รีเซต

เจาะโครงสร้างสถานีอวกาศเทียนกงของประเทศจีน

เจาะโครงสร้างสถานีอวกาศเทียนกงของประเทศจีน
TNN ช่อง16
22 พฤศจิกายน 2565 ( 09:51 )
130
เจาะโครงสร้างสถานีอวกาศเทียนกงของประเทศจีน

สถานีอวกาศเทียนกง (Tiangong space station) เป็นสถานีอวกาศของประเทศจีน ดำเนินการโดยองค์การอวกาศแห่งประเทศจีน (China Manned Space Agency) โคจรในวงโคจรระดับต่ำของโลกที่ระดับความสูง 340 - 450 กิโลเมตร เหนือพื้นผิว

โมดูลหลัก 3 โมดูล 


- โมดูลเทียนเหอ (Tianhe) ที่เป็นโมดูลหลัก มีน้ำหนัก 22,600 กิโลกรัม, เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.2 เมตร และยาว 16.6 เมตร ถูกส่งขึ้นไปประจำการเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2021 โดยภายในประกอบไปด้วย ห้องนั่งเล่น, ส่วนบริการ และส่วนเชื่อมต่อ


- โมดูลเหวินเถียน (Wentian) ที่เป็นโมดูลการทดลอง มีน้ำหนัก 23,200 กิโลกรัม, เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.2 เมตร และยาว 17.9 เมตร ถูกส่งขึ้นประจำการเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2022 โดยเป็นโมดูลการทดลองแรกที่เป็นโมดูลสำรองของโมดูลหลักด้วยความสามารถในการควบคุมและการจัดการสถานีอวกาศ มีแขนหุ่นยนต์นอกโมดูลยาว 5 เมตร และอีวีเอ แอร์ล็อก (EVA Airlock) ซึ่งทำหน้าที่เป็นทางออกหลักของสถานีสำหรับการเดินในอวกาศในอนาคต และแขนหุ่นยนต์ยาว 5 เมตร


- โมดูลเหมิงเถียน (Mengtian) ที่เป็นโมดูลการทดลอง มีน้ำหนัก 23,000 กิโลกรัม, เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.2 เมตร และยาว 17.9 เมตร ถูกส่งขึ้นไปประจำการเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2022 มีระบบแอร์ล็อกสำหรับคาร์โกสินค้าและเพย์โหลดระบบการขนส่ง


สถานีอวกาศเทียนกง 1 (Tiangong 1) 

โดยก่อนหน้านี้ประเทศจีนใช้สถานีอวกาศที่ชื่อว่าเทียนกง 1 (Tiangong 1) ก่อนที่จะยกเลิกใช้ไปในปี 2018 เนื่องจากอายุการใช้งานที่ค่อนข้างมากแล้ว แล้วจึงสร้างสถานีอวกาศเทียนกงเป็นสถานีอวกาศแห่งใหม่ ซึ่งจะใช้เป็นสถานที่สำหรับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องอาศัยปัจจัยแรงโน้มถ่วงต่ำ (Low gravity) หรืออาศัยการสัมผัสกับอวกาศโดยตรง ซึ่งสามารถใช้แขนหุ่นยนต์ในการนำชุดการทดลองไปอยู่นอกโมดูลเพื่อสัมผัสกับอวกาศโดยตรงได้ อีกทั้งยังใช้เป็นสถานที่สำหรับอยู่อาศัยชั่วคราวของนักวิทยาศาสตร์ด้วย


ข้อมูลจาก en.wikipedia.org

ภาพจาก wikipedia.org และ gettyimage.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง