รีเซต

ทำความรู้จักโมดูลต่าง ๆ บนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS

ทำความรู้จักโมดูลต่าง ๆ บนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS
TNN ช่อง16
4 พฤษภาคม 2565 ( 19:25 )
173

สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) สิ่งก่อสร้างทางด้านวิศวกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่ในโลกที่ถูกสร้างโดยมนุษย์และกำลังโคจรรอบโลก สถานีอวกาศนานาชาติมีชื่อเรียกว่า ISS หรือ Alpha Station เริ่มต้นก่อสร้างครั้งแรกในปี 1998 โดยความร่วมมือขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA), องค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซีย (RKA) ,องค์การอวกาศแคนาดา (CSA) ,องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) และ องค์การอวกาศยุโรป (ESA) รวม 16 ประเทศ ปัจจุบันถูกใช้งานมาเป็นระยะเวลากว่า 23 ปี มีนักบินอวกาศเคยขึ้นไปประจำการมากกว่า 250 คน ใน 403 เที่ยวบินอวกาศ และประกอบไปด้วยชิ้นส่วนโครงสร้างที่มีความซับซ้อนจากหลายประเทศ


โมดูลซาร์ยา (Zarya)


โมดูลของรัสเซียและโมดูลแรกของสถานีอวกาศ ISS ทำหน้าที่เก็บสัมภาระเชื้อเพลิงน้ำหนัก 3.8 ตัน ติดตั้งแผงโซลาเซลล์ขนาดใหญ่ 2 ชุด และระบบขับเคลื่อน โมดูล Zarya เดินทางขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 20 พฤศจิกายน 1998 โครงสร้างมีความยาว 12.56 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.11 เมตร โมดูลมีน้ำหนัก 19.3 ตัน โมดูลซาร์ยา (Zarya) เชื่อมต่อกับโมดูล Zvezda และโมดูล Unity


โมดูลซเวซดา (Zvezda) 


โมดูลของรัสเซียมีลักษณะเป็นโมดูลบริการจุดเทียบท่ายานอวกาศของรัสเซีย พื้นที่สำหรับทำงานวิจัยและอยู่อาศัยนักบินอวกาศรัสเซีย โมดูลซเวซดาถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 12 กรกฎาคม 2000 โครงสร้างมียาว 13.1 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.35 เมตร น้ำหนัก 19.3 ตัน โมดูลซเวซดาเชื่อมต่อกับโมดูล Zarya และท่าเทียบยานอวกาศโซยุซ (Soyuz) 


โมดูลยูนิตี้ (Unity)


โมดูลยูนิตี้ของสหรัฐฯ เชื่อมต่อโมดูลรัสเซีย ทำหน้าที่เป็นพื้นที่กลางรับประทานอาหารร่วมกัน โมดูลแห่งนี้พัฒนาโดยบริษัทโบอิ้ง (Boeing) โครงสร้างมีความซับซ้อนและเป็นจุดเชื่อมต่อกับโมดูลอื่น ๆ มากถึง 6 จุด โมดูลยูนิตี้ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 12 กรกฎาคม 2000 โครงสร้างมียาว 5.47 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.57 เมตร น้ำหนัก 11.6 ตัน โมดูลยูนิตี้เชื่อมต่อกับโมดูลซาร์ยา (Zarya) และโมดูลเดสตินี (Destiny)


โมดูลเดสตินี (Destiny)


โมดูลของสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่เป็นห้องวิจัย อุปกรณ์ด้านวิทยาศาสตร์และหน้าต่างสังเกตุการณ์ผิวโลก โมดูลยูนิตี้ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2001 โครงสร้างมียาว 8.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.27 เมตร น้ำหนัก 14.5 ตัน โมดูลยูนิตี้เชื่อมต่อกับโมดูลซาร์ยา (Zarya) และโมดูลเดสตินี (Destiny) โมดูลยูนิตี้เชื่อมต่อกับโมดูลฮาร์โมนี (Harmony) และโมดูลยูนิตี้ (Unity)

 

โมดูลเควส (Quest)


โมดูลที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ปรับความดันอากาศ (Joint Airlock Module) ของสหรัฐฯ ทำหน้าที่เป็นห้องปรับแรงดันให้นักบินอวกาศออกไปเดินอวกาศ (EVA) ของนักบินอวกาศสหรัฐฯ และยุโรป โมดูลแห่งนี้ใช้เก็บชุดอวกาศและเป็นส่วนที่เชื่อมต่อเข้ากับโมดูลยูนิตี้ (Unity) 


โมดูลพอร์ย (Poisk)


โมดูลของรัสเซียมีอีกชื่อหนึ่งว่า Mini-Research Module 2 ทำหน้าที่เป็นห้องปรับแรงดันให้นักบินอวกาศออกไปเดินอวกาศ (EVA) ของนักบินอวกาศรัสเซียและเป็นห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ โมดูล Poisk มีลักษณะเป็นโมดูลขนาดเล็กความยาว 4 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.55 เมตร ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2009 


โมดูลฮาร์โมนี (Harmony)


โมดูลห้องปฏิบัติการของสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น จุดเชื่อมต่อกับท่าเทียบยานอวกาศ PMA-2 โมดูลฮาร์โมนีถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 23 ตุลาคม 2007 โครงสร้างมียาว 6.7 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.4 เมตร น้ำหนัก 14.5 ตัน โมดูลฮาร์โมนีเชื่อมต่อกับโมดูลเดสตินี (Destiny) โมดูลคิโบ (Kibo) โมดูลโคลัมบัส (Columbus) และท่าเทียบย่านอวกาศ PMA-2

 

โมดูลทรานคิวริตี้ (Tranquility) 


โมดูลสร้างโดยอิตาลี (ASI) และนาซา ติดตั้งระบบควบคุมสิ่งแวดล้อม ระบบช่วยชีวิต ห้องส้วม อุปกรณ์ออกกำลังกาย และโดมสังเกตการณ์ Cupola โมดูลทรานคิวริตี้ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2010 โครงสร้างมียาว 6.7 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.8 เมตร น้ำหนัก 19 ตัน โมดูลฮาร์โมนีเชื่อมต่อกับโมดูลยูนิตี้ (Unity) และท่าเทียบยานอวกาศ PMA-3 โมดูลแบบพองตัว BEAM และ โมดูลปรับแรงดันอากาศ Nanoracks Bishop Airlock


โมดูลโคลัมบัส (Columbus)


Columbus โมดูลขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์สำรวจและทดลองทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาโดยบริษัท Alcatel Alenia Space ในประเทศอิตาลี โมดูลโคลัมบัสถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในปี 2014 โครงสร้างมียาว 7 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.5 เมตร น้ำหนัก 12.8 ตัน โมดูลฮาร์โมนีเชื่อมต่อกับโมดูลฮาร์โมนี (Harmony)


โมดูลคิโบ (Kibō)


โมดูลขององค์การอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) โมดูลเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีห้องปฏิบัติการหลัก ระบบการดำรงชีพ ระบบการสื่อสาร โมดูลคิโบแบ่งออกเป็น 6 ส่วนด้วยกันแต่โครงสร้างหลักมี 3 ส่วน ประกอบด้วย

1. โมดูลห้องปฏิบัติการ (Pressurized Module) ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในปี 2008

2. โมดูลเสริมทดสอบนอกยาน (Exposed facility) ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในปี 2009 

3. โมดูลลอจิสติกส์ (Experiment logistics module) ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในปี 2008


โครงสร้างของโมดูลคิโบ (Kibō) มียาว 11.19 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.39 เมตร น้ำหนัก 15.9 ตัน โมดูลฮาร์โมนีเชื่อมต่อกับโมดูลฮาร์โมนี (Harmony) 

 

โดมแก้ว (Cupola )


Cupola โดมแก้วขนาดใหญ่พัฒนาโดยองค์การอวกาศยุโรป (ESA) ขนาดความสูงประมาณ 1.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.9 เมตร ทำหน้าที่สังเกตการณ์ผิวโลกและการเทียบท่าของยานอวกาศ โดมแก้วแห่งนี้เป็นจุดที่นักบินอวกาศชอบมาถ่ายภาพโลกเนื่องจากมองเห็นโลกในมุมมองที่กว้างมากที่สุด กระจกมีความแข็งแรงทนทานผลิตจากซิลิกา (Fused silica) และแก้วกันกระสุนบอโรซิลิเกต (Borosilicate)


นอกจากโมดูลต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นสถานีอวกาศนานาชาติยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ ที่น่าสนใจเช่น โมดูล Rassvet  โมดูลของรัสเซียทำหน้าที่เป็นจุดเทียบท่ายานอวกาศและจัดเก็บสัมภาระเพื่อการดำรงชีพของรัสเซีย โมดูล Leonardo โมดูลอเนกประสงค์ทำหน้าที่จัดเก็บสัมภาระอะไหล่ เสบียงและของเสียบนสถานีอวกาศ โมดูล BEAM โมดูลพัฒนาโดยบริษัท Bigelow Aerospace เป็นการทดสอบโมดูลแบบใหม่ที่พองตัวได้ด้วยแรงดัน โมดูลห้องปฏิบัติการ Nauka ของรัสเซียและทำหน้าที่เป็นจุดเทียบท่าของยานอวกาศรัสเซีย และโมดูล Axiom โมดูลใหม่ล่าสุดที่ยังคงเป็นแค่แผนการอยู่พัฒนาโดยบริษัทเอกชนในสหรัฐฯ เตรียมส่งขึ้นไปเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศ ISS ในปี 2024


ที่มาของข้อมูล nasa.gov, en.wikipedia.org 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง