รีเซต

โควิด-19 : ใครบ้าง ฉีดวัคซีนไม่ได้ ใช่เราหรือเปล่า ?

โควิด-19 : ใครบ้าง ฉีดวัคซีนไม่ได้ ใช่เราหรือเปล่า ?
TrueID
23 เมษายน 2564 ( 16:21 )
6.5K
โควิด-19 : ใครบ้าง ฉีดวัคซีนไม่ได้ ใช่เราหรือเปล่า ?

สถานการณ์โควิด-19 ในไทยยังคงต้องจับตาอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการฉีดวัคซีนไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังพบยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง

 

 

โดยทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับรองการขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ในไทย ทั้งหมด 3 ผู้ผลิตแล้ว ประกอบด้วย วัคซีนซิโนแวค วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และกำลังรออีก 1 ผู้ผลิต คือ บารัตไบโอเทค จากประเทศอินเดีย อยู่ในระหว่างการทยอยส่งเอกสารผลการทดลองในมนุษย์ เฟสที่ 3 และคุณภาพของวัคซีน ซึ่งเป็นเอกสารที่สำคัญที่สุด 

 

ปัจจุบันได้เริ่มกระจายฉีดวัคซีนให้ประชาชนทั่วประเทศแล้ว trueID จะพาไปดูกันว่าใครบ้างที่ไม่ควรฉีดวัคซีนดังกล่าว

 

 

ใครบ้างฉีดวัคซีนไม่ได้ ?


คนที่ไม่ควรรับวัคซีน ได้แก่ ผู้มีอาการแพ้ส่วนประกอบในวัคซีนและเด็กต่ำกว่า 18 ปี ส่วนสตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร สตรีที่ไม่มั่นใจว่าตั้งครรภ์ ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรงควรปรึกษาแพทย์ก่อน

 

 

ถ้ายังไม่ได้ฉีดวัคซีน ควรทําตัวอย่างไร ?


ควรดูแลตัวเอง อย่างเคร่งครัด ด้วยการสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือให้เป็นนิสัย

 

 

ป้องกันตัวเองอย่างดี จําเป็นต้องฉีดวัคซีนไหม ?


การฉีดวัคซีน ช่วยป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยหนัก และยังช่วยป้องกัน คนรอบข้างที่เรารักอีกด้วย

 

 

ผู้สูงอายุฉีดวัคซีนแล้ว ออกไปข้างนอกได้หรือเปล่า ยังต้องสวมหน้ากาก ล้างมือไหม ?


ออกไปได้ อย่างสบายใจมากขึ้น แต่ยังต้องสวมหน้ากาก เว้นระยะห่างล้างมือ

 


จริงไหม วัคซีนไม่ได้ฆ่าเชื้อ ฉีดแล้วยังต้องระวังติดเชื้ออยู่ที่ ?


จริง วัคซีนเพียงช่วยให้ร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้ป่วยหนัก แต่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอว่า สามารถป้องกันการติดเชื้อได้มากน้อยแค่ไหน

 

 

 

 

 

 

 

ล่าสุดนพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า วัคซีนซิโนแวค จะถูกส่งมาไทยอีก 1 ล้านโดส ประมาณวันที่ 10 เม.ย.นี้ แล้วเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบประสิทธิภาพและรุ่นการผลิต คาดว่าจะเรียบร้อยฉีดให้ประชาชนได้วันที่ 16-17 เม.ย. ส่วนวัคซีนของแอสตราเซนเนก้าที่ผลิตในไทยโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ มีแนวโน้มว่าจะส่งมอบล็อตแรก 5 ล้านโดสในช่วงกลางเดือน พ.ค. จากนั้นจะทยอยส่งให้เดือนละ 10 ล้านโดสอีก 5 เดือน และในเดือน ธ.ค.ส่งมอบล็อตสุดท้าย 5 ล้านโดส ครบตามจำนวนที่สั่งซื้อ พร้อมทั้งเชิญชวนประชาชนเตรียมโหลดแอปพลิเคชั่น “หมอพร้อม” เพื่อเตรียมฉีดวัคซีน 1 พ.ค.นี้ 

 

 

แผนการกระจายและฉีดวัคซีนในไทย


1.Area โดยจัดลำดับพื้นที่ เน้นอำเภอที่เป็นจุดเสี่ยงระบาดและมีนักท่องเที่ยว 
โดยจะฉีดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรด่านหน้า/ เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงให้ครอบคลุมมากที่สุดก่อน แล้วกระจายอำเภออื่นลดหลั่นลงไป

 

2.Setting หรือสถานที่ฉีด อาจดำเนินการเพิ่มได้ในโรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือการออกหน่วยบริการ เพื่อให้มีความครอบคลุมมากขึ้น โดยมีขั้นตอนการฉีดตามมาตรฐาน เน้นการสังเกตอาการให้ครบ 30 นาทีหลังฉีด และมีทีมแพทย์ดูแลเรื่องความปลอดภัย

 

3. Data ดำเนินการเรื่องข้อมูลผ่านระบบไลน์หมอพร้อม

 

 

สำหรับวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวคจำนวน 800,000 โดสจะกระจายให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ เริ่มดำเนินการฉีดวันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นไป 

 

 

1.จังหวัดเป้าหมาย 22 จังหวัด ใน 3 พื้นที่ ได้แก่

  • พื้นที่เพื่อควบคุมการระบาดของโรค 6 จังหวัด 350,000แสนโดส
  • พื้นที่ท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ 8 จังหวัด 240,000 แสนโดส โดยอาจเพิ่มกลุ่มพนักงานโรงแรม และพนักงานขับรถสาธารณะ
  • พื้นที่ชายแดนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ 8 จังหวัด 50,000โดส เน้นผู้ที่ทำงานที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้ปฏิบัติในสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และสถานกักตัว

 

2.จังหวัดอื่นๆ ที่เหลือจำนวน 160,000 แสนโดส เพื่อซักซ้อมความพร้อมทุกจังหวัดก่อนเริ่มฉีดวัคซีนจำนวนมากในช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป

  • จังหวัดขนาดเล็ก ประชากรน้อยกว่า 1 ล้านคน จำนวน 800 โดส
  • จังหวัดขนาดใหญ่ ประชากร 1 -1.5 ล้านคน จำนวน 1,000 โดส
  • จังหวัดขนาดใหญ่พิเศษมีประชากรมากกว่า 1.5 ล้านคน จำนวน 1,200 โดส
    เน้นการฉีดในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า

 

นอกจากนี้ ยังเตรียมวัคซีนสำหรับ อสม.อีกจังหวัดละ 1,000 โดส ดังนั้น จังหวัดขนาดเล็กจะได้รับวัคซีน 1,800 โดส จังหวัดขนาดใหญ่ได้รับวัคซีน 2,000 โดส และจังหวัดขนาดใหญ่พิเศษจะได้รับวัคซีน 2,200 โดส

 

สำหรับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า 1 ขวด ตามปกติสามารถฉีดได้ 10 โดส โดสละ 0.5 มิลลิลิตร เนื่องจากผู้ผลิตได้บรรจุวัคซีนมาเผื่อ โดย 1 ขวดมีวัคซีนปริมาณ 6.5 มิลลิลิตร หากบริหารจัดการการฉีดอย่างดีอาจฉีดได้ 11-12 โดสต่อขวด จะทำให้ฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมประชาชนมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง ขอให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดร่วมกับกระทรวงมหาดไทย สำรวจความต้องการผู้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ตามความสมัครใจ

 

ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 22 เมษายน 2564

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการฉีดวัคซีน เรียงตามสัดส่วนมากที่สุด ได้แก่


-บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข และ อสม. 47%


-ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง 31.5%


-เจ้าหน้าที่อื่นๆที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 14%


-ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 3.5%


-บุคคลที่มีโรคประจำตัว อย่างละ 4%

 

 

 


วันที่ 22 เมษายน 2564 มีผู้รับการฉีดวัคซีน 


เข็มที่ 1 จำนวน 87,465 ราย


เข็มที่ 2 จำนวน 12,520 ราย

 

 

จำนวนผู้ได้รับวัคซีนสะสมทั้งหมด จำนวน 964,825 ราย ใน 77 จังหวัด


จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 : 834,082 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 : 130,743 ราย

 

 

 

ภาพโดย Vesna Harni จาก Pixabay 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รอเลย! ไทยอยู่ระหว่างเจรจา ซื้อวัคซีนโควิด-19 เพิ่ม

รู้จัก"หมอพร้อม" วัคซีนโควิดพร้อม คนไทยพร้อมหรือยัง?

ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วทำไมยังติดเชื้อโควิด หรือต้องฉีดสลับยี่ห้อ?

โควิด-19 รวมสายพันธุ์จากอู่ฮั่น สู่เชื้อโควิดกลายพันธุ์

 

++++++++++

 

ห้ามพลาด! ทุกวัน ... เวลา 10.30 น. – 11.30 น. ชมสด “ข่าวปะทะ Social”

รายการเล่าข่าวน้องใหม่จาก TrueID ที่เจาะประเด็นร้อนประจำวัน

โดย “เซียนโอ๊ตโต๊ะ” และ “ดลลี่” สองพิธีกรคู่จิ้นที่โด่งดังจาก “Online Station” (ช่องเกมส์ออนไลน์ชั้นนำของประเทศไทย)  รับชมได้ผ่าน TrueID.net, TrueID App และ TrueID TV BOX

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง