รีเซต

งานวิจัยใหม่เผย ขั้วโลกเหนือร้อนขึ้นอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์โรคระบาด

งานวิจัยใหม่เผย ขั้วโลกเหนือร้อนขึ้นอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์โรคระบาด
TNN ช่อง16
20 ตุลาคม 2565 ( 13:20 )
82

นักวิจัยได้เริ่มต้นศึกษาชั้นดินและตะกอนในทะเลสาบฮาเซน (Hazen) ซึ่งเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ที่สุดในรัศมีเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล (Arctic Circle) และใช้การจำแนกดีเอ็นเอ (DNA) และ (RNA) เพื่อค้นหาต้นตอการเกิดไวรัสในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน

โดยทีมนักวิจัยใช้อัลกอริธึมของคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความเสี่ยงการแพร่ระบาดของไวรัสและพาหะ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ พวกเขามุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการแพร่พันธุ์ไปยังโฮสต์สปีชีส์ใหม่ ๆ และความสามารถในการแพร่ระบาดต่อ 

โดยได้ข้อสรุปว่า "ความเสี่ยงของการแพร่ระบาด เพิ่มขึ้นตามอัตราการไหลบ่าของธารน้ำแข็งที่ละลาย ซึ่งเป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่อาจเปลี่ยนช่วงสายพันธุ์ของพาหะนำโรค และพาไวรัสที่มีความสามารถในการแพร่ระบาดขึ้นไปทางเหนือ เขตอาร์กติกเหนืออาจกลายเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับโรคระบาดสายพันธุ์ใหม่"


อย่างไรก็ตาม นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าความเสี่ยงของการเกิดโรคระบาดรุนแรงดังกล่าวยังคงต่ำอยู่ แต่พวกเขากำลังมุ่งเน้นที่การจัดการความเสี่ยงของการแพร่ระบาดที่อาจเกิดขึ้น

“โดยรวมแล้ว เราสร้างการประเมินความเสี่ยงการแพร่ระบาดแบบใหม่ ซึ่งไม่เหมือนกับการป้องกันสถานการณ์โรคระบาดแบบที่เคยเป็นมา เพราะเราจะใช้ไวรัส และกลุ่มพาหะที่เรารู้จักมาเป็นตัวกำหนด เพราะตราบใดที่ไวรัสและพาหะ ไม่ได้ปรากฏตัวพร้อมกันในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาด ยังคงอยู่ในระดับต่ำ” นักวิจัยอธิบายในเอกสารของพวกเขา


ที่มาของรูปภาพ Reuters


อย่างไรก็ตาม เหล่านักวิจัยจะระบุว่า พวกเขาต้องทำงานให้มากขึ้นเพื่อตรวจสอบการละลายของชั้นน้ำแข็งบริเวณเขตอาร์กติก และการเกิดขึ้นของไวรัสใหม่ ๆ โดยเฉพาะหากภาวะโลกร้อน จะทำให้ประชากรต้องย้ายไปทางเหนือเพื่อหลีกเลี่ยงอุณหภูมิที่สูงมากขึ้น ยิ่งทำให้มนุษย์ใกล้ชิดกับทั้งประชากรสัตว์และแหล่งกำเนิดของไวรัสใหม่ ๆ ในแถบอาร์กติก


“ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์และการกระจายพันธุ์เชื้อไวรัส การเกิดพาหะใหม่ยังคงสามารถเกิดขึ้นได้ โดยอาจมีพาหะนำโรคมาคลุกคลีกับไวรัส ดังที่การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เน้นย้ำถึงผลกระทบที่มากขึ้นของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งการเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดและนำไปสู่การข้ามสายพันธุ์ทางเหนือ และอาจส่งผลกระทบอย่างมากในแถบอาร์กติกเหนือ" นักวิจัยสรุป

ขั้วโลกเหนือ หรืออาร์กติกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากภาวะโลกร้อน โดย 1 ใน 3 ของน้ำแข็งฤดูหนาวในมหาสมุทรอาร์กติกละลายหายไปในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา จากการศึกษาพบว่า อาร์กติกอุ่นขึ้นเร็วกว่าส่วนอื่น ๆ ของโลกเกือบสี่เท่าในช่วง 43 ปีที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่า นับแต่ปี 1980 ถึงปัจจุบัน อาร์กติกอุ่นขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 3 องศาเซลเซียส 

ดังนั้น ภัยคุกคามใหม่จากโรคระบาดที่อาจอุบัติใหม่ เป็นการย้ำเตือนว่า มนุษย์อาจจำเป็นต้องจัดการภาวะโลกร้อนโดยเร็ว 


ที่มาของข้อมูล interestingengineering.com

ที่มาของรูปภาพ Reuters

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง