รีเซต

ทาสตูบ ทาสแมว รู้ไว้! วิธีอพยพสัตว์เลี้ยงในภาวะน้ำท่วม

ทาสตูบ ทาสแมว รู้ไว้! วิธีอพยพสัตว์เลี้ยงในภาวะน้ำท่วม
TeaC
25 กันยายน 2566 ( 17:18 )
272
ทาสตูบ ทาสแมว รู้ไว้! วิธีอพยพสัตว์เลี้ยงในภาวะน้ำท่วม

ข่าววันนี้ สถานการณ์น้ำท่วม 2566 เป็นอีกหนึ่งปีที่สร้างผลกระทบอย่างมากและดูเหมือนว่าวิกฤติน้ำท่วมกำลังจะเพิ่มความรุนแรง หลายจังหวัดน้ำท่วมสูงและยังมีหลายจังหวัดที่ต้องเตรียมรับมือกับน้ำจำนวนมากที่จะไหลผ่าน การเตรียมแผนรับมือจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม นอกจากถุงยังชีพ หรือข้อปฏิบัติต่าง ๆ เช่น การใช้ไฟฟ้าให้ปลอดภัยทั้งก่อนและหลังน้ำท่วม ฯลฯ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่แพ้กันเหมือนคนนั่นคือ เหล่าบรรดาสัตว์เลี้ยง ทั้งหมาและแมวที่ต้องดูแลในยามที่สถานการณ์ไม่ปกติด้วยเช่นกัน

 

น้ำท่วม 2566


วันนี้ TrueID รวบรวมวิธีอพยพสัตว์เลี้ยง วิธีดูแลสัตว์เลี้ยงในช่วงน้ำท่วม และวิธีดูแลหลังสถานการณ์น้ำท่วมดีขึ้นแล้ว จะต้องรู้อะไรบ้างและต้องปฏิบัติอย่างไร ตามมาดู จะได้เตรียมพร้อมกัน โดยการอพยพสัตว์ในภาวะวิกฤติต่าง ๆ ต้องศึกษาและทำความเข้าใจ จะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งมี 4 ข้อสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ดังนี้

 

1. เตรียมอาหาร ของจำเป็นสัตว์เลี้ยงให้พอ 

  • อย่างที่รู้กันดีว่าหากเกิดภาวะน้ำท่วมแล้วกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงอาจใช้เวลานาน การเตรียมอาหารและน้ำสะอาดให้สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญ อย่างน้อยควรเตรียมไว้ 1-2 สัปดาห์ และควรอพยพไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย น้ำท่วมไม่ถึง



2. สายจูง กระเป๋า กรง เตรียมให้พร้อม 

  • การติดตามข่าวสาร เกาะติดสถานการณ์ช่วยให้ประเมินได้ระดับหนึ่ง การมีอุปกรณ์ในการอพยพทั้งกร๊สัตว์เล็ก สัตว์ใหญ่ จะช่วยให้ทำได้อย่างรวดเร็ว และทันท่วงที เช่น หากพบว่าน้ำกำลังจะมาแล้ว ให้นำสัตว์เลี้ยงอยู่ใกล้ตัวตลอดเวลา ส่วนน้องแมวจะมีอาการตื่นกลัวได้ง่าย ควรใส่ในกระเป๋า หรือกรง เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องอพยพจะได้ทำอย่างทันท่วงที และสัตว์เลี้ยงจะได้ไม่หนี เพราะตกใจ แต่หากน้ำยังไม่มา ไม่ควรปล่อยสัตว์ออกเพ่นพาน เพราะหากเกิดสถานการณ์ทันทีจะได้พาตัวพวกเขาออกได้ทันที



3. เอกสารวัคซีน อย่าลืมเด็ดขาด

  • สิ่งสำคัญอย่างเอกสารวัคซีนที่เกี่ยกวับสัตว์เลี้ยงของเราควรใส่ซองพลาสิกกันน้ำเอาไว้ และเก็บรวมไว้กับเอกสารของเราติดตัวไว้เสมอเมื่อต้องอพยพ

 

 

4. ทาสตูบ ทาสแมว รู้ไว้! ห้ามทิ้งสัตว์เลี้ยงไว้ในบ้านเด็ดขาด 

  • หากใครจำเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้วได้ จะมีประกาศแจ้งไม่ให้ทิ้งสัตว์เลี้ยงไว้ในบ้าน เนื่องจากควันพิษและความร้อนทำให้สัตว์เลี้ยงเป็นโรคฮีสสโตรกเสียชีวิตได้ง่าย ในสถานการณ์น้ำท่วมแบบนี้ก็เช่นกัน อย่าปล่อยให้สัตว์ หมาน้อย แมวน้อย ต้องเผชิญชะตากรรม เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ 

 

 

วิธีดูแลสัตว์เลี้ยงในช่วงน้ำท่วม

หากตกอยู่ในสถานการณ์ที่น้ำเริ่มเข้าบ้าน และต้องใช้ชีวิตอยู่กับสถานการณ์แบบนี้อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ต้องทำหากคุณมีสัตว์เลี้ยง คือ

 

  1. 1. ห้ามล่ามสัตว์เลี้ยงไว้กับที่เด็ดขาด และควรพาสัตว์เลี้ยงเข้ามาอยู่ในบ้านด้วยกัน 
  2. สำหรับบ้านสองชั้น ควรพาสัตว์เลี้ยงขึ้นมาอยู่ด้วยกันที่ชั้นบนของบ้านจะดีที่สุด อย่าปล่อยอยู่ชั้นล่าง เพราะเสี่ยงไม่ปลอดภัยทั้งเรื่องไฟดูด หรือสัตวืมีพิษต่าง ๆ 
  3. ห้ามพาสัตว์เลี้ยงไปสัมผัสกับสัตว์ตัวอื่นนอกบ้าน เพื่อป้องกันเชื้อโรคและอันตราย
  4. อย่าลืมใช้ถุงเก็บเศษอาหารและอุจจาระของสัตว์เลี้ยงให้ถูกสุขอนามัย เพื่อลดแหล่งอาหารของหนู แมลงวัน และสัตว์พาหะอื่น ๆ ที่สามารถนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยงได้
  5. หมั่นทำความสะอาดที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงเสมอ


วิธีดูแลสัตว์เลี้ยงในช่วงหลังน้ำท่วม

เมื่อสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลายลงแล้ว สิ่งที่ต้องปฏิบัติและดูแลสัตว์เลี้ยงหลังน้ำท่วม ได้แก่

 

  1. เมื่อน้ำลดลงแล้ว หากฝากสัตว์เลี้ยง หมา แมวไว้กับศุนย์พักพิง ศูนย์อพยพควรรีบไปรับกลับมาให้เร็วที่สุด
  2. เติมอาหารอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ เพราะสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอาหารและน้ำน้อยกว่าปกติในช่วงน้ำท่วม
  3. ควรให้สัตวืเลี้ยงอยู่ในบ้าน อย่าปล่อยสัตว์เลี้ยงออกไปนอกบ้านทันทีหลังน้ำลด เพราะอาจมีเศษแก้ว เศษตะปู หรือสิ่งของอันตรายที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ 
  4. หากสัตวืเลี้ยงมีอาการป่วย ควรรีบพาไปพบแพทย์
  5. หมั่นทำความสะอาดที่อยู่อาศัยและของใช้ของสัตว์เลี้ยงให้สะอาดอยู่เสมอ

 

และนี่คือคู่มือในการดูแลสัตว์เลี้ยงในสถานการณ์ที่ไม่ปกติทั้ง สถานการณ์น้ำท่วม หรือไฟไหม้ สามารถนำไปปรับใช้ สิ่งที่สำคัญคือ ห้ามทิ้งสัตว์เลี้ยงและติดตามข่าวสาร เพื่อประเมินสถานการณ์ จะได้รับมือเมื่อภัยมาได้ทันท่วงที

 

รู้ไว้นะ TrueID ห่วงเสมอ

 

ข้อมูล : กรมปศุสัตว์, กรมควบคุมโรค

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง