รีเซต

"ทรัมป์" ลงนามคว่ำบาตรศาลอาญาระหว่างประเทศ

"ทรัมป์" ลงนามคว่ำบาตรศาลอาญาระหว่างประเทศ
TNN ช่อง16
12 มิถุนายน 2563 ( 10:07 )
124
"ทรัมป์" ลงนามคว่ำบาตรศาลอาญาระหว่างประเทศ

วันนี้( 12 มิ.ย.63) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐ ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดี อนุมัติการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและห้ามเดินทางเข้าสหรัฐ ต่อเจ้าหน้าที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ศาลไอซีซี ณ กรุงเฮ้ก ประเทศเนเธอร์แลนด์ หลังศาลไอซีซีเปิดฉากสอบสวนว่า กองกำลังสหรัฐก่ออาชญากรรมสงครามในอัฟกานิสถานหรือไม่

 

โดยไมค์ พอมเพโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ซึ่งเป็นผู้นำทีมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐในการแถลงข่าวการคว่ำบาตรศาลไอซีซีครั้งนี้ กล่าวหาศาลไอซีซี กำลังรุกล้ำอำนาจอธิปไตยของสหรัฐ และประณามว่าเป็น “ศาลเตี้ย” และยังกล่าวหารัสเซียชักใยอยู่เบื้องหลังศาลดังกล่าว

 

การแถลงข่าวครั้งนี้มี 4 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลสหรัฐเข้าร่วม นอกจากพอมเพโอแล้วยังมี มาร์ค เอสเปอร์ รัฐมนตรีกลาโหม , โรเบิร์ต โอเบรียน ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติและวิลเลียม บาร์ รัฐมนตรียุติธรรม พร้อมกันนี้ยังเตือนไปถึงชาติพันธมิตรที่อยู่ในองค์กรนาโต้ด้วยกัน ซึ่งส่งทหารไปปฏิบัติการในอัฟกานิสถานเช่นเดียวกับสหรัฐว่า อาจจะเป็นรายต่อไปถัดจากสหรัฐที่จะถูกศาลไอซีซีสอบสวนเรื่องการก่ออาชญากรรมสงครามในอัฟกานิสถาน

 

ด้าน สเตฟ บล็อก รัฐมนตรีต่างประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่ตั้งของศาลไอซีซีและยังเป็นชาติสมาชิกนาโต้ด้วยแสดงความรู้สึก “ไม่สบายใจ” ที่สหรัฐคว่ำบาตรศาลไอซีซีและยืนยันว่า เนเธอร์แลนด์ยังคงสนับสนุนศาลไอซีซี ซึ่งมีความสำคัญในการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ

 

ส่วนมาตรการคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ของศาลไอซีซี ได้แก่ การอายัดทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ศาลไอซีซี ที่อยู่ในสหรัฐและการห้ามเจ้าหน้าที่ศาลไอซีซีและครอบครัวเดินทางเข้าสหรัฐ โดยมาตรการคว่ำบาตรนี้ยังรวมไปถึงใครก็ตามที่มีส่วนช่วยศาลไอซีซีในการสอบสวนหรือดำเนินคดีกับพลเมืองสหรัฐ โดยปราศจากความยินยอมจากรัฐบาลสหรัฐ

 

อย่างไรก็ตามสหรัฐไม่ได้เป็นสมาชิกศาสไอซีซี ส่วนทางด้านอัฟกานิสถานเป็นสมาชิกศาลไอซีซี แต่รัฐบาลอัฟกานิสถานระบุว่า ต้องการดำเนินคดีอาชญากรรมสงครามด้วยตัวเอง

 

สำหรับคดีของสหรัฐครั้งนี้ ศาลไอซีซีได้ตัดสินเมื่อปี 2560 ว่า ศาลมีขอบเขตอำนาจที่จะสอบสวนว่า มีการก่ออาชญากรรมสงครามเกิดขึ้นในอัฟกานิสถานหรือไม่ ในช่วงระหว่างปี 2546 – 2557 ซึ่งมีตั้งแต่การทรมานนักโทษโดยรัฐบาลอัฟกานิสถานเอง โดยกองกำลังของสหรัฐ และสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ หรือซีไอเอ 

 

ศาลไอซีซี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2545 โดยประชาคมโลกเพื่อทำหน้าที่ดำเนินคดีอาชญากรรมสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ศาลนี้จะมีขอบเขตอำนาจศาลในการดำเนินคดีก็ต่อเมื่อชาติสมาชิกไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจ ที่จะดำเนินคดีเหล่านั้นด้วยตนเอง 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตร.สหรัฐฯฉาวอีก! ผลักชายชราล้มหัวฟาดเลือดนองพื้น

ผลชันสูตรเผย "จอร์จ ฟลอยด์" ติดโควิด ก่อนเสียชีวิต

สหรัฐเพิ่มโทษหนัก อดีตตร.เอี่ยวการตาย "จอร์จ ฟลอยด์" จำคุกสูงสุด 40 ปี

ตั้งข้อหาฆาตกรรม ตร.ผิวขาวใช้เข่ากดคอ จอร์จ ฟลอยด์ เสียชีวิต

ใช้กำลังเกินกว่าเหตุ! ผลชันสูตรศพ "จอร์จ ฟลอยด์" ขาดอากาศหายใจ

 

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online

ข่าวที่เกี่ยวข้อง