รีเซต

เปิดสรรพคุณ “ขิง” ยาแก้แพ้ แก้หวัด ยาต้านไวรัสจากธรรมชาติ

เปิดสรรพคุณ “ขิง” ยาแก้แพ้ แก้หวัด ยาต้านไวรัสจากธรรมชาติ
TrueID
31 สิงหาคม 2564 ( 13:05 )
924
เปิดสรรพคุณ “ขิง” ยาแก้แพ้ แก้หวัด ยาต้านไวรัสจากธรรมชาติ
“ขิง” เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายมานาน มีรสเผ็ดอุ่น นอกจากนี้ ยังช่วยกำจัดพิษโดยการเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยขับเสมหะ  วันนี้ trueID ได้นำบทความจากเพจ  สมุนไพรอภัยภูเบศร มาเปิดสรรพคุณของ "ขิง" ในด้านต่างๆมาให้แล้ว
 

สรรพคุณ

  • เหง้า : รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ 
  • ต้น : รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
  • ใบ : รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ
  • ดอก : รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
  • ราก : รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด
  • ผล : รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
  • แก่น : ฝนทำยาแก้คัน
 
ขิงยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม วิตามินเอ และอีกมากมาย ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำเหง้าสดหมกไฟรับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
 
 
“ขิง” ยาแก้แพ้ แก้หวัด ยาต้านไวรัสจากธรรมชาติ
 
 
“ขิง” สมุนไพรรสเผ็ดอุ่น มีฤทธิ์แก้หวัดเย็น ขับเหงื่อ บำรุงกระเพาะ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ลดระดับไขมันในเลือดได้
 
 
“ขิงสด” ช่วยทำให้ร่างกายปรับสภาพในภาวะที่ร่างกายมีอาการเย็นได้ เช่นเดียวกับขิงแห้ง ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน นอกจากนี้ ยังช่วยกำจัดพิษโดยการเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยขับเสมหะ
 
 
มีงานวิจัยเบื้องต้นในหลอดทดลองกับไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) ก่อโรคทางเดินหายใจ พบว่า ขิงสด มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสชนิดนี้ดีกว่าขิงแห้ง และยังช่วยกระตุ้นการหลั่งสาร IFN-β ออกมากำจัดเชื้อไวรัส
 
 
สิ่งที่คนทุกมุมโลกใช้ขิงเหมือนกัน ก็คือ การใช้ในการแก้หวัด และแก้ไอ ซึ่งได้มีการศึกษาพบว่า ขิง มีสารหลายชนิดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และมีการทดลองพบว่า น้ำขิงที่ได้จากการต้ม 30 นาที ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจ(Macrophage) ที่มีหน้าที่ในการจับกินเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น มีฤทธิ์ต้านการแพ้เหมือนยาแก้แพ้ โดยช่วยลดอาการคัดจมูก
 
 
ทางแผนไทยเป็นยาฤทธิ์ร้อน อาจช่วยลดน้ำมูกให้แห้งลงได้ ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงคุณค่าภูมิปัญญาอันเก่าแก่ในการใช้ประโยชน์จากขิง
 
 
…หากมีอาการของหวัด ภูมิแพ้อากาศ แนะนำดื่มน้ำขิงวันละแก้ว…
 
 
ระวังการดื่มน้ำขิงในปริมาณมากๆเพราะอาจทำให้ร้อนในได้ หากมีอาการสามารถลดการกินลง
 
 
มีการทดลองโดยใช้ขิงแห้งและขิงสดมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำขิงร้อน เพื่อทดสอบกับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากไวรัสอาร์เอสวี (Human Respiratory Syncytial Virus) ผลลัพธ์พบว่า น้ำขิง ที่ได้จากขิงสด มีประสิทธิผลต่อต้านการสะสมของเชื้อไวรัสบริเวณเยื่อบุผิวทางเดินหายใจ ด้วยการป้องกันการยึดเกาะ หรือป้องกันการแพร่ของไวรัสเข้าสู่เซลล์ร่างกายได้
 
 
“ขิง” จึงเป็นสมุนไพรแนะนำสำหรับการใช้เป็นเครื่องดื่มในช่วงหวัดไวรัส…ระบาดนี้ เพราะขิงเป็นสมุนไพรที่หาง่าย มีความปลอดภัยสูง ใช้กันมานาน คนทั่วไปคุ้นเคย กินง่าย ทำได้เอง
 
 
…ปัจจุบันขิงบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และองค์การอนามัยโลกรับรองในการรักษาหวัด ในกรณีที่เป็นหวัด น้ำขิงที่ต้มเองดูจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด
 
 

ข้อควรระวังในการใช้ขิงปริมาณสูง

  • ผู้ที่มีไข้ตัวร้อนสูง มีความร้อนสูง
  • ในหญิงตั้งครรภ์
  • ในผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี
  • ในผู้ป่วยที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน
 
ยาน้ำขิง
บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ บรรเทาอาการหอบหืด
 
ส่วนประกอบ
1. เหง้าขิงแก่
2. หอมแดง
3. มะนาว
4. กระเทียม
5. น้ำผึ้ง
 
วิธีทำ
1. นำเหง้าขิงแก่ หอมแดง กระเทียม ปอกเปลือก ล้างสะอาด
2. นำขิง และหอมแดง ตำละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ 1 ช้อนโต๊ะ
3. ตำกระเทียม คั้นเอาแต่น้ำ ½ – 1 ช้อนโต๊ะ
4. นำน้ำคั้น ขิง หอมแดง และกระเทียม ผสมกัน เติมน้ำมะนาว ½ -1 ช้อนโต๊ะ และเติมน้ำผึ้งชิมรส
 
วิธีรับประทาน
* ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น หรือก่อนนอน หากมีอาการกำเริบบ่อยสามารถจิบได้ย่อยเมื่อมีอาการ (แนะนำดื่มน้ำอุ่นร่วมด้วย)
 
 
อ้างอิง
1. สุภาภรณ์ ปิติพร. ขิง : ยาดีที่โลกรู้จัก. นิตยสารหมอชาวบ้าน 2545. เดือน พฤศจิกายน เล่มที่ 283.
4. Chang JS, et al. Fresh ginger (Zingiber officinale) has anti-viral activity against human respiratory syncytial virus in human respiratory tract cell lines. J Ethnopharmacol 2013;145(1):146-51.
 
 
ขอบคุณข้อมูล : สมุนไพรอภัยภูเบศร , wikipedia
ภาพโดย gate74 จาก Pixabay 
 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง