รีเซต

30 มีนาคม 2017 จรวด Falcon 9 ถูกใช้งานซ้ำครั้งแรกในภารกิจส่งดาวเทียม SES-10

30 มีนาคม 2017 จรวด Falcon 9 ถูกใช้งานซ้ำครั้งแรกในภารกิจส่งดาวเทียม SES-10
TNN ช่อง16
1 เมษายน 2566 ( 11:18 )
70
30 มีนาคม 2017 จรวด Falcon 9 ถูกใช้งานซ้ำครั้งแรกในภารกิจส่งดาวเทียม SES-10

จรวดฟอลคอน 9 ฟูล เทรัสต์ (Falcon 9 Full Thrust) หมายเลข B1021 ที่พัฒนาโดยบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยจรวดหมายเลข LC-39A ศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยดาวเทียม SES-10 เปิดศักราชใหม่ของการนำจรวดมาใช้งานซ้ำในภารกิจขนส่งอวกาศ 


ภายหลังจากการส่งดาวเทียม SES-10 ขึ้นสู่อวกาศสำเร็จจรวดฟอลคอน 9 ฟูล เทรัสต์ (Falcon 9 Full Thrust) หมายเลข B1021 ในส่วนของบูสเตอร์เดินทางกลับโลกโดยทำการลงจอดบนเรือโดรนไร้คนขับชื่อว่า Of Course I Still Love You กลางมหาสมุทรแอตแลนติก 


ก่อนหน้านี้จรวดฟอลคอน 9 ฟูล เทรัสต์ (Falcon 9 Full Thrust) หมายเลข B1021 เคยถูกใช้งานในภารกิจ CRS-8 ภารกิจขนส่งทรัพยากรสำหรับนักบินอวกาศขึ้นสู่สถานีอวกาศโดยใช้ยานอวกาศ Dragon หมายเลข C110 ภารกิจ CRS-8 ในครั้งเป็นภารกิจแบบไร้นักบินอวกาศอยู่ภายในยานอวกาศ 


การนำจรวดมาใช้งานซ้ำได้ในภารกิจต่าง ๆ ของบริษัทเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จโดยสามารถลดต้นทุนการขนส่งลงไปได้ประมาณ 30% เมื่อเทียบกับการต้องสร้างจรวดใหม่ทุกครั้งในแต่ละภารกิจ เมื่อต้นทุนการขนส่งอวกาศลดลงส่งผลให้บริษัทเอกชน หน่วยงานรัฐบาล องค์กรต่าง ๆ หรือมหาวิทยาลัย ที่มีงบประมาณไม่มากสามารถส่งดาวเทียมที่ตนเองพัฒนาขึ้นสู่อวกาศได้ ขณะเดียวกันบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ก็มีแต้มต่อทุกครั้งที่ทำภารกิจอวกาศเนื่องจากใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าบริษัทคู่แข่ง


สำหรับภารกิจ SES-10 การขนส่งดาวเทียมสื่อสารสำหรับในประเทศบราซิล เม็กซิโกและประเทศอเมริกาใต้อื่น ๆ ดาวเทียมดวงนี้มีน้ำหนักประมาณ 5.2 ตัน มีอายุการใช้งานบนอวกาศประมาณ 15 ปี ติดตั้งระบบขับเคลื่อนบนดาวเทียมด้วยพลังงานไฟฟ้า รองรับช่องสัญญาณ Ku-Band จำนวน 55 ช่อง 


ปัจจุบันจรวด Falcon 9 ได้รับการพัฒนาจนมาถึงจรวดฟอลคอน 9 บล็อก 5 (Falcon 9 block 5) จัดอยู่ในกลุ่มของจรวดเชื้อเพลิงเหลว ออกซิเจนเหลว (LOX) และน้ำมันก๊าดเกรดจรวด (RP-1) แบ่งการทำงานของจรวดเป็น 2 ขั้นตอน จรวดบูสเตอร์ขั้นตอนแรกติดตั้งเครื่องยนต์ Merlin 1D จำนวน 9 เครื่องยนต์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเรียก "Falcon 9" จรวดส่วนที่สองทำหน้าที่บรรทุกดาวเทียมหรือยานอวกาศติดตั้งเครื่องยนต์ Merlin 1D Vacuum จำนวน 1 เครื่องยนต์ 


สถิติน่าสนใจ คือ จรวดฟอลคอน 9 บล็อก 5 (Falcon 9 block 5) หมายเลข B1058 และหมายเลข B1060 ทำภารกิจขนส่งอวกาศซ้ำมาแล้ว 15 ภารกิจ สำหรับภารกิจแรกของจรวดหมายเลข B1058 ถูกใช้ในการขนส่งนักบินอวกาศนาซา 2 คน เดินทางขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติ ISS โดยใช้ยานอวกาศ Dragon C206 Endeavour มาแล้วในปี 2020


ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ 

Spacenews

EN.Wikipedia.org

Latimes

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง