ๆ 12 ชั่วโมง ซึ่งนอกจากการปรับขยายขนาดแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ภูมิคุ้มกันมาสะสมตัวใกล้กับจุดที่อุปกรณ์ฝังอยู่ และในการทดสอบกับสัตว์ทดลอง เช่นหนู ผลปรากฎว่า เมื่อมีการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว ร่วมกับกลไกการจ่ายยา อุปกรณ์จะทำงานได้นานกว่าการฝังอุปกรณ์จ่ายยาแบบปกติ โดยขณะนี้กำลังมีการวิจัยเพิ่มเติมว่า อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้น จะสามารถใช้เป็นตับอ่อนเทียมเพื่อช่วยรักษาโรคเบาหวานได้หรือไม่ 

โรชกล่าวว่า พวกเขาทดลองสร้างอุปกรณ์นี้ขึ้นมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน และยืดอายุของอุปกรณ์จ่ายยาอินซูลินที่ฝังไว้ในร่างกายผู้ป่วย และยังสามารถพัฒนาอุปกรณ์เช่นนี้ให้ถูกใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้นกว่านี้ในอนาคต

ขณะที่ก่อนหน้านี้  มีตัวอย่างอุปกรณ์ที่สามารถนำมาปลูกถ่ายเป็นอวัยวะได้จริง ๆ คือ ไตเทียม โดยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เทรสเทิล ไบโอเทราพิวติคส์ (Trestle Biotherapeutics) ได้นำกระบวนการพิมพ์ชีวภาพสามมิติมาใช้ในการสร้าง "ไต" ที่มีศักยภาพในการทำงานใกล้เคียงกับไตของมนุษย์ โดยนำสิทธิบัตรการทดลองของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่เคยสร้างเนื้อเยื่อไตด้วยเครื่องพิมพ์ชีวภาพสามมิติได้สำเร็จ มาต่อยอดให้กลายเป็นอวัยวะจริง ๆ และสามารถปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยได้ ซึ่งในการสร้างไตด้วยเครื่องพิมพ์ชีวภาพสามมิตินั้น นักวิทยาศาสตร์จะใช้สเต็มเซลล์เป็น "หมึกพิมพ์" ซึ่งสเต็มเซลล์เหล่านี้จะเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อไตได้ในที่สุด 

ที่มาของข้อมูล interestingengineering.com

ที่มาของรูปภาพ Reuters


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง