รีเซต

เปิด(โปง)อาชีพ”รับหิ้ว”ตอบโจทย์แค่ไหน?ในยุคเศรษฐกิจยังโงหัวไม่ขึ้น!

เปิด(โปง)อาชีพ”รับหิ้ว”ตอบโจทย์แค่ไหน?ในยุคเศรษฐกิจยังโงหัวไม่ขึ้น!
TNN ช่อง16
15 กรกฎาคม 2563 ( 12:01 )
652
เปิด(โปง)อาชีพ”รับหิ้ว”ตอบโจทย์แค่ไหน?ในยุคเศรษฐกิจยังโงหัวไม่ขึ้น!

        ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้มีอาชีพเกิดขึ้นใหม่ๆ ซึ่งก็เป็นอาชีพที่เข้ากับยุคสมัย เข้ากับสถานการณ์ ที่ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ยังเป็นเรื่องที่หลายคนกังวล กระทบต่อการใช้ชีวิตปกติ ที่เมื่อก่อนถึงช่วงที่ห้างสรรพสินเปิดมหกรรมลดราคาสินค้า หลายคนก็คงจะไม่พลาดที่จะต้องไปมุงซื้อของในห้างฯ  แต่เมื่อสถานกาณณ์เปลี่ยนไป ทั้งความกังวลเรื่องเชื้อไวรัส รวมถึงวิวัฒนาการของเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ยอมรับการใช้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ที่มีบริการ Delivery มากขึ้น  เพียงแค่กดสั่ง ก็รอของมาส่งที่บ้านได้เลย  จึงเกิดอาชีพ "รับหิ้ว" หรือ รับจ้างไปซื้อของให้ ขึ้นนั่นเอง 

        เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยใช้บริการ  ร้าน"รับหิ้ว"หรือพ่อค้าแม่ค้าร้านหิ้ว ที่รับอาสาไปต่อคิวซื้อของแทนเรา ซึ่งในการรับจ้างหิ้วแต่ละครั้งก็จะคิดค่าบริการหิ้วบวกค่าส่งประมาณ 10-20% ของราคาสินค้า ตามเลทราคาของแต่ละร้าน ซึ่งปัจจุบันร้านรับหิ้วก็มีการแข่งขันกันไม่น้อย เพราะเป็นอาชีพที่ใครก็ทำได้ ทั้งที่มีงานประจำอยู่แล้ว และมารับหิ้วเป็นอาชีพเสริมก็มี 



        กัญญณัช อินนา เล่าว่า รับหิ้วของจากห้างสรรพสินค้าเป็นอาชีพเสริม โดยอาชีพหลักคือรับราชการ จะรับหิ้วของจากร้านที่จัดโปรโมชั่นลดราคา  ซึ่งรายได้จากการรับหิ้วต่อเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 20% ของรายได้ประจำ ถือว่าเป็นอาชีพเสริมที่ดีพอสมควร 

        โดยเลทรับหิ้วที่รับหิ้วส่วนใหญ่ จะแบ่งสินค้าเป็นประเภท เช่น เสื้อผ้า จะคิดค่าหิ้ว + ราคาส่ง ตั้งแต่ 50 บาท ไปจนถึง 100 บาท/ชิ้น (บางรายไม่รวมค่าส่ง), กระเป๋า 100 บาท/ชิ้น, รองเท้า 250 บาท/ชิ้น  ,ของจิปาถะ อาทิ  แก้วสตาร์บัค 100-150 / เป็นต้น 



        แต่ตั้งแต่ช่วงเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ต้องหยุดรับหิ้วไป เพราะการสั่งปิดห้างสรรพสินค้าตามาตรการของภาครัฐ ทำให้รายได้ส่วนนี้หายไป ขณะที่เมื่อรัฐบาลทยอยคลายล็อกดาวน์ ให้ห้างร้านต่างๆกลับมาเปิดกิจการได้ต่อ  แต่ในทางกลับกันผู้บริโภคกลับชะลอการใช้จ่าย ไม่ค่อยใช้เงิน เพราะความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจฝืดเคือง  ปริมาณการสั่งซื้อ รวมถีงลูกค้าให้รับหิ้วก็ลดลง ขณะเดียวกันเกิดพ่อค้าแม่ค้ารับหิ้วหน้าใหม่ขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การแข่งขันมีเพิ่มขึ้น บางรายตัดราคารับหิ้วทำให้ร้านที่ตั้งราคาหิ้วสูงกว่าต้องเสียลูกค้า 

        "นอกจากสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี คนไม่ค่อยซื้อของ ไม่ค่อยจ้างหิ้วแล้ว ยังต้องมาแข่งขันกับพ่อค้าแม่ค้าหิ้วด้วยกันเอง ซึ่งปัจจุบันมีพ่อค้าแม่ค้ารับหิ้วอยู่ในเพจกลุ่มโปรโมชั่น หรือรีวิวสินค้าต่างๆ เกือบทุกเพจ  บางร้านตัดราคาค่าหิ้วเหลือ 20 บาทก็มี "   กัญญณัช กล่าว 


       ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ก็ได้สะท้อนเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย ว่า จริงๆแล้วผู้บริโภคหรือประชาชนส่วนใหญ่ ยังกังวลปัญหาค่าครองชีพ กังวลความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ  โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่วนใหญ่จึงยังไม่ค่อยกล้าจับจ่ายหรือซื้อสินค้าอื่นๆ ที่นอกเหนือจากสินค้าที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน  

        ดังนั้นอาชีพรับหิ้วหลายคนอาจจะเห็นว่า "ทำง่าย" แค่เดินไปต่อคิวซื้อของให้ลูกค้า จัดส่งไปรษณีย์ให้ลูกค้า เป็นอันจบ   ตอบโจทย์ความขี้เกียจของผู้บริโภคและสอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลายเต็มร้อย  แต่ในขณะเดียวกันอาชีพ "รับหิ้ว" ยังเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยความเชื่อใจจากลูกค้า มั่นใจในการบริการ พร้อมที่จะกดโอนเงินเพื่อจ่ายและรอสินค้าได้ และยังต้องต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว 

        ปัจจุบันในยุคที่ผู้คนก้าวไปข้างหน้าและพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันกับวิถีปกติใหม่ (New Normal) แต่ที่ไม่ง่ายคือการต้องต่อสู้ภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่พร้อมที่จะโงหัวขึ้นในขณะนี้ 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 เปิด 3 พรฎ.เว้นภาษีช่วยเอสเอ็มอีฟื้นจากโควิด-19

 เปิดรายได้ " LINE MAN” อาชีพฮิตโตสวนทางพิษโควิด-19

 จากอินเตอร์เน็ตมาร์เก็ตติ้ง สู่เจ้าของแบรนด์ "ประตูผี"

 เช็กลิสต์!เตรียมพร้อมก่อนลงทะเบียน "เราไปเที่ยวกัน"ทำตามนี้ได้สิทธิแน่!


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง