รีเซต

อิหร่านอ้างส่งดาวเทียมวิจัยขึ้นสู่อวกาศ เพื่อสันติภาพและการป้องกันเท่านั้น

อิหร่านอ้างส่งดาวเทียมวิจัยขึ้นสู่อวกาศ เพื่อสันติภาพและการป้องกันเท่านั้น
TNN ช่อง16
24 มกราคม 2567 ( 19:08 )
36
อิหร่านอ้างส่งดาวเทียมวิจัยขึ้นสู่อวกาศ เพื่อสันติภาพและการป้องกันเท่านั้น

อิสซา ซาเรปูร์ (Issa Zarepour) รัฐมนตรีโทรคมนาคมของอิหร่าน เปิดเผยว่าโครงการการบินและอวกาศของอิหร่านประสบความสำเร็จในการปล่อยดาวเทียมวิจัยเมื่อวันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2024 ดาวเทียมดวงนี้ชื่อโสรยา (Soraya) ถูกนำขึ้นไปยังอวกาศด้วยจรวดชื่อแกม-100 (Ghaem-100) ซึ่งเป็นเครื่องปล่อยจรวด ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงแข็ง 3 ระยะลำแรกของประเทศ การดำเนินการครั้งนี้รับผิดชอบโดยกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม (IRGC) ซึ่งเป็นหน่วยงานทางทหารของอิหร่าน แต่มีองค์กรด้านการบินและอวกาศด้วย


สำนักข่าวใหญ่สัญชาติฝรั่งเศสเอเอฟพี (AFP) ชี้ว่าดาวเทียมดังกล่าวมีน้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นไปบนวงโคจรที่ความสูงประมาณ 750 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่อิหร่านประสบความสำเร็จในการปล่อยดาวเทียมขึ้นได้สูงในระดับนี้ 


IRGC กล่าวว่าดาวเทียมดวงที่เพิ่งปล่อยขึ้นไปนี้ จะถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์และการป้องกัน และจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการสำรวจอวกาศและเทคโนโลยีของอิหร่าน


ซาเรปูร์ บอกว่าดาวเทียมดวงนี้ถือเป็น “ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่” สำหรับอุตสาหกรรมอวกาศของอิหร่าน ทั้งยังถือเป็นการส่งข้อความที่ชัดเจนถึงศัตรูของอิหร่านด้วยว่า อิหร่านจะไม่ละทิ้งสิทธิและผลประโยชน์ของตนในด้านการบินและอวกาศ


การปล่อยขีปนาวุธครั้งนี้ ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสหรัฐฯ และประเทศตะวันตกอื่น ๆ ว่า อิหร่านใช้โครงการดาวเทียมและจรวดของประเทศเพื่อปกปิดการพัฒนาขีปนาวุธที่สามารถบรรทุกหัวรบนิวเคลียร์ได้ ซึ่งอิหร่านก็ปฏิเสธว่าไม่มีเจตนาที่จะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งยังกล่าวว่าโครงการด้านการบินและอวกาศของตนมีจุดประสงค์เพื่อสันติภาพและการป้องกันเท่านั้น รวมถึงเป็นการปกป้องสิทธิ์ของตนด้านเทคโนโลยีซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


การปล่อยดาวเทียมวิจัยถือเป็นความสำเร็จล่าสุดในโครงการการบินและอวกาศของอิหร่าน ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยล้มเหลวในหลายโครงการ ทั้งนี้ในเดือนเมษายน 2020 อิหร่านประสบความสำเร็จในการปล่อยดาวเทียมทหารดวงแรกชื่อนูร์-1 (Nour-1) ขึ้นสู่วงโคจรโดยใช้จรวดเชื้อเพลิงแข็ง 2 ระยะด้วย


ที่มาข้อมูล InterestingEngineering

ที่มารูปภาพ Reuters

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง