รีเซต

ห้ามเด็ดขาด! ผู้ป่วยโควิด ห้ามกิน-ดื่มอะไรบ้าง เพื่อป้องกันอาการทรุด

ห้ามเด็ดขาด! ผู้ป่วยโควิด ห้ามกิน-ดื่มอะไรบ้าง เพื่อป้องกันอาการทรุด
Ingonn
2 สิงหาคม 2564 ( 13:49 )
235.9K
1
ห้ามเด็ดขาด! ผู้ป่วยโควิด ห้ามกิน-ดื่มอะไรบ้าง เพื่อป้องกันอาการทรุด

สิ่งหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มักลืมไป คือ เมื่อเราเป็นผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สิ่งที่สำคัญอีกอย่างในการรักษาคือเรื่องอาหาร ผู้ป่วยบางคนเริ่มติดเชื้อโควิด-19 แต่ยังมีพฤติกรรมการกินในลักษณะเดิม เช่น รสจัด ของมัน ของทอด ซึ่งของอร่อยเหล่านี้ มักทำให้อาการโควิด-19 แย่ลง วันนี้ TrueID จึงรวบรวมอาหารที่ควรและไม่ควรรับประทานช่วงติดโควิดมาฝาก

 


นพ.วินัย โบเวจา อายุรแพทย์ คลินิกอายุรกรรมโรคระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤติทางเดินหายใจ ผู้ดูแลเพจ หมอโรคปอด และทางเดินหายใจ: หมอวินัย และเป็นหนึ่งในทีมแพทย์ที่ประกอบด้วย แพทย์ติดเชื้อ ทีมเจ้าหน้าที่พยาบาลที่รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ได้อัดคลิปแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับ เมื่อเราป่วยโควิด อาหารที่ต้องระวัง และใส่ใจเป็นพิเศษมีอะไรบ้าง สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวอยู่ที่บ้าน (Home Isolation) หรือกักตัวที่โรงพยาบาลสนาม

 

 

 

นพ.วินัย โบเวจา ระบุว่า จะเลือกอาหารให้ผู้ป่วยโควิด-19 ทาน หรือต้องสั่งอาหารทานเอง ควรคำนึงถึงความเสี่ยงต่ออาการโควิดด้วย ดั่งประโยคที่ว่า “You are what you eat” กินอะไรก็จะเป็นอย่างนั้น ดังนั้นการเลือกอาหารจึงจำเป็นมากในการรักษาอาการให้คงที่ เพื่อให้ผู้ป่วยโควิดได้รับแต่สิ่งที่มีประโยชน์เข้าร่างกายในช่วงที่ติดเชื้อ

 

 


ปัจจัยในการเลือกอาหารให้ผู้ป่วยโควิดรับประทาน 


1.อาหารที่กินต้องไม่ทำให้อาการแย่ลง ไม่เพิ่มอาการเจ็บป่วย


2.อาหารที่กินต้องไม่เพิ่มโอกาสติดเชื้อแทรกซ้อน


3.อาหารที่กินต้องไม่เพิ่มโรคให้แก่ร่างกาย

 

 


อาหารที่ไม่ควรกินช่วงป่วยโควิดเด็ดขาด!


1.เครื่องดื่มปั่น มีรสหวาน น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ กาแฟ ชานมไข่มุก เพราะมีผลส่งถึงระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีเสมหะและน้ำมูกเพิ่มขึ้น

 


2.อาหารรสจัด อาหารทอด อาหารมัน เพราะจะทำให้รู้สึกคันคอ ฝาดคอ และเพิ่มอาการไอ เช่น ข้าวผัด กะเพราไข่ดาว ผัดพริกแกง

 


3.ขนมกินเล่น เช่น ขนมถุง ไก่ทอด เฟรนซ์ฟราย ชีส

 


4.อาหารที่ย่อยยาก เพราะจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ พะอืดพะอม เช่น เครื่องใน อาหารปิ้งย่าง เนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว

 


5.อาหารประเภทของหมักของดอง ไม่ได้ปรุงสุก เช่น ส้มตำปูปลาร้า ผลไม้ดอง กุ้งดอง

 


6.อาหารที่เพิ่มโรคแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยโควิดมีโรคประจำตัวเป็นโรคเก๊าท์แล้วรับประทานไก่ อาจเพิ่มเจ็บป่วยเพิ่มได้ และทำให้อาการโควิด-19 แย่ลง

 


7.ไม่รับประทานอาหารค้างคืน

 

 

นอกจากนั้นอาหารที่ควรเลี่ยง คือ อาหารที่คนขายสัมผัสแล้วไม่ผ่านความร้อน หรืออาหารที่ต้องสัมผัสจากมือ หรือใช้ภาชนะซ้ำๆ เช่น หั่นบนเขียงซ้ำๆ ใช้กะละมังผสมซ้ำๆ โดยอาหารที่แนะนำให้ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ก๋วยเตี๋ยวหลอด ปอเปี๊ยะสด ส้มตำ ยำต่างๆ ก๋วยเตี๋ยวลุยสวย สลัดผัก บุฟเฟ่ต์ ผลไม้หั่นชิ้น

 

 


ซึ่งนพ.วินัย โบเวจา เพิ่มเติมว่า อาหารที่ควรรับประทานช่วงที่ร่างกายป่วยโควิด คล้ายกับการรับประทานอาหารเมื่อป่วยโรคทั่วไป คือ ควรกินปริมาณน้อยๆ แต่เน้นกินบ่อยๆ เลือกอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้มหรือโจ๊ก หากอยากดื่มน้ำหวาน ให้เลือกเป็นน้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำขิง และควรดื่มน้ำเปล่าที่อุณหภูมิห้องเยอะๆ 

 

 

 

 

แต่ถ้าไม่อยากกินอาหารจำเจ รสชาติจืด ไม่มีสีสัน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำ 7 เมนูให้คุณค่าทางโภชนาการ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน อุดมไปด้วย วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินดีและธาตุเหล็ก ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกัน ลดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

 

 

 

7 เมนู เสริมภูมิคุ้มกันต้านโควิด-19 


เมนูที่ 1 ไข่ยัดไส้ กินมะเขือเทศและแครอทให้ได้อย่างละ ½ ทัพพี จะได้รับวิตามินซี 42 เปอร์เซ็นต์ และวิตามินเอ 43 เปอร์เซ็นต์ 

 


เมนูที่ 2 ต้มเลือดหมู กินผักกาดหอม ½ ทัพพี ตับหมู 1 ช้อนโต๊ะ เลือดหมู 1 ชิ้นและหมูสับ 1 ช้อนโต๊ะ จะได้รับธาตุเหล็ก 45 เปอร์เซ็นต์ 

 


เมนูที่ 3 ต้มยำปลาทู มีมะเขือเทศและน้ำมะนาวเป็นส่วนประกอบ จะได้รับวิตามินซี 42 เปอร์เซ็นต์  

 


เมนูที่ 4 ต้มจืดตำลึงเต้าหู้ไข่ มีส่วนผสมของแครอท ½ ทัพพี และตำลึง 2 ทัพพี จะได้รับวิตามินเอ 42 เปอร์เซ็นต์  

 


เมนูที่ 5  ปลานึ่งขิง หากใช้ปลาทับทิมเป็นส่วนประกอบ จะได้รับวิตามินดี 20 เปอร์เซ็นต์  

 


เมนูที่ 6   ปลาผัดเปรี้ยวหวาน มีส่วนผสมของมะเขือเทศ ½ ทัพพีและพริกหวาน 1 ลูก จะได้รับวิตามินซีเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย 

 


เมนูที่ 7 ข้าวผัดหอยลาย มีส่วนผสมของเนื้อหอยลาย ได้รับธาตุเหล็ก 33 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน

 

 


การปรุงประกอบอาหาร ควรเลือกวัตถุดิบที่สด สะอาด และปรุงอาหารให้สุกใหม่ทุกครั้ง ลดกินหวาน  มัน เค็ม นอกจากนี้ ควรมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมเพื่อเผาผลาญพลังงานในแต่ละวัน เช่น ทำงานบ้าน เต้นแอโรบิกในบ้าน หรือมีกิจกรรมผ่อนคลายเพื่อลดภาวะเครียด

 

 

 

ข้อมูลจาก กรมอนามัย , โรคปอดและทางเดินหายใจ หมอวินัยโบเวจา 
ภาพจาก Hfocus

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง