รีเซต

เตือนอาการ "ตะคริว" สัญญาณบอกโรค

เตือนอาการ "ตะคริว" สัญญาณบอกโรค
TNN ช่อง16
5 กันยายน 2567 ( 13:58 )
30
เตือนอาการ "ตะคริว" สัญญาณบอกโรค

กิจกรรมที่ทุกคนทำในแต่ละวันอาจทำให้เป็นตะคริวได้โดยไม่รู้ตัวและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ การเป็นตะคริว คือ อาการหดเกร็งอย่างเฉียบพลันของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเกร็งเป็นก้อน ก่อให้เกิดความเจ็บปวด และสามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย ส่วนมากเกิดที่กล้ามเนื้อน่องหรือขา เพราะเป็นกล้ามเนื้อที่ใช้งานบ่อย บางรายเป็นที่แขนหรือมือ จากการใช้งานคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะหายได้เองเมื่อพัก แต่หากเป็นตะคริวบ่อยร่วมกับมีอาการอื่น เช่น ชา แสบร้อน พักแล้วไม่หาย ขาซีด ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย


สาเหตุของตะคริว เกิดจาก

-กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดอาการเมื่อยล้า อาจเกิดจากการเดินเยอะ 

-การอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ เช่น นั่งนาน ยืนบนพื้นแข็งเป็นเวลานาน

-โรคประจำตัว เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคพาร์กินสัน โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต กรณีนี้แพทย์จะให้ยาป้องกันการเกิดตะคริว



 3 ความเชื่อเกี่ยวกับอาการคริ้วว่าเรื่องไหนจริงหรือเท็จ


ความเชื่อที่ 1 เป็นตะคริวบ่อยมีความเสี่ยงหลอดเลือดแดงแข็ง 

ความเชื่อนี้ จริงบางส่วน เพราะตะคริวอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ หรือบ่งบอกว่ามีโรคซ่อนอยู่ เช่น หลอดเลือดแดงแข็งตัว ไทรอยด์ หลอดเลือดสมอง ปอด เอ็นประสาทอักเสบ โดยคนไข้จะรู้สึกเย็นและชาร่วมด้วย 


ความเชื่อที่ 2 เป็นตะคริวตอนนอน เพราะดื่มน้ำไม่พอ 

ความเชื่อนี้ จริงบางส่วน การสูญเสียน้ำเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเป็นตะคริว 

ในคนทั่วไปที่ออกกำลังกายหนักหรือเดินมาก ดื่มน้ำไม่เพียงพอก็อาจทำให้เป็นตะคริวได้ 


ความเชื่อที่ 3 เป็นตะคริวให้กินของเค็ม เพราะร่างกายขาดเกลือแร่

ความเชื่อนี้ ไม่จริง เพราะหลายคนสับสนว่าเกลือแร่กับของเค็มเป็นเรื่องเดียวกัน ทั้งนี้หากร่างกายขาดเกลือแร่จนเกิดตะคริว แนะนำให้ทานแมกนีเซียมเสริม หรือทานอาหารที่มีแคลเซียมเพื่อป้องกันการเกิดตะคริว ซึ่งอาหารที่มีเกลือแร่หรือแมกนีเซียมพบได้ในเต้าหู้ น้ำเต้าหู้ และกล้วย 


ส่วนวิธีแก้ การเป็นตะคริว 

-ให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หากเป็นที่น่องให้กระดกขาขึ้นค้างเอาไว้สักพัก กล้ามเนื้อที่เกร็งจะค่อย ๆ คลายตัวลง 

-นวดเบา ๆ แต่ไม่ควรกด เพราะจะยิ่งเจ็บ 

-ประคบเย็นตรงที่มีอาการปวด จะช่วยให้หายเร็วขึ้น โดยทั่วไปเมื่อพักแล้วตะคริวจะหายได้เองใน 5 นาที หรือภายหลังการยืดเหยียด 2-3 นาที


ขอบคุณข้อมูลจาก ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 
กราฟิก TNN16

ข่าวที่เกี่ยวข้อง