รีเซต

Orbex เปิดตัวจรวดพลังงานสะอาด คาร์บอนต่ำ ใช้งานซ้ำได้ พร้อมปล่อยเข้าสู่วงโคจรช่วงปลายปีนี้

Orbex เปิดตัวจรวดพลังงานสะอาด คาร์บอนต่ำ ใช้งานซ้ำได้ พร้อมปล่อยเข้าสู่วงโคจรช่วงปลายปีนี้
TNN ช่อง16
14 พฤษภาคม 2565 ( 14:36 )
98

ออร์เบ็กซ์ (Orbex) บริษัทด้านการบินและอวกาศในสกอตแลนด์ เปิดตัวจรวดหลักตัวต้นแบบ (Prototype) ที่สามารถใช้งานซ้ำได้จากศูนย์อวกาศ Space Hub Sutherland ในสกอตแลนด์ตอนเหนือ โดยจะเป็นการปล่อยจรวดครั้งแรกจากแผ่นดินเครือจักรภพอังกฤษในรอบเกือบ 50 ปี ภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

สหราชอาณาจักรไม่ได้ส่งจรวดเข้าสู่อวกาศมาตั้งแต่ปี 1971 แม้จะเป็นตัวละครสำคัญในด้านเทคโนโลยีอวกาศมานาน แต่ด้วยความคึกคักของตลาดเทคโนโลยีดาวเทียมในปัจจุบันที่กำลังเฟื่องฟู โดยเฉพาะดาวเทียมทรงลูกบาศก์ (CubeSats)  และดาวเทียมขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ ออร์เบ็กซ์ได้เริ่มพัฒนาจรวดสองระบบขนาด 19 เมตร (62 ฟุต) ที่มีชิ้นส่วนหลักเป็นคาร์บอนและแกรไฟต์ ส่งกำลังขับเคลื่อนโดยจรวด 7 ตัวที่ขึ้นรูปจากแท่นพิมพ์ 3 มิติของ Anglo-Danish ซึ่งการจุดระเบิดเพื่อเข้าสู่ชั้นบรรยากาศในขั้นตอนแรกจะใช้งานจรวด 6 ตัว และในขั้นตอนที่สอง จะใช้งานจรวดตัวที่เหลืออยู่ ซึ่งเครื่องยนต์นี้ใช้โพรเพนชีวภาพแบบสะอาเป็นเชื้อเพลิง

ตอนนี้ จรวดหลักของออร์เบ็กซ์ ถูกติดตั้งไว้บนฐานปล่อยจรวด และได้รับการพัฒนาให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว แต่มันจะต้องผ่านการทดสอบทางเทคนิค และทดสอบการฝึกซ้อมการจุดระเบิดก่อน จึงจะได้รับการอนุมัติให้ลำเลียงดาวเทียมขนาดเล็กจำนวนมากไปยังวงโคจรโลก 


ออร์เบ็กซ์ระบุว่า ตัวจรวดหลักดังกล่าว ถูกออกแบบมาให้ไม่มีการทิ้งชิ้นส่วนใด ๆ ในระหว่างการเข้าสู่วงโคจร และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งระบบ รวมถึงการปล่อยจรวดนี้จะปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิน้อยกว่าการปล่อยจรวดแบบดั้งเดิมถึง 96% 


ทั้งนี้ ออร์เบ็กซ์มีกำหนดการเปิดตัวจรวดดังกล่าวช่วงปลายปีนี้ พร้อมกับการเปิดให้บริการศูนย์รวมเทคโนโลยีอวกาศ Space Hub Sutherland อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งศูนย์ดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็นศูนย์ปล่อยยานอวกาศในแนวดิ่งแห่งแรกของสหราชอาณาจักร แต่ยังเป็นศูนย์อวกาศแห่งแรกในยุโรป และเป็นแห่งแรกในโลกที่อ้างว่า มีความเป็นกลางคาร์บอนอีกด้วย


ด้านคริส ลาร์มูร์ (Chris Larmour) CEO ของออร์เบ็กซ์ กล่าวว่า "นี่เป็นก้าวที่สำคัญของออร์เบ็กซ์ ที่เน้นย้ำถึงเส้นทางการพัฒนาของเรา ว่าตอนนี้ เรามาไกลแค่ไหน" 


"จากภายนอกอาจดูเหมือนจรวดธรรมดา แต่ภายในจรวดของเราไม่เหมือนจรวดอื่น ๆ เราต้องสร้างนวัตกรรมเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำ รวมถึงเครื่องยนต์จรวดที่เกิดจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติทั้งระบบ รวมถึงถังเชื้อเพลิงน้ำหนักเบา และเทคโนโลยีการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมที่เราต้องการ จากจรวดแห่งศตวรรษที่ 21 นี้" ลาร์มูร์กล่าวเสริม


ที่มาของข้อมูล newatlas.com

ที่มาของรูปภาพ Orbex

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง