รีเซต

"หนี้ครัวเรือน"ไทยต่อจีดีพีปี67 ต่ำสุดตั้งแต่"โควิด"

"หนี้ครัวเรือน"ไทยต่อจีดีพีปี67 ต่ำสุดตั้งแต่"โควิด"
TNN ช่อง16
2 เมษายน 2568 ( 19:16 )
12

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน หรือหนี้ครัวเรือนล่าสุด ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2567  หรือ ณ สิ้นปี 2567 อยู่ที่ 16,421,666 ล้านบาท (16.4 ล้านล้านบาท) คิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีอยู่ที่ร้อยละ 88  ลดลงเป็นไตรมาสที่ 4 และต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2563  ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 88.5 

ทั้งนี้ หนี้ครัวเรือน ณ สิ้นปี 2567  จำนวน 16,421,666 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 0.18 เมื่อเทียบจากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากสินเชื่อส่วนใหญ่ลดลง โดยเฉพาะสินเชื่อซื้อ/เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์หดตัวมากที่สุดร้อยละ 9.58  ขณะที่สินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 2.32 และเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลอื่น บัตรเครดิต ขยายตัวร้อยละ 2.6 


ดร.ยรรยง ไทยเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานวิจัยเศรษฐกิจและความยั่งยืน ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) กล่าวว่า หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพียังคงอยู่ในแนวโน้มขาลง แต่มีข้อสังเกตุว่าในช่วงหลังการลดลงของหนี้ครัวเรือนมาจากทั้งการสินเชื่อลดลงและเศรษฐกิจชะลอตัว ต่างช่วงก่อนหน้านี้ที่การชะลอตัวของหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีชะลอลงมาจากเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดี ภาวะที่สินเชื่อลดลงสะท้อนให้เห็นว่าเรากำลังเข้าสู่อีกเฟสหนึ่งของกระบวนการลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อจีดีีพี (Debt deleveraging)

อย่างไรก็ตาม ดร.ยรรยงมองว่าระดับหนี้ครัวเรือนปัจจุบันยังคงเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย เนื่องจากตั้งแต่ก่อนเกิดโควิด-19 หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยก็สูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศตลาดเกิดใหม่อยู่แล้ว นอกจากนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยช่วงหลังโควิดค่อนข้างช้า ขณะที่ครัวเรือนจำนวนไม่น้อยมีภาระหนี้สูงมากเมื่อเทียบกับความสามารถในการชำระหนี้

"ไทยควรจะต้องเร่งปรับโครงสร้างหนี้ของประชาชนเพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ต่อไป ควบคู่ไปกับการเพิ่มรายได้ให้กับภาคคครัวเรือน" ดร.ยรรยงกล่าว 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง