รีเซต

มดดมกลิ่น "มะเร็ง" ฝึกง่าย ตรวจหาแม่นยำไม่แพ้สุนัข

มดดมกลิ่น "มะเร็ง" ฝึกง่าย ตรวจหาแม่นยำไม่แพ้สุนัข
TNN ช่อง16
12 มีนาคม 2565 ( 09:05 )
135
มดดมกลิ่น "มะเร็ง" ฝึกง่าย ตรวจหาแม่นยำไม่แพ้สุนัข

ก่อนหน้านี้คุณอาจจะเคยเห็นการทดลองฝึกสุนัข เพื่อดมกลิ่น "มะเร็ง" ซึ่งมีประโยชน์ในการค้นหามะเร็งแก่ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง แต่ล่าสุดนักวิจัยจากฝรั่งเศสได้นำแนวคิดนี้มาปรับใช้เพื่อพัฒนา "มดดมกลิ่นมะเร็ง" จนประสบความสำเร็จในที่สุด

ที่มาของภาพ Unsplash

 



เป็นที่ทราบกันดีว่าสุนัขประสาทสัมผัสด้านการดมกลิ่นอันเยี่ยมยอด มันจึงถูกฝึกให้ทำกลิ่นเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น การค้นหาระเบิด, การค้นหายาเสพติด รวมไปถึงการค้นหากลิ่นของมะเร็ง อย่างไรก็ตาม การฝึกให้สุนัขเรียนรู้กลิ่นเหล่านี้จนสามารถติดตามดมกลิ่นได้ ต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกค่อนข้างนาน เพราะฉะนั้น ในแง่ของการเตรียมความพร้อมจึงมีความล่าช้าในจุดนี้ด้วยเช่นกัน


แต่ยังมีสิ่งมีชีวิตอีกชนิดที่มีประสาทสัมผัสในการรับกลิ่นเป็นเลิศไม่ต่างจากสุนัข นั่นคือ "มด" พวกมันสามารถรับกลิ่นที่เกิดจากโมเลกุลของสารระเหยอินทรีย์ (Volatile organic compounds - VOCs) ซึ่งมันคือสารกลุ่มเดียวกันกับที่มดใช้ติดตามทางกลับบ้านนั่นเอง 


ที่มาของภาพ iScience

 


จากการศึกษาพบว่ามะเร็งบางชนิด สามารถสร้างระเหยสารอินทรีย์ขึ้นมาจากเซลล์มะเร็ง พร้อมปะปนออกมาตามผิวหนังและการหายใจ ดังนั้น นักวิจัยจึงใช้สารอินทรีย์เหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ว่าบุคคลผู้นั้นมีโอกาสเป็นมะเร็ง หากสิ่งมีชีวิตสามารถตรวจจับกลิ่นจากสารระเหยอินทรีย์ได้ ก็น่าจะช่วยค้นหามะเร็งแก่ผู้ป่วยเหล่านั้นได้เช่นกัน นี่จึงเป็นที่มาในการฝึกสุนัขให้ดมกลิ่นหามะเร็ง ก่อนที่จะนำมาสู่การฝึกมดในลำดับถัดมา


ในการทดลองนักวิจัยได้ฝึกมดสายพันธุ์ Formica fusca ให้จดจำกลิ่นของมะเร็งเต้านม 2 ชนิด จากนั้นจึงให้มดเริ่มทำการค้นหาตำแหน่งของจานเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งตามกลิ่นที่ได้รับการฝึก ปรากฏว่ามดสามารถแยกแยะว่าจานเพาะเลี้ยงใดที่เป็นจานของเซลล์มะเร็ง ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่าประสิทธิภาพในการค้นหามะเร็งของมดใกล้เคียงกับการดมกลิ่นของสุนัขเลยทีเดียว


ที่มาของภาพ Unsplash

 


นอกจากนี้ การเลือกใช้มดเพื่อค้นหามะเร็งยังมีข้อได้เปรียบมากกว่าสุนัข คือ มดสามารถฝึกฝนให้จดจำกลิ่นได้รวดเร็วกว่าสุนัข โดยมดสามารถเรียนรู้ได้ภายใน 30 นาที ในขณะที่สุนัขต้องใช้เวลาฝึกนาน 6-12 เดือน อีกทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูอื่น ๆ (เพราะมดกินแค่น้ำผึ้งและแมลงตัวเล็ก ๆ ส่วนสุนัขต้องให้กินอาหารมื้อใหญ่กว่าหลายเท่าตัว) 


จากการทดลองได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามดก็มีคุณสมบัติเพียงพอในการช่วยติดตามค้นหาได้ดีไม่ต่างจากสุนัข ในลำดับถัดไปนักวิจัยจะทำการทดลองให้มดจดจำกลิ่นของสารอื่น ๆ เช่น กลิ่นยาเสพติด, กลิ่นดินปืนของระเบิด, กลิ่นเฉพาะของผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือการติดเชื้อมาลาเรีย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วทั้งในการฝึกและการนำไปใช้ด้วย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก New Atlas

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง