รีเซต

เกราะจากวัสดุธรรมชาติล้ำยุค ป้องกันได้แม้กระสุนเร็วเหนือเสียง 4 เท่า

เกราะจากวัสดุธรรมชาติล้ำยุค ป้องกันได้แม้กระสุนเร็วเหนือเสียง 4 เท่า
TNN ช่อง16
21 ธันวาคม 2565 ( 01:05 )
109
เกราะจากวัสดุธรรมชาติล้ำยุค ป้องกันได้แม้กระสุนเร็วเหนือเสียง 4 เท่า

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคนต์ในสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มวิจัยเพื่อสร้างเกราะกันกระสุนยุคใหม่จากวัสดุธรรมชาติ โดยทีมวิจัยเลือกใช้เปลือกหอยและฟองน้ำทะเลเป็นต้นแบบ เพื่อสร้างเกราะสังเคราะห์จากโปรตีนธรรมชาติที่สามารถป้องกันกระสุนความเร็วเหนือเสียงได้ 


โครงการวิจัยวัสดุศาสตร์ดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในปี 2016 ซึ่งทีมวิจัยเลือกใช้สารประกอบจากโปรตีนที่มีชื่อเรียกเรียกว่า “ทาลิน (Talin)” เพื่อนำมาสร้างเป็น TSAM หรือวัสดุดูดซับแรงกระแทกทาลิน (Talin Shock Absorbing Materials) โดยทาลินเป็นองค์ประกอบของโปรตีน ซึ่งมีคุณสมบัติต่อต้านการถูกบีบอัด หรือถูกกระทำด้วยแรงต่าง ๆ


ที่มาของรูปภาพ University of Kent


ศาสตราจารย์ เบน กูลต์ (Ben Goult) หนึ่งในผู้เขียนงานวิจัย อธิบายว่า งานวิจัยชิ้นนี้เกี่ยวข้องกับโปรตีนทาลิน ซึ่งเป็นส่วนดูดซับแรงกระแทกของเซลล์ตามธรรมชาติ ทั้งยังเผยว่า ทาลินมีโมเลกุลที่มีคุณสมบัติคือ หากมีแรงกระทำต่อเซลล์ โมเลกุลชุดนี้จะทำงาน และจะหยุดการทำงานเมื่อแรงกระทำต่อเซลล์ลดลง


 “ความสามารถในการตอบสนองต่อแรง ทำให้ทาลินมีคุณสมบัติในการดูดซับแรงกระแทกระดับโมเลกุล ปกป้องเซลล์จากผลกระทบที่มีแรงกระทำขนาดใหญ่เกิดขึ้น และเมื่อเราใช้ทาลินมาแปลงเป็นวัสดุพอลีเมอร์ ก็ได้ผลออกมาเป็นที่น่าประทับใจ” ศ. กูลต์ กล่าว


ในการทดสอบเผยให้เห็นความสามารถของทาลิน ในการดูดซับแรงกระแทกจากวัตถุที่เคลื่อนที่เร็ว 1,500 เมตรต่อวินาที ซึ่งเร็วกว่าเสียง ที่มีความเร็วอยู่ที่ 343 เมตรต่อนาที ทีมวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า วัตถุในการทดสอบเคลื่อนที่ได้เร็วกว่ากระสุนปกติ ที่มีความเร็วประมาณ 400 เมตรถึง 1,000 เมตรต่อวินาที ทั้งยังเร็วกว่าอนุภาคที่เคลื่อนที่ไปในอวกาศ ที่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความเร็วประมาณ 1,000 เมตรต่อวินาที 


ที่มาของรูปภาพ Reuters


 ทั้งนี้ ยังมีการทดสอบความสามารถในการซับแรงกระแทกของทาลินกับวัสดุหลากหลายประเภท เช่นทดสอบกับอนุภาคบะซอลต์ขนาดเล็กเพียงระดับไมโครเมตร ไปจนถึงเศษสะเก็ดอลูมิเนียมขนาดใหญ่ เพื่อพิสูจน์ถึงความสามารถที่เหนือกว่าวัสดุเกราะทั่วไป โดยทีมวิจัยเผยว่า TSAM ป้องกันแรงกระแทกของวัตถุต่าง ๆ เหล่านั้นได้ ซึ่งหมายความว่า TSAM นั้นสามารถถูกใช้ในอุตสาหกรรมอวกาศ เพื่อปกป้องยานอวกาศ หรือนำมาเป็นชุดอวกาศเพื่อปกป้องมนุษย์จากการกระแทกของวัสดุอันตรายได้เช่นกัน


นักวิจัยยังกล่าวอีกว่า วัสดุ TSAM มีศักยภาพในการดูดซับพลังงานจลน์จากกระสุนและเศษกระสุนได้ดีกว่าวัสดุของเสื้อเกราะในปัจจุบันที่ทำจากเซรามิกและวัสดุผสมไฟเบอร์ โดยหากผสมวัสดุ TSAM เข้ากับชุดเกราะรุ่นต่อไปอาจทำให้เสื้อเกราะมีน้ำหนักเบา และทนทานยิ่งขึ้น รวมทั้งป้องกันการบาดเจ็บจากของมีคมได้ดียิ่งขึ้น


ที่มาของข้อมูล newatlas 

ที่มาของรูปภาพ Tsvetoslav Hristov


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง