รีเซต

สหรัฐฯ ทุ่ม 6.9 หมื่นล้าน ติดตั้งขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกบนเรือพิฆาตล่องหน

สหรัฐฯ ทุ่ม 6.9 หมื่นล้าน ติดตั้งขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกบนเรือพิฆาตล่องหน
TNN ช่อง16
22 กุมภาพันธ์ 2566 ( 15:46 )
70
สหรัฐฯ ทุ่ม 6.9 หมื่นล้าน ติดตั้งขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกบนเรือพิฆาตล่องหน

บริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน (Lockheed Martin) เอาชนะการประมูลโครงการจัดหาและติดตั้งขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง (Hypersonic Missile) ประเภท CPS สำหรับเรือรบยูเอสเอส ซัมวอลต์ (USS Zumwalt) ต้นแบบเรือพิฆาตล่องหน (Stealth Destroyer) มูลค่า 2,000 เหรียญสหรัฐ หรือกว่า 69,300 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นความพยายามครั้งใหม่ในการเสริมประสิทธิภาพรอบใหม่ของเรือตระกูลนี้ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา


ขีปนาวุธแบบ CPS (Conventional Prompt Strike) เป็นขีปนาวุธพิสัยไกลที่มีความเร็วเหนือเสียงที่สูงเกินระดับมัค 5 หรือมากกว่า 6,125 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีเป้าหมายให้สามารถโจมตีเป้าหมายที่พิกัดใด ๆ บนโลกได้ในระยะเวลาอันสั้นที่สุด ซึ่งโครงการนี้จะนำมาติดตั้งให้กับเรือตระกูลยูเอสเอส ซัมวอลต์ (USS Zumwalt) โดยร่วมกับบริษัท นอร์ธทอร์ป กรัมแมน (Northrop Grumman) และเจเนอรัล ไดนามิกส์ (General Dynamics) ร่วมกันสร้างระบบต่าง ๆ ของขีปนาวุธ เช่น ระบบแท่นยิง, ระบบควบคุมการยิง และระบบควบคุมอาวุธ เป็นต้น


ความพยายามมูลค่า 69,300 ล้านบาท เป็นหนึ่งในโครงการที่อาจต้องการปรับเปลี่ยนภาพจำของเรือยูเอสเอส ซัมวอลต์ ที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติกับพลเรือเอก เอลโม่ ซัมวอลต์ (Admiral Elmo Zumwalt) ในฐานะเรือรบยุคใหม่ที่เคยเคลมว่าเป็นเรือพิฆาตล่องหนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา แต่กลับประสบปัญหาระบบการยิงและขับเคลื่อนขัดข้องในบริเวณคลองปานามา (Panama Canal) ในปี 2016 และยังมีปัญหาเรื่องงบประมาณทั้งโครงการที่พุ่งสูงถึงลำละ 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือสูงกว่า 2 แสนล้านบาท 


การติดตั้งขีปนาวุธ CPS ของบริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน (Lockheed Martin) ให้กับเรือยูเอสเอส ซัมวอลต์ คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงกลางทศวรรษนี้ หรือประมาณปี 2025 ก่อนจะทดสอบการใช้งานต่อไป


ที่มาข้อมูล New AtlasBusiness Insider

ที่มารูปภาพ Lockheed Martin

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง