3 มิถุนายน วันจักรยานโลก ( World Bicycle Day) : ปั่นจักรยานให้เหนื่อยไปทำไม?
รถยนต์ก็มีจะขี่จักรยานทำไม?
รถโดยสารสาธารณะมีให้บริการจะปั่นทำไม?
ปั่นจักรยานให้เหนื่อยไปทำไม?
หากเปรียบเทียบการขี่จักรยานกับการนั่งรถประเภทอื่น เช่น รถยนต์ส่วนตัว รถโดยสารสาธารณะ รถไฟฟ้าใต้ดิน หรือรถไฟฟ้าบนดิน แน่นอนว่าทุกคนอาจเป็นไปได้ที่จะรู้สึกว่าการขับรถยนต์ หรือการใช้รถประเภทอื่นที่ไม่ใช่จักรยานสบายกว่า รวดเร็วกว่า และสะดวกมากมาย เนื่องจากการปั่นจักรยานใช้แรงมากกว่า เหนื่อยกว่า แถมใช้เวลามากกว่า แต่เคยลองทบทวนอย่างจริงจังและเคยสงสัยไหมว่า ทำไมเทรนด์การขี่จักรยานมีแต่จะนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ มีการออกมารณรงค์ทั้งจากภาครัฐ เอกชน ไปจนถึงการผลักดันให้จักรยานเป็นกีฬาการแข่งขัน
นั่นเพราะว่า ประโยชน์ของการขี่จักรยานได้อะไรมากกว่าที่ทุกคนคิดเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นความสนุก ที่ได้กลับมารื้อฟื้นทักษะ การทรงตัว ในวัยเด็กที่มีคุณพ่อคุณแม่เป็นครูคนแรก และหากนึกดี ๆ จักรยานยังเป็นยานพาหนะที่อยู่ใกล้ชิดและใช้บ่อยตั้งแต่ปั่นไปเรียน ปั่นไปตลาดซื้อของ แถมได้เพื่อนร่วมทางเพิ่มขึ้น
การขี่จักรยานส่งเสริมให้สุขภาพดีขึ้น เพราะช่วยเผาผลาญพลังงานได้ดี ลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิต เพิ่มกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายแข็งแรง แถมเทรนด์การปั่นยังกลายเป็นกิจกรรม งานอดิเรกของหลายคน และจักรยานยังเป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมอย่างมากที่หลายยคนอาจลืมนึกไป โดยเฉพาะช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้เมืองลดการใช้น้ำมันลง ลดมลพิษในอากาศได้นั่นเอง
เนื่องจากปัจจุบันการใช้รถยนต์ในการเดินทางไปทำงานและกลับบ้านเพียงแค่นี้ ยังไม่นับรวมถึงการใช้รถยนต์ไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งใช้เดินทางท่องเที่ยว หรือใช้ทำธุระ ซึ่งล้วนเป็นหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน อีกทั้ง หากทุกคนร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาปั่นจักรยานแทนการใช้รถประเภทต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันบ้างก็จะเป็นทางเลือกในการช่วยทำให้ออกซิเจนในอากาศสูงขึ้น แถมส่งผลดีต่อทุกคนในสังคมอีกด้วย
และนี่คือประโยชน์การใช้จักรยานที่ได้ประโยชน์จริง ๆ ซึ่งทุกคนคงเริ่มเข้าใจกันบ้างแล้วใช่ไหมว่า เหตุผลดี ๆ เหล่านี้ที่ทำให้หลายคนหันมาใช้จักรยานเพื่อเปลี่ยนโลกของเราให้น่าอยู่
แล้วคุณละปั่นจักรยานช่วยโลกกันบ้างหรือยัง?
มาปั่นจักรยานกันบ้างนะ!!!
3 มิถุนายน วันจักรยานโลก (World Bicycle Day)
ประวัติวันจักรยานโลก จากการค้นหาข้อมูลพบว่า องค์การสหประชาชาติได้ออกประกาศให้วันที่ 3 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันจักรยานโลก โดยก่อนที่จะมีมติจากการประชุมครั้งที่ 72 ของสมัชชาแห่งสหประชาชาติที่นิวยอร์กนั้น สมาชิกสมัชชาได้ผ่านการประชุมนำเสนอ ถกเถียงกันมานับเป็นเวลานานหลายปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา ถึงความสำคัญของการ "ใช้จักรยาน" ที่ควรถูกผลักดันให้เป็นวาระระดับโลก
โดยสภาประกาศใช้มติที่มีขั้นตอนการร่างมติจาก 193 รัฐสมาชิก จาก 56 ประเทศ เพื่อให้ดังกล่าว โดยได้รับความเห็นร่วมจากองค์กรใหญ่ระดับโลก ได้แก่ สหพันธ์จักรยานโลก (WCA) , European Cyclists ‘Federation (ECF) ซึ่งหนุนให้สหประชาชาติกำหนดวันจักรยานมาโดยตลอด
และความสำเร็จของการรณรงค์เกิดขึ้นในวันที่ 12 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา เมื่อองค์การสหประชาชาติประกาศอย่างเป็นทางการที่จะเชิญประเทศสมาชิกทั้งหมด รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศด้านกีฬา ด้านประชาสังคม ภาคอุตสาหกรรม และอื่นๆ ให้ร่วมกันเฉลิมฉลองถึง "วันส่งเสริมความตระหนักในการใช้จักรยาน"
ขณะที่ ประเทศไทยนั้น มูลนิธิสถาบันการเดิน และการจักรยานไทย ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายจักรยานจากทั่วประเทศ กว่า 40 องค์กร เคยได้จัดกิจกรรม "วันจักรยานโลก" World Bicycle Day : (WBD) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันปั่นจักรยานจากบริเวณลานคนเมือง ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ไปยังองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกแถลงการณ์ขอบคุณที่ได้ประกาศให้วันที่ 3 มิถุนายนของทุกปี เป็น "วันจักรยานโลก" ตามมติสมัชชา สมัยที่ 72 เรื่องกีฬาเพื่อการพัฒนาและสันติภาพ และในครั้งนั้นคือจุดเริ่มต้นการจัดงานครั้งแรกของประเทศไทย
ข้อมูล : ibikeiwalk.org