รีเซต

ลูกหลานต้องอ่าน! แนวทางการเตรียมตัวผู้สูงอายุฉีดวัคซีนโควิด-19 ฉีดที่ไหน ฉีดวัคซีนอะไร

ลูกหลานต้องอ่าน! แนวทางการเตรียมตัวผู้สูงอายุฉีดวัคซีนโควิด-19 ฉีดที่ไหน ฉีดวัคซีนอะไร
Ingonn
1 กรกฎาคม 2564 ( 16:21 )
341
ลูกหลานต้องอ่าน! แนวทางการเตรียมตัวผู้สูงอายุฉีดวัคซีนโควิด-19 ฉีดที่ไหน ฉีดวัคซีนอะไร

 

หลังจากกรมการแพทย์เปิดให้ผู้สูงอายุเดินทางมาฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้เองที่ศูนย์ฉีดวัคซีนบางซื่อ เนื่องจากการจองผ่านระบบออนไลน์อาจเสี่ยงตกหล่นการฉีดวัคซีน ซึ่งผู้สูงอายุเป็นกลุ่มสำคัญที่ควรได้รับวัคซีนเป็นอันดับแรก เนื่องจากหากติดโควิดอาจส่งผลอันตรายขึ้นได้

 

 

วันนี้ TrueID ได้เตรียมคู่มือความพร้อมสำหรับผู้สูงอายุที่กำลังเตรียมตัวจะเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 มาฝากกัน

 

 

ผู้สูงอายุฉีดวัคซีนได้ที่ไหน


ที่มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป เกิดก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2489 ให้ลูกหลานหรือคนใกล้ชิดสามารถนำผู้สูงอายุมารับบริการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 โดยระบบบริการแบบ On-site ที่ศูนย์ฉีดวัคซีนสถานีกลางบางซื่อ ซี่งสามารถเข้ารับบริการได้ที่ประตู 1 และจะเริ่มให้บริการตั้งแต่พุธที่ 30 มิถุนายน-วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม 2564 ระหว่างเวลา 09.30-18.00 น ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

 

 

สำหรับผู้สูงอายุที่อายุน้อยกว่า 75 ปี (คือ 60-74 ปี) ก็ขอให้จองเข้ารับบริการตามระบบปกติ ซึ่งช่องทางการจองสำหรับกลุ่มนี้จะประกาศรายละเอียดให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง

 

 

 

ผู้สูงอายุจะได้ฉีดวัคซีนอะไร

 

กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีและ 7 โรคเรื้อรัง ฉีดวัคซีนโควิด “แอสตร้าเซนเนก้า” เป็นหลัก ยกเว้นในช่วงที่ไม่มีวัคซีนชนิดนี้ คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อแห่งชาติอนุญาตให้ฉีดวัคซีนซิโนแวค ในคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปได้ เพื่อให้คนอายุ 60 ปีขึ้นไปเข้าถึงวัคซีนโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ไม่มีวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า

 

 


ทำไมผู้สูงอายุต้องฉีดวัคซีนโควิด


จากสถิติพบว่า ผู้สงอายุมีอาการหนักและเสียชีวิตหลังจากติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าช่วงวัยอื่น ดังนั้นการฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันความเสี่ยงไม่ให้ป่วยหนักและช่วยป้องกันคนรอบข้างที่รักอีกด้วย หากผู้สูงอายุที่ฉีดวัคซีนโควิดแล้วต้องการออกจากบ้าน สามารถทำได้แต่ต้องสวมหน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง รวมถึงล้างมือให้สะอาด ขณะเดียวกันคนในบ้านที่ฉีดวัคซีนแล้วยังสามารถแพร่เชื้อให้ผู้สูงอายุได้ จึงต้องระมัดระวังและป้องกันโควิด-19 เพิ่มด้วย

 

 

การฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุนั้นสามารถช่วยลดอัตราการติดเชื้อ และเสียชีวิตจากโควิดได้ค่อนข้างมาก แต่ขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวของแต่ละบุคคล แม้วัคซีนไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100% แต่ก็ช่วยลดความรุนแรงในการต้องนอนโรงพยาบาลหรือห้องไอซียูได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุต้องระมัดระวังเป็นพิเศษคือป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อและนำเชื้อมาแพร่สู่ผู้สูงอายุ แม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนครบแล้ว

 

 


เมื่อผู้สูงอายุติดโควิดมีอาการอย่างไร


นอกจากมีอาการ ไข้ ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ หอบเหนื่อย อ่อนเพลีย ปวดศีรษะหรือปวดเมื่อยตามตัว ผู้สูงอายุอาจมีอาการที่ไม่ตรงไปตรงมาเมื่อมีความเจ็บป่วย ข้อสังเกตคือ


1. อ่อนเพลีย

 

2. ซึมลง

 

3. สับสนเฉียบพลัน

 

4. เบื่ออาหาร หรือรับอาหารทางสายยางไม่ได้

 

5. ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองลดลงอย่างรวดเร็ว

 

 

 

เตรียมพร้อมก่อนเข้ารับวัคซีน


ในการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด สำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังควรเตรียมพร้อมร่างกาย และปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้


1.รักษาสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง

 

2.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

 

3.วันที่รับวัคซีนต้องไม่มีไข้ หากมีไข้ ปวดหัว หรือมีอาการป่วย ควรเลื่อนการรับวัคซีนไปก่อน และรอให้อาการทุเลาลงอย่างน้อย 2 วัน

 

4.รับประทานอาหารให้เพียงพอครบ 5 หมู่ และไม่จำเป็นต้องงดอาหารหลัง 2 ทุ่ม

 

5.ดื่มน้ำให้เพียงพอประมาณ 500-1,000 ซีซี. เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

 

6.หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ เพราะอาจจะทำให้หลอดเลือดหดตัว

 

7.วัดอุณหภูมิร่างกายและวัดไข้ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน

 

8.กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต ไม่ควรหยุดรับประทานยาเอง ยกเว้นกรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนมีความแม่นยำ

 

9.กรณีที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เป็นโรคเลือดออกได้ง่าย หรือได้รับยาที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด จำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน

 

10.หลังฉีดเรียบร้อยแล้วภายใน 2 – 4 ชม. ไม่ควรทำกิจกรรมอะไร เพื่อให้วัคซีนได้ทำงานอย่างเต็มที่

 

11.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี หรืออยู่ในระดับที่เหมาะสม (หากน้ำตาลในเลือดสูงก็จะทำให้ระบบในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปมา หากน้ำตาลในเลือดต่ำขณะไปรับวัคซีน ก็จะทำให้ผู้ป่วยเป็นลมได้ง่าย)

 

12.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 จะต้องควบคุมความดันให้ไม่เกิน 140 มม.ปรอท

 

 

 

การดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในช่วงโควิดระบาด

 

1. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในสถานที่ที่มีคนแออัด รักษาระยะห่าง (social distancing) จากผู้ที่ติดเชื้อ  2 เมตร หรือราว 2 ช่วงแขน 

 


2. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง 


•  รับประทานยาประจำตัวให้สม่ำเสมอ


•  4 อ. คือ อาหาร ออกกำลัง เอนกายพักผ่อน ออกห่างสังคมแออัด

 

 

3. ปิดปากปิดจมูกเวลาไอจาม 

 


4. สวมหน้ากากอนามัย ในกรณี

 

•  มีอาการไข้หวัด ไอจาม


•  อยู่ในที่ที่มีคนแออัด


•  ไปโรงพยาบาลหรือสถานที่เสี่ยงหรือใกล้ชิดผู้ที่เสี่ยง

 

 
5. ไม่เอามือสัมผัสหน้า จมูก ปาก 

 


6. ทำความสะอาดมือบ่อย ๆ 


•  ล้างมือด้วยสบู่ อย่างน้อยฟอกให้ทั่วมือเป็นเวลา 20 วินาที โดยเฉพาะตามง่ามมือ ซอกเล็บและเส้นลายมือที่มักจะฟอกไม่สะอาด และทำให้มือแห้ง 10 วินาที 


•  อาจใช้แอลกอฮอล์เจล ที่มีแอลกอฮอล์ 70% โดยควรสังเกตวันหมดอายุ และหากเปิดทิ้งไว้นาน แอลกอฮอล์จะระเหยทำให้เปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ลดลง 

 


7. ทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านให้บ่อยขึ้น เนื่องจากเชื้อไวรัสอยู่บนพื้นผิวได้นานหลายวัน

 


8. ผ่อนคลายความเครียด 

 


9. หากควบคุมโรคประจำตัวได้ดี อาจขออนุญาตแพทย์ที่ดูแล รับยาและเลื่อนนัดหมายให้นานกว่าปกติ ลดการไปโรงพยาบาล

 


10. การใช้สื่อและข้อมูลข่าวสาร


•  รับข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ 


•  ไม่แชร์ โพสต์ ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง


•  ลดการเสพข้อมูล  


•  ส่งความรู้สึกที่ดี ช่วยเหลือดูแลกันในสังคม มากกว่าการวิพากษ์วิจารณ์กล่าวโทษหาคนผิดในสังคมออนไลน์ 

 


11. ช่วงที่ป่วย


•  รีบไปพบแพทย์ หรือโทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422


•  แยกตัวจากผู้อื่น 


•  หากมีไข้ที่เกิดจากโควิด 19 ไม่ควรใช้ยา ibuprofen (ไอบูโพรเฟ่น) ในการลดไข้ ให้ใช้พาราเซตามอล


•  ระวังการหกล้ม สับสน กินได้น้อย

 

 


ข้อมูลจาก กรมการแพทย์ , กรมควบคุมโรค , สสส. , โรงพยาบาลศิครินทร์ , Hfocus , คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง