NAC (N-acetylcysteine) - ยาละลายเสมหะ ทางเลือก "ยารักษาโควิด" ระหว่างรอฉีดวัคซีน
มียาอีกหนึ่งชนิดมานำเสนอเกี่ยวกับการช่วยรักษาโควิด-19 ได้ นั่นก็คือ ยากลุ่มละลายเสมหะ ขับเสมหะออกจากหลอดลม และปอด หรือที่เรียกว่า NAC (N-acetylcysteine) ซึ่งคุณสมบัติของยาชนิดนี้ก็ไม่ธรรมดา นอกจากจะช่วยบำรุงปอดและสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ทำงานดีขึ้นแล้ว ยังช่วยต้านทานโควิด-19 ได้ด้วย
วันนี้ TrueID ไม่รอช้า รีบสรรหาคุณสมบัติยา NAC (N-acetylcysteine) หรือยาที่มีฤทธิ์ละลายเสมหะ ขับเสมหะ ชนิดนี้มาฝากทุกคนกัน เผื่อเป็นอีกทางเลือกช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด-19
NAC เป็นยาอะไร
NAC (N-acetylcysteine) หรือ แนค เป็นยาละลายเสมหะที่เรามักนิยมใช้แบบ “แนค เม็ดฟู่” มาละลายน้ำ ขับเสมหะ นอกจากนั้นยังเป็นยารักษาผู้ป่วยโรคปอดมานานแล้ว พร้อมทั้งยังช่วยกลูตาไธโอน ต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ป้องกันและลดความรุนแรงจากเชื้อไวรัสที่ไวรัสที่เข้าทำลายปอด
สรรพคุณของ NAC
1.มีฤทธิ์ละลายเสมหะ การอักเสบของทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเกิดจากการติดเชื้อ (เช่น แบคทีเรีย, ไวรัส หรือจุลชีพอื่นๆ) หรือไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ (เช่น การอักเสบจากภูมิแพ้ หรือการระคายเคืองเรื้อรัง) และยังช่วยยับยั้งแบคทีเรียกับเซลล์เยื่อบุชั้นผิวของทางเดินหายใจ
2.มีฤทธิ์กำจัดสารพิษและสารอนุมูลอิสระ เช่น เกิดจากมลพิษในอากาศ, ฝุ่น, ควันบุหรี่, ยาบางชนิด, ความเครียด, การติดเชื้อ, การบาดเจ็บ, การอักเสบ
3.มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดขยายตัวด้วย เป็นกลไกสำคัญในการป้องกันภาวะไตวายอันเนื่องมาจากการฉีดสารทึบรังสี เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังเนื้อไตได้
ประโยชน์ของ NAC โดยองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา
1.ใช้เป็นยาละลายเสมหะในผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียวข้นจากโรคของระบบทางเดินหายใจ เช่น ถุงลมโป่งพอง, วัณโรค, หลอดลมอักเสบ หรือผู้ป่วยที่เจาะคอ
2.ใช้รักษาภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจของโรค cystic fibrosis
3.ป้องกันภาวะไตวายอันเนื่องมาจากการฉีดสารทึบรังสี
4.ใช้เป็นยาถอนพิษที่เกิดจากการรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
ประโยชน์ของ NAC โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย
1.ใช้เป็นยาละลายเสมหะในผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียวข้นจากโรคระบบทางเดินหายใจ
2.ใช้เป็นยาถอนพิษที่เกิดจากการรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
ผลข้างเคียง
พบน้อยมาก เช่น แสบหน้าอกจากกรด, คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องเสีย, มีผื่นที่ผิวหนัง, ลมพิษ, หน้า หรือลำตัวแดง, ท้องผูก , ปากอักเสบ, ปวดศีรษะ, เสียงดังในหู
ไม่ควรใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์, phenylketonuria หรือแพ้ acetylcysteine
วิธีการใช้ยา
ผู้ใหญ่และเด็กอายุ 14 ปีขึ้นไป ใช้ชนิดฟู่ ครั้งละ 1-3 เม็ด วันละครั้ง ก่อนอาหารเย็น (1 เม็ดฟู่มี NAC 600 มก.) หากทานเป็นเม็ดอย่างต่ำควรใช้ขนาดตั้งแต่ 1,200 มก./วันขึ้นไป
NAC ป้องกันโควิดได้อย่างไร
จากงานการวิจัยเรื่อง ‘N-acetylcysteine to Combat COVID-19:An Evidence Review’ ของ Therapeutics and Clinical Risk Management ซึ่งเป็นงานวิจัยที่เปิดเผยว่า NAC สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ทำงานดีขึ้น พร้อมรับมือกับไวรัสได้ โดยสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้
1. NAC เข้าไปช่วย Anti-Virus ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสในร่างกาย ยับยั้งการกระตุ้นตัวควบคุมการอักเสบของร่างกายไม่ให้ทำงาน จึงทำให้ไวรัสในร่างกายไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้
2. NAC มีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย ผ่านการสร้างสมดุลของอนุมูลอิสระกับสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มกลูตาไธโอนขึ้นมาปกป้องเซลล์ และกำจัดสารพิษในร่างกาย
3. NAC สามารถช่วยลดการเกิดปอดอักเสบได้ของคนไข้ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
4. NAC เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอด ลดการอักเสบในปอดระดับที่รุนแรง ซึ่งสามารถลดอัตราการตายได้ ช่วยให้การทำงานของปอดดีขึ้น ลดความจำเป็นในการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ใช้ NAC ป้องกันโควิดกับใครได้บ้าง
NAC มีความปลอดภัย ในต่างประเทศมีการใช้แนคกันมากมายและใช้กันมานานแล้ว อีกทั้งยังผ่านการรับรองจาก อย. และหากถามว่าใครที่ควรใช้ NAC เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการจากโควิด-19 ย่อมจะเป็นกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น
1.ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว
2.คนอ้วน
3.คนที่จำเป็นต้องอยู่ในที่สาธารณะ
4.กลุ่มเสี่ยงอื่นๆ
5.ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป
NAC จึงเป็นยาที่มีฤทธิ์ละลายเสมหะ ขับเสมหะ NAC และกำจัดสารพิษ และสารอนุมูลอิสระ ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค หรือความผิดปกติอื่นๆหลายชนิด ผู้ป่วยทนต่อยาได้ดี และมีผลข้างเคียงน้อย จากการศึกษาพบว่า การใช้ NAC เพื่อให้มีฤทธิ์กำจัดสารพิษ และสารอนุมูลอิสระนั้น
อย่างไรก็ตาม NAC อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่วยลดการติดเชื้อรุนแรงจากโรคโควิด-19 และสร้างเสริมภูมิคุ้มกันได้ระหว่างรอฉีดวัคซีน เพราะเป็นยาที่มีประสิทธิภาพ ได้รับรองจาก FDA ของสหรัฐอเมริกา และ อย. ไทย ดังนั้นหากผู้ที่จะรับประทานยาชนิดนี้ต้องเป็นผู้ยาชนิดนี้ควรมีอายุ 14 ปีขึ้นไปและอย่าลืมปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนซื้อยา
ข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล , the standard , the matter
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง