SpaceX ทดสอบยาน Starship วันที่ 17 เมษายน ได้ไฟเขียวจาก FAA
TNN ช่อง16
16 เมษายน 2566 ( 12:20 )
112
วันที่ 14 เมษายน ที่ผ่านมาสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (FAA) ผ่านใบอนุญาตสำหรับการทดสอบปล่อยยานสตาร์ชิป (Starship) ของบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ขึ้นสู่วงโคจรของโลก นับเป็นภารกิจทดสอบแรกของยานอวกาศสตาร์ชิป (Starship) ในระดับวงโคจรของโลกภายหลังจากถูกเลื่อนกำหนดการมาหลายครั้ง และภารกิจทดสอบในครั้งนี้จะมีความหมายต่อโครงการนำมนุษย์กลับไปสำรวจดวงจันทร์ขององค์การนาซาประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก
ก่อนหน้านี้รายละเอียดข้อกำหนดที่กำหนดการต้องเลื่อนหลายครั้งเกี่ยวข้องกับระบบความปลอดภัยในการทดสอบ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงดังจากการทดสอบที่เกิดขึ้นกับชุมชนผู้อยู่อาศัย ความปลอดภัยของอากาศยานหรือเครื่องบินลำอื่น ๆ บนท้องฟ้า รวมไปถึงรายละเอียดเชิงเทคนิคและน้ำบรรทุกของยานอวกาศสตาร์ชิป (Starship) ใบอนุญาตดังกล่าวมีระยะเวลาทั้งหมด 5 ปี
โครงสร้างของยานอวกาศสตาร์ชิป (Starship) มีความสูงประมาณ 50 เมตร ถูกออกแบบให้สามารถบรรทุกนักบินอวกาศขึ้นสู่อวกาศได้สูงสุด 100 คน น้ำหนักบรรทุก 100 ตัน ติดตั้งเครื่องยนต์จรวด Raptor Engine จำนวน 3 เครื่องยนต์ เครื่องยนต์จรวด Raptor Vacuum จำนวน 3 เครื่องยนต์ ใช้เชื้อเพลิงออกซิเจนเหลวและมีเทนเหลว
ยานอวกาศสตาร์ชิป (Starship) ทำงานร่วมกับจรวดซูเปอร์เฮฟวี (Super Heavy) ความสูงประมาณ 69 เมตร ติดตั้งเครื่องยนต์จรวด Raptor engine จำนวน 33 เครื่องยนต์ ใช้เชื้อเพลิงออกซิเจนเหลวและมีเทนเหลว เช่นเดียวกับยานอวกาศสตาร์ชิป (Starship) โดยเมื่อนำยานอวกาศ Starship และจรวดซูเปอร์เฮฟวี (Super Heavy) มาเชื่อมต่อกันโครงสร้างจะมีความสูงประมาณ 119 เมตร นับเป็นจรวดขนาดใหญ่และทรงพลังมากที่สุดรุ่นหนึ่งของโลก
สำหรับการทดสอบยานอวกาศสตาร์ชิป (Starship) และจรวดซูเปอร์เฮฟวี (Super Heavy)คาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 17 เมษายน จากบริเวณฐานปล่อยจรวดสเปซเอ็กซ์สตาร์เบส (SpaceX Starbase) บริเวณชายหาดโบคาชิกา (Boca Chica) รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา หากการปล่อยตัวของจรวดเสร็จสมบูรณ์จรวดซูเปอร์เฮฟวี (Super Heavy) จะทิ้งตัวจอดบนผิวน้ำบนผิวน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติกนอกชายฝั่งทิศตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนยานอวกาศสตาร์ชิป (Starship) จะทิ้งตัวจอดบนผิวน้ำในบริเวณหมู่เกาะฮาวาย มหาสมุทรแปซิฟิก
ที่มาของข้อมูล Reuters
ที่มาของรูปภาพ SpaceX