วิธีดูแลตัวเองเมื่อ “ติดโควิด แต่เตียงเต็ม” ต้องทำยังไง?
เมื่อกรุงเทพฯ ปริมณฑล และ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ประกาศ “ล็อกดาวน์” เป็นที่เรียบร้อย เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ยังคงระบาดอย่างหนัก จึงต้องควบคุมสถานที่เสี่ยงต่างๆ เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อลง ทำให้การดูแลตัวเองในช่วงที่โควิดระบาดทั่วประเทศเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหากติดโควิดในช่วงนี้ มักไม่มีเตียงรักษา และแพทย์หลายคนเริ่มออกมากล่าวถึง “วิกฤตเตียงไม่พอ” ทำให้เราต้องพร้อมรับมือเสมอหากเกิดติดโควิดขึ้นมา
วันนี้ TrueID ได้รวบรวมข้อปฏิบัติเมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์ติดโควิด-19 แต่ไม่มีเตียงรักษา ต้องรอเตียงและกักตัวอยู่ที่บ้าน ต้องเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง เพื่อไม่นำเชื้อโควิด-19 ไปแพร่ผู้อื่น
เช็กตัวเองว่าติดโควิด-19 รึเปล่า
อาการของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ระลอกใหม่)
ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อยไปถึงระดับความรุนแรงมาก
- มีไข้ (ไข้สูงติดต่อกัน 48 ชั่วโมง)
- ไอแห้ง
- ไอมีเสมหะ
- ไม่มีเรี่ยวแรง หอบเหนื่อย
- หายใจลำบาก
- เจ็บคอ
- ปวดหัว
- จมูกไม่ได้กลิ่น
- อ่อนเพลีย
อาการทางผิวหนัง
- มีผื่นแดงลักษณะคล้ายตาข่ายหรือเส้นใยเล็กๆ
- มีจุดเลือดออก
- มีผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ
- บางรายมีลักษณะกลุ่มของตุ่มน้ำคล้ายโรคสุกใส
- เกิดอาการฉับพลัน ร่วมกับอาการมีไข้ ไอ จาม และระบบทางเดินหายใจอื่นๆ
- สายพันธุ์ระลอกใหม่ ส่งตรงจากอังกฤษ
ติดโควิดแล้วทำยังไง?
8 ข้อปฏิบัติเมื่อรู้ว่าติดโควิด
1. เตรียมเอกสารที่ต้องใช้
- บัตรประจำตัวประชาชน และผู้อื่น
- ผลตรวจโควิด-19
2. แจ้งเบอร์โทรศัพท์ของตนกับหน่วยงานที่รับเรื่องเพื่อเข้ารับการรักษา
โทร. 1330
โทร. 1669
โทร. 1668
3. งดออกจากที่พักหรือเดินทางข้ามจังหวัด
หากฝ่าฝืน ถือว่ามีความผิด พรบ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 34
4. งดใกล้ชิดครอบครัวและผู้อื่น
5. แยกห้องน้ำ (ถ้าทำได้)
6. กรณีที่มีอาการไข้
- ให้รับประทานยาพาราฯ
- เช็ดตัวเพื่อลดไข้
7. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
8. แยกของใช้ส่วนตัว
วิธีดูแลตัวเอง แบบง่าย ๆ ยังไงให้ "รอด" เมื่อเตียงเต็ม
ไข้ขึ้น> 37.5 C
- พักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชม. ต่อวัน
- ดื่มน้ำเรื่อย ๆ เมื่อดื่มเพียงพอ ปัสสาวะจะเป็นสีเหลืองอ่อน
- รับประทานยาพาราเซตามอล ทุก 4-6 ชั่วโมง ครั้งละ 1 เม็ด หรือตาม นน.
- เช็ดตัว บริเวณคอ ข้อพับต่างๆ
อาการไอ
- เลี่ยงการนอนราบ ให้นอนตะแคง หรือ นอนหมอนสูง
- รับประทานยาแก้ไอ หรือยาอมบรรเทาอาการไอ
- จิบน้ำผึ้งผสมน้ำอุ่น ห้ามให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 12 เดือนเด็ดขาด
อาการหายใจลำบาก หายใจไม่สะดวก
- เปิดหน้าต่าง อยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเท
- หายใจช้า ๆ ลึก ๆ ทางจมูกและปาก เหมือนกำลังจะเป่าเทียน
- นั่งตัวตรง ไม่นั่งหลังค่อม ผ่อนคลายบริเวณหัวไหล่
- เอนตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย โดยใช้มือวางบนหน้าขาทั้งสองข้างและหายใจลึก ๆ ยาวๆ
- พยายาม อย่าเครียด ตื่นตกใจ
- เวลานอน ให้นอนตะแคง หรือนอนหมอนสูง
อาการท้องเสีย และอาเจียน
- งดอาหารประเภท นมโยเกิร์ต ผลไม้สด และอาหารย่อยยาก
- ชงเกลือแร่ ORS ผสมน้ำต้มสุก น้ำสะอาด จิบเรื่อย ๆ ทั้งวัน (ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตและโรคหัวใจควรปรึกษาแพทย์ก่อน)
- ถ้ารับประทานอาหารไม่ได้ ให้รับประทานน้อยๆ แต่บ่อยๆ
11 ข้อปฏิบัติ ขณะรอรถมารับไป รพ.
ทั้งนี้ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แนะ 11 วิธีดูแลตัวเองอยู่บ้าน เมื่อติดโควิด 19 ก่อนเข้า รพ. ในกรณีที่จำเป็นต้องดูแลตัวเองท้าน ในขณะที่รอการรับการรักษาที่ รพ. ได้แก่
1.กักตัวในห้องแยกจากผู้อื่น ไม่อยู่กับใคร ในห้องแอร์ หากจเป็นต้องอยู่ห้องกับใครให้เปิดหน้าต่างไว้ให้อากาศถ่ายเท
2.สวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาที่ออกมานอกห้องหรือต้องเข้าใกล้ผู้อื่น
3.แยกของใช้ อุปกรณ์รับประทานอาหาร และแก้วน้ำ ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
4.แยกขยะ แยกการใช้ห้องน้ำ (ถ้าแยกไม่ได้ ใช้เป็นคนสุดท้ายและล้างห้องน้ำหลังใช้ทุกครั้ง)
5.ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือถูกมือด้วยเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ โดยเฉพาะหลังขับถ่าย
6.ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่สุด สะอาด ตามหลักโภชนาการ ทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง
7.ทำจิตใจให้สบาย ลดวิตกกังวล
8.สั่งสินค้า Delivery มาอย่าลืมใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ
9.เมื่อใช้ลิฟต์ พกปากกา ไม้ลูกชิ้น เป็นที่กดลิฟต์ ไม่ยืนพิงลิฟต์หรือสัมผัสลิฟต์
10.หากมีอาการป่วย เกิดขึ้นใหม่ หรืออาการเดิมมากขึ้น เช่น ไข้สูง ไอมาก เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ หายใจไม่สะดวก เบื่ออาหาร ให้ติดต่อสายด่วน 1669 , 1668 , หรือโหลดแอปฯ EMS 1669 เพื่อกดเรียกรถพยาบาลกรณีฉุกเฉิน
11.กรณีอยู่บ้านหรือคอนโด กรุณาแจ้งนิติบุคคล
ข้อมูลจาก เพจเราต้องรอด , สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- อัพเดท “อาการโควิด-19” อาการเดิม vs อาการระลอกใหม่!
- ติดโควิด-19 แต่ยังไม่ได้ไปหาหมอ ต้องกักตัวอย่างไร?
- How To กักตัว 14 วัน ป้องกันโควิด เราติดหรือยังนะ?
- วิธีสังเกตอาการ นี่เราเป็นไข้เลือดออก หรือ ติดโควิด-19 ?
- อาการแบบนี้ ติดโควิดสายพันธุ์ไหน? สายพันธุ์อังกฤษ-สายพันธุ์อินเดีย-สายพันธุ์แอฟริกาใต้
- จับตา! ความน่ากลัวของโควิดสายพันธุ์อินเดีย-เดลต้า ระบาดหนักทั่วโลก