รีเซต

กังหันลมในอนาคต สามารถเปลี่ยนเป็น "กัมมี่แบร์" ได้

กังหันลมในอนาคต สามารถเปลี่ยนเป็น "กัมมี่แบร์" ได้
TNN ช่อง16
31 สิงหาคม 2565 ( 16:44 )
124

ในงาน The American Chemical Society ช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่ผ่านมา ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท (Michigan State University) กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดในอนาคตสามารถสร้างขึ้นได้จากใบพัดของกังหันลมที่ออกแบบมาอย่างยั่งยืน


"ใบพัดกังหันลม" ต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ 


กังหันลมกำลังกลายเป็นนวัฒกรรมที่เป็นเอกในด้านการสร้างพลังงานสะอาดของโลกในอนาคตอันใกล้นี้ พวกมันสามารถผลิตไฟฟ้า สร้างพลังงานสะอาดที่ปราศจากการปล่อยมลพิษ ปัญหาเดียวของกังหันลมคือตัวใบพัดมักถูกเปลี่ยนบ่อย ๆ เนื่องจากอายุการใช้งานของใบพัดนั้นสั้นกว่าโรเตอร์ (rotors), เครื่องกำเนิดไฟฟ้า, และชิ้นส่วนอื่น ๆ มันจึงมักต้องถูกถอดทิ้งและเปลี่ยนก่อนชิ้นส่วนอื่น ๆ 


ขอบคุณภาพจาก : bloomberg.com 

 ปัญหาคือ ด้วยขนาดของใบพัดที่ใหญ่ ทำให้ยากที่จะหาที่จัดเก็บ มีข้อมูลกล่าวว่า 85% ของกังหันลมสามารถนำมารีไซเคิลแล้วกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ตัวใบพัดที่เป็นใบมีดไฟเบอร์กลาสขนาดใหญ่นั้นไม่สามารถทำได้ โดยจะมีประมาณ 8,000 ใบพัดถูกทำลายในสหรัฐอเมริกาภายในปีนี้ และอาจมีไม่กี่หลุมฝังกลบที่สามารถรับได้ไหว


ใบพัดกังหันลมที่สามารถนำกลับมาทำเป็น "ขนม" ได้


จอห์น ดอร์แกน (John Dorgan), Ph.D, ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเคมีและวัสดุศาสตร์แห่งรัฐมิชิแกน (Michigan State professor of Chemical Engineering and Materials Science) ได้ทำการคิดค้นและสร้างวัสดุรูปแบบใหม่ที่ผสมผสานใยแก้วเข้ากับโพลีเมอร์สังเคราะห์และโพลีเมอร์ที่ทำจากพืชออกมาได้สำเร็จ



ขอบคุณภาพจาก : foodandwine.com

 

วัสดุรูปแบบใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า "เทอร์โมพลาสติกเรซิน" มันมีความแข็งแรงเทียบเท่ากับใบพัดของกังหันลม แต่ไม่เหมือนกับไฟเบอร์กลาส มันสามารถละลายและหล่อใหม่เพื่อสร้างใบพัดอีกชุดหนึ่งขึ้นมาได้ ที่เจ๋งกว่าคือมันสามารถนำมาผสมเข้ากับวัสดุอื่น ๆ เพื่อสร้างสินค้าอุปโภคบริโภคที่หลากหลาย เช่น เคาน์เตอร์ครัว ไฟท้ายรถยนต์หรือแม้แต่ผ้าอ้อมได้


ขอบคุณภาพจาก : foodandwine.com

 

และถ้าสามารถทำจนบริสุทธิ์ด้วยกระบวนการกลั่น จะสามารถทำโพแทสเซียมแลคเตทเกรดอาหารออกมาได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของส่วนผสมในเครื่องดื่มเกลือแร่ของเกเตอเรดหรือในลูกอมประเภทต่าง ๆ แน่นอนว่ากัมมี่แบร์ก็เป็นหนึ่งในขนมเหล่านั้นด้วย 



ทางดอร์แกนอธิบายว่า อะตอมของคาร์บอนที่ได้จากพืช เช่น ข้าวโพดหรือหญ้า ไม่ต่างจากอะตอมของคาร์บอนที่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเลย ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรคาร์บอนทั่วโลก เราสามารถเปลี่ยนจากชีวมวลในท้องทุ่งให้กลายเป็นวัสดุพลาสติกที่ทนทานและเปลี่ยนกลับให้กลายไปเป็นอาหารได้


แหล่งที่มา foodandwine.com

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง