4 นักดาราศาสตร์ชื่อก้องโลก
พามารู้จัก 4 นักดาราศาตร์ ที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานฟิสิกส์ดาราศาสตร์ยุคใหม่ ซึ่งทำให้มนุษย์สามารถยิงจรวดส่งยานอวกาศออกไปสำรวจนอกโลกได้ในทุกวันนี้
กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)
กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) เป็นนักดาราศาสตร์, นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอิตาลี เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1564 และเสียชีวิตในวันที่ 8 มกราคม 1642 โดยเขามีผลงานสำคัญคือการค้นพบดวงจันทร์ทั้ง 4 ของดาวพฤหัสบดี ซึ่งได้รับเกียรติเรียกว่า “ดวงจันทร์กาลิเลียน (Galiliean Moons)” ตามชื่อของกาลิเลโอ กาลิเลอี อันได้แก่ ไอโอ (Io), ยูโรปา (Europa), แกนีมีด (Ganymede) และคาลิสโต (Callisto)
นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ค้นพบว่าดาวศุกร์โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งกลายเป็นหลักฐานสำคัญที่ช่วยพิสูจน์แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus) เนื่องจากในยุคสมัยนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าโลกหรือดวงอาทิตย์กันแน่ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ
เขามักจะเฝ้ามองท้องฟ้าด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่สร้างขึ้นเอง ทำให้เขาค้นพบหลุมอากาบาตบนดวงจันทร์ ซึ่งเป็นหลักฐานที่ลบล้างแนวคิดเดิมของอริสโตเติล (Aristotle) ว่าดวงจันทร์นั้นกลมและมีผิวเรียบ
อีกทั้ง เขายังได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องไปยังทางช้างเผือกที่เห็นเป็นฝ้าบนท้องฟ้า ทำให้เขาค้นพบว่ามีดวงดาวมากมายซุกซ่อนอยู่ในทางช้างเผือก
ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton)
ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) เป็นนักฟิสิกส์, นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 1642 และเสียชีวิตในวันที่ 31 มีนาคม 1727
โดยเขามีผลงานสำคัญคือการค้นพบว่าแสงขาวจากดวงอาทิตย์ประกอบด้วยแสงสีต่าง ๆ ซึ่งเขาทำการทดลองด้วยการให้แสงเดินทางผ่านปริซึม
นอกจากนี้ ในปี 1668 เขายังได้ผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงขึ้นมา ซึ่งเป็นการใช้กระจกทรงโค้งแทนการใช้เลนส์
โดยไอแซก นิวตันเป็นที่รู้จักในนามผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งเขาได้เขียนกฎของแรงโน้มถ่วงและกฎการเคลื่อนที่ 3 ข้อ อีกทั้งยังสามารถนำมาอธิบายการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์, การโคจรของดวงจันทร์และปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง
ไม่เพียงแค่ผลงานด้านดาราศาสตร์เท่านั้น เขายังมีผลงานด้านคณิตศาสตร์ด้วย นั่นก็คือการคิดค้นแคลคูลัส
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 1879 และเสียชีวิตในวันที่ 18 เมษายน 1955 โดยเขามีผลงานสำคัญคือการคิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปและทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ หรือที่รู้จักกันในนามสมการเลื่องชื่อ E = mc2
นอกจากนี้เขายังได้ตีพิมพ์บทความสำคัญอีก เช่น บทความเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของบราวน์ที่กลายเป็นหลักฐานสนับสนุนทฤษฎีอะตอม และบทความเกี่ยวกับธรรมชาติเฉพาะตัวของแสงที่กลายเป็นหลักฐานสนับสนุนแนวคิดของแมกซ์ พลังค์ (Max Planck)
โดยเขาได้คิดค้นทฤษฎีแรงเอกภาพขึ้นมาในปี 1950 ซึ่งกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับทฤษฎีฟิสิกส์ยุคใหม่ในภายหลัง
ชาร์ลส์ เมสซิเออร์ (Charles Messier)
ชาร์ลส์ เมสซิเออร์ (Charles Messier) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 1730 และเสียชีวิตในวันที่ 12 เมษายน 1817 โดยเขามีผลงานสำคัญคือการค้นพบดาวหาง 13 ดวง และร่วมค้นพบดาวหางซี/1801 เอ็น1 (C/1801 N1) กับผู้สังเกตการณ์หลายคน
นอกจากนี้ เขายังได้ตีพิมพ์หนังสือที่เชื่อมโยงดาวหาง 1769 กับการเกิดของนโปเลียน (Napoleon) ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าเขาเขียนหนังสือเล่มนี้ เพื่อการสนับสนุนทางการเงินจากนโปเลียน
โดยเขาได้ตีพิมพ์แคตตาล็อกวัตถุในเอกภพเมื่อปี 1784 ซึ่งมีจำนวนดวงดาวและเนบิวลาทั้งหมด 110 รายการ และมันได้กลายเป็นรากฐานของแคตตาล็อกวัตถุในเอกภพที่นักดาราศาสตร์ใช้กันในปัจจุบันนี้
ข้อมูลจาก Wikipedia