รีเซต

ผลสำรวจสุขภาพคนไทย พบเสี่ยงสุขภาพจากการบริโภคโซเดียมเกินกว่าเกณฑ์ 2 เท่า

ผลสำรวจสุขภาพคนไทย พบเสี่ยงสุขภาพจากการบริโภคโซเดียมเกินกว่าเกณฑ์ 2 เท่า
TNN ช่อง16
10 สิงหาคม 2567 ( 11:52 )
29

เครือข่ายพันธมิตรลดบริโภคเค็ม เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ   / กองควบคุมโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข / มหาวิทยาลัยมหิดล / และสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกันผลักดันเครื่องตรวจวัดปริมาณโซเดียมในอาหาร จากมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีการวิจัยและพัฒนามากกว่า 5 ปี  ได้มีการนำไปให้ บุคลากร ทาง การ แพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการนำไปสุ่ม ตรวจวัด ปริมาณโซเดียมในอาหารพื้นที่ต่างๆ เพื่อควบคุมการบริโภคเค็มในแต่ละวัน  // ซึ่งเครื่องดังกล่าวจะมีความแตกต่างจากเครื่องวัดความเค็มจากต่างประเทศเพราะมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับการตรวจวัดความเค็มในอาหารไทยที่มีค่าเกลือและไขมันสูง

นาย แพทย์ กฤษฎา  หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงการสำรวจปริมาณโซเดียม ในอาหาร ว่า เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ ลดการบริโภคเกลือและโซเดียม ในประเทศไทย   เริ่มตั้งแต่ปี 2559   ถึง 2568 เพื่อเฝ้าระวังข้อมูลและติดตามประเมินผล ภายใต้รูปแบบดำเนินงาน สำรวจปริมาณโซเดียมในอาหารระดับจังหวัด  ซึ่งทางกรมควบคุมโรคได้ดำเนินการสำรวจปริมาณโซเดียมในอาหารมาตั้งแต่ปี 2563 โดยมีแผนสำรวจปริมาณโซเดียมให้ ครอบคลุม 77 จังหวัด ในปี 2568 ขณะนี้ ดำเนินการไปแล้ว 76 จังหวัด โดยมีการบันทึกข้อมูลตัวอย่างอาหารและผลการตรวจวัดจัดทำเป็นฐานข้อมูลปริมาณโซเดียมในอาหารของประเทศไทยผ่านแอพพลิเคชั่น ของกรมควบคุมโรคโดยกองโรคไม่ติดต่อ

 

ทั้งนี้ ผลการสำรวจ บริโภคโซเดียม ของ คนไทย พบว่า ได้รับโซเดียม จาก อาหาร ที่บริโภคเฉลี่ย 3,636 มิลลิกรัม ต่อวัน หรือ 1.8 ช้อนชา ซึ่งมากกว่าคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่าประชาชนควรได้รับโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน // ซึ่งการได้รับโซเดียมในปริมาณที่สูงเกินกว่าคำแนะนำมีผลโดยตรง ต่อการก่อเกิดโรค เช่นโรคความดันโลหิตสูงทำให้ไตเสื่อมเร็วเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสโตรค  ซึ่งล้วนเป็นโรคในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในคนไทยอายุ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งไทยตั้งเป้าในปี 2568 ต้องทำให้ประชาชนบริโภคโซเดียมลดลงอยู่ที่ 3,200 มิลลิกรัม ต่อวัน และจากการสำรวจเก็บข้อมูล ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่บริโภคเค็ม พบว่าคนไทยป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคโซเดียมถึง 22  ล้านราย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และ โรคไต โดยปัจจุบันพบคนไข้ป่วยเป็นโรคไตหรือไตวายอายุน้อยลงอยู่ที่ 35–40 ปี จากเดิมที่อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 50–60

ด้านข้อมูลจากสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร สุ่มตรวจอาหารที่มีเพื่อหาปริมาณโซเดียมสูง โดย อันดับแรก จากการสำรวจ ที่พบปริมาณโซเดียมมากเป็นอันดับ 1 คือ อาหาร ประเภท ยำ พล่า น้ำตก  อันดับ ส้ม ตำ   อันดับ แกงไม่มีกะทิใส่เครื่อง แกง อันดับ ต้มยำ และ อันดับ ก๋วยเตี๋ยว

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง