รีเซต

เปรียบเทียบความรับผิดทางแพ่งของ "กฎหมาย PDPA" กับกฎหมายอื่น จ่ายต่างกันแค่ไหน?

เปรียบเทียบความรับผิดทางแพ่งของ "กฎหมาย PDPA" กับกฎหมายอื่น จ่ายต่างกันแค่ไหน?
TNN ช่อง16
31 พฤษภาคม 2565 ( 20:03 )
87

วันนี้ (31 พ.ค.65) เพจเฟซบุ๊ก "PDPC Thailand" โดยสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นเพจเพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร กิจกรรม องค์ความรู้ และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้เปรียบเทียบความรับผิดทางแพ่งของ PDPA กับกฎหมายอื่น

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจ่ายค่าสินไหม ทดแทนเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริงที่ศาลกำหนดได้ตามที่ศาลเห็นสมควร แต่ไม่เกิน 2 เท่าของค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริงนั้น

พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดได้ตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด 

ค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด มีจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาท ให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหาย เพื่อการลงโทษได้ไม่เกิน 5 เท่าของ ค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด

พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545

ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดจ่าย ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ เพิ่มขึ้นจากจำนวนที่ศาลกำหนด แต่ต้องไม่เกิน 2 เท่าของค่าสินไหมทดแทน

อย่างไรก็ตาม มาตรการทางแพ่งนี้ เป็นการนำมาใช้เพื่อการป้องปรามและป้องกันการกระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนด


ข้อมูลจาก PDPC Thailand

ภาพจาก แฟ้มภาพ AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง