NASA เผยภาพดาวพฤหัสแบบ 3D ครั้งแรก!
เป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้วที่บรรยากาศของสีสันและความวุ่นวายของดาวพฤหัสบดีได้ดึงดูดนักดาราศาสตร์ที่ต้องการทำความเข้าใจดาวเคราะห์ดวงนี้ ยานสำรวจจูโนของนาซ่ายังคงดำเนินการเปิดเผยความลับของดาวพฤหัสบดีตั้งแต่โคจรรอบดาวก๊าซยักษ์เมื่อ 5 ปีที่แล้ว และข้อมูลล่าสุดจากยานอวกาศก็ได้นำเสนอภาพที่เรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า “ภาพ 3 มิติแรกของบรรยากาศ Jovian”
ที่มาของภาพ Cnet
ยานสำรวจจูโนได้โคจรผ่านดาวพฤหัสบดีครบ 37 รอบตั้งแต่เดินทางมาถึงดาวพฤหัสในปี 2559 และการบินผ่านเหล่านี้เองได้เปิดเผยข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจเกี่ยวกับดาวก๊าซยักษ์แห่งนี้ ซึ่งนั่นรวมไปถึงเรื่องแถบที่มีสีสันอันโด่งดังของดาวเคราะห์ที่ขยายออกไปหลายพันกิโลเมตรใต้พื้นผิวปะทะกับสนามแม่เหล็กที่ซับซ้อน และ Great Red Spot (จุดแดงใหญ่) อันเป็นสัญลักษณ์สำคัญซึ่งเป็นพายุรุนแรงที่ก่อตัวมานานหลายศตวรรษ แทรกซึมลงไปด้านล่างประมาณ 320 กม. (200 ไมล์) จากพื้นผิว.
ยานสำรวจจูโนยังชี้ให้เราเห็นอีกว่าสนามแม่เหล็กของดาวพฤหัสบดีแข็งแกร่งกว่าที่อื่นใดในโลกถึงประมาณ 10 เท่าเลยทีเดียว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงชั้นบรรยากาศที่ไม่สมมาตร และสามารถจับภาพที่น่าตื่นตะลึงของดาวเคราะห์และสภาพภายนอกที่มีเมฆมาก ด้วยข้อมูลล่าสุดที่ถูกส่งกลับมาช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเจาะลึกเข้าไปในบรรยากาศที่ซับซ้อนนี้ได้
Lori Glaze ผู้อำนวยการแผนกวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ของ NASA ที่สำนักงานใหญ่ของหน่วยงานในกรุงวอชิงตันกล่าวว่า “การสังเกตการณ์ใหม่เหล่านี้จากยานสำรวจจูโน ได้เปิดคลังข้อมูลใหม่เกี่ยวกับคุณลักษณะของดาวพฤหัสบดีนี้” “เอกสารแต่ละฉบับช่วยให้ความกระจ่างในด้านต่างๆ ของกระบวนการในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ เป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมซึ่งแสดงให้เห็นว่าทีมวิทยาศาสตร์ที่มีความหลากหลายระดับนานาชาติของเราได้ส่งเสริมสร้างความเข้าใจในระบบสุริยะมากขึ้น”
ที่มาของภาพ Newatlas
ท่ามกลางการเปิดเผยนี้ แสดงให้เห็นว่าพายุน้ำวนบางลูกที่หมุนรอบดาวพฤหัสบดีนั้นสูงกว่าที่คาดไว้มาก โดยขยายออกไปไกลถึง 100 กม. (62 ไมล์) ใต้ก้อนเมฆ พายุไซโคลนเหล่านี้ยังถูกพบว่ามีอุณหภูมิสูงขึ้นที่ด้านบนและต่ำลงที่ด้านล่างเนื่องจากความหนาแน่นของบรรยากาศที่แตกต่างกัน ในขณะที่แอนติไซโคลนของมันหมุนไปในทิศทางตรงกันข้ามกับจุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่น การค้นพบที่สำคัญนี้เกี่ยวข้องกับความลึกที่แท้จริงของจุดแดงใหญ่ ซึ่งเครื่องวัดรังสีไมโครเวฟ (MWR) ของ ยานสำรวจจูโน เปิดเผยว่าจริง ๆ แล้วขยายออกไปได้ไกลถึง 500 กม. (310 ไมล์) ใต้ยอดเมฆ
“ความแม่นยำในการรับรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงของ จุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) ในระหว่างการบินผ่านในเดือนกรกฎาคม 2019 นั้นน่าทึ่งมาก” กล่าวโดย Marzia Parisi นักวิทยาศาสตร์ จาก NASA's Jet Propulsion Laboratory ในแคลิฟอร์เนียตอนใต้ "ความสามารถในการค้นพบของ MWR ที่ลึกซึ้งมากขึ้นทำให้เรามั่นใจอย่างยิ่งว่าการทดลองแรงโน้มถ่วงในอนาคตที่ดาวพฤหัสบดีจะให้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน”
ที่มาของภาพ Newatlas
ข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่ากระแสน้ำที่หมุนวนซึ่งทำให้ดาวพฤหัสบดีมีแถบและโซนที่มีสีสันได้รับการเปลี่ยนแปลงที่ความลึกประมาณ 65 กม. (40 ไมล์) ซึ่งจะปรากฏเป็นสีที่เข้มขึ้นในแสงไมโครเวฟ ในขณะที่พายุไซโคลนจำนวนมากที่ขั้วของโลกก็พบว่ามีผลกระทบต่อการเคลื่อนที่ของกันและกันและรวมตัวกันอยู่ในที่เดียวกัน มากกว่าที่จะล่องลอยไปเหมือนพายุที่เกิดขึ้นบนโลก
Alessandro Mura นักวิจัยร่วมของยานสำรวจ Juno จาก National Institute for Astrophysics ในกรุงโรมกล่าวว่า "พายุไซโคลนของดาวพฤหัสบดีส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของกันและกัน ทำให้พวกมันแกว่งไปมาในตำแหน่งที่สมดุล"
ขอบคุณข้อมูลจาก Newatlas