รีเซต

ทำไมต้องอโหสิกรรม! เมื่อ “แม่น้องชมพู่” ไม่ขอยกโทษให้ “ลุงพล”

ทำไมต้องอโหสิกรรม! เมื่อ “แม่น้องชมพู่” ไม่ขอยกโทษให้ “ลุงพล”
Ingonn
4 มิถุนายน 2564 ( 14:23 )
290
ทำไมต้องอโหสิกรรม! เมื่อ “แม่น้องชมพู่” ไม่ขอยกโทษให้ “ลุงพล”

จากกรณีอนุมัติหมายจับนายไชย์พล วิภา หรือลุงพล ผู้ต้องหาในคดีฆ่าน้องชมพู่ ที่ผ่านมา ซึ่งตอนนี้ฝากขังระหว่างการสอบสวนที่ศาลจังหวัดมุกดาหาร ทำให้ใครๆหลายคนสะเทือนใจกับคดีนี้มากขึ้น โดยเฉพาะแม่ของน้องชมพู่ที่เสียใจมากกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น และวันนี้จะไปยื่นค้านประกันตัว ‘ลุงพล’ อีกด้วย

 

 

 

หลังจากศาลจังหวัดมุกดาหาร ได้อนุมัติหมายจับนายไชย์พล วิภา หรือลุงพล ผู้ต้องหาในคดี เลขหมายจับที่ 53/2564 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ใน 3 ข้อหา คือพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากบิดามารดา โดยปราศจากเหตุอันควร, ทอดทิ้งเด็กอายุไม่เกินเก้าปี เพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสียจากตน โดยประการที่ทำให้เด็กนั้นปราศจากผู้ดูแล เป็นเหตุให้เด็กถึงแก่ความตาย, และกระทำการใดๆแก่ศพหรือสภาพแวดล้อมในบริเวณที่พบศพ ก่อนการชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้น ในประการที่น่าจะทำให้การชันสูตรพลิกศพหรือผลทางคดีเปลี่ยนแปลง

 

 

 

นางสาวิตรี วงษ์ศรีชา แม่น้องชมพู่ ยอมรับ รู้สึกดีใจที่ตำรวจสามารถจับกุม ผู้ก่อเหตุฆ่าน้องชมพู่มาดำเนินคดีได้สำเร็จ สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ที่ลุงพลกลายเป็นผู้ต้องหา ลุงพลต้องชดใช้กรรมที่เกิดขึ้น ส่วนน้องชมพู่ น้องได้รับความยุติธรรมแล้วและพ่อกับแม่ก็ได้พ้นมลทินและทำให้สังคมรับรู้ได้แล้วว่า เราไม่ได้ทำร้ายลูก เราไม่ได้ฆ่าลูก เพราะน้องชมพู่ คือลูกที่รอคอยให้เกิดกับเรา จึงอยากให้สังคมมองครอบครัวเราใหม่ด้วย หลังจากนี้ตนและครอบครัวของลุงพล คงมองหน้ากันไม่ได้อีกต่อไปเพราะเขาไม่มีค่าอะไร ตอนนี้อยากรู้ว่าเพราะอะไรทำไมลุงพลถึงได้ก่อเหตุ พร้อมทั้งยืนยันขอไม่อโหสิกรรมหรือให้อภัยกับการกระทำของลุงพล

 

 


ในชีวิตของคนเราเวลา พบกับอุปสรรคต่างๆ ก็มีความเชื่อกันว่า อาจจะเป็นวิบากกรรมที่ได้เคยทำไว้แต่ชาติปางก่อนส่งผล เมื่อเวลาอยากหมดผลกรรมกับใครมักจะให้อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน เพื่อให้หมดเวรหมดกรรมต่อกันไป วันนี้ TrueID จึงจะขอพาทุกคนมาทำความเข้าใจว่า การอโหสิกรรมคืออะไร เป็นผลดีไหม หากจะอโหสิกรรมให้ใครสักคนที่ทำร้ายเรา

 

 


การขออโหสิกรรมคืออะไร  


อโหสิกรรม คือ กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ที่เลิกให้ผล เหมือนพืชที่หมดยาง เพาะปลูกไม่ขึ้นอีก
 

 

คำว่า อโหสิกรรม มาจากคำ 2 คำ คือ 


- อโหสิ เป็นคำภาษาบาลีแปลว่า “ได้มีแล้ว” หมายความว่า ได้ให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว 


- กรฺม ซึ่งเป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า การกระทำ หมายถึง การกระทำที่มีเจตนา 


แปลรวมกันว่า กรรมที่ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมอีกต่อไป 


ในภาษาไทยคำว่า อโหสิกรรม มีความหมายว่า การเลิกแล้วต่อกัน การไม่เอาโทษกัน การเลิกจองเวรกัน 
 

 

 

ข้อดีของการอโหสิกรรม


ตามหลักพระพุทธศาสนา เชื่อว่า  


1.กรรมเบาบาง อยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น สำเร็จในชีวิตนี้ และส่งผลชีวิตหน้า 


บุคคลที่ทำกรรมดีหรือกรรมชั่วโดยมีเจตนาในการทำกรรมนั้น จะต้องได้รับผลกรรมตามสมควรแก่การกระทำของตน คนที่ทำร้ายผู้อื่นคนที่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวงก็จะได้รับผลกรรมนั้น หรือแม้ไม่ได้รับกรรมในชาตินี้ กรรมก็จะติดตามไปส่งผลในชาติหน้า 

 

แต่กรรมที่ทำไว้นั้นถ้าเป็นกรรมเบาอาจจะไม่ส่งผลก็ได้ หากทำให้กรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม 

 

เมื่อได้ประพฤติล่วงเกินผู้อื่น ก็ควรขอให้ผู้นั้นยกโทษให้ และในทำนองเดียวกันหากมีผู้มาขออโหสิกรรมจากเรา ก็ควรยกโทษให้ ไม่อาฆาต พยาบาท จองเวรกัน เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ก็จะก่อให้เกิดความรักใคร่กัน และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

 

 

2. อานิสงส์สูง เพราะละการยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ยกระดับก้าวสู่มรรคผลนิพพาน


อโหสิกรรมหรืออภัยทาน-สามารถทำได้จากความเมตตาที่มีอยู่เพียงพอในจิตใจ จึงมีอานิสงส์ใกล้เคียงกับธรรมทาน ที่ถือว่ามีอานิสงส์สูง เพราะเป็นการให้ปัญญา-แสงสว่างเพื่อพัฒนาจิตใจของผู้อื่นให้ก้าวหน้าไปสู่มรรค-ผล-นิพพานในที่สุดต่อไปตามวาสนาบารมีแห่งตน

 

 

 

วิธีการขออโหสิกรรม 


1.การอโหสิร่วมกัน 


เป็นการกล่าวทั้งสองฝ่าย เพื่อให้อีกฝ่ายรับรู้ ถึงการอโหสิอย่างบริสุทธิ์ใจเท่าไหร่ ยิ่งจิตใจมั่นคงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งขาดจากเวรได้เด็ดขาดเท่านั้น ถ้าเจอกันใหม่ ก็คงเจอด้วยความรู้สึกด้านดี


 

2.การอาศัยสัจจวาจาในการทำบุญร่วมกัน 


เมื่อทำบุญใหญ่ร่วมกันแล้วอ้างบุญใหญ่ที่ทำร่วมกันว่า ทำด้วยใจมีไมตรีต่อกัน ขอให้อานิสงส์ จงช่วยล้างเวรภัยระหว่างกัน หากกำลังบุญนั้นถึงพร้อม (เช่น ถวายสังฆทานกับพระอริยสงฆ์) ก็จะทำให้เกิดความอบอุ่น เบิกบานใจร่วมกัน โดยผ่านพ้นแรงอาฆาตเก่า ๆ ได้ จะรู้สึกกันเดี๋ยวนั้นว่า หมดภัยหมดเวรต่อกันแล้ว

 

 
3.การขอโทษ และยกโทษให้จากใจจริง


เมื่อเกิดการประพฤติล่วงเกินผู้อื่นด้วยกาย วาจา หรือใจ แล้วไปขอให้ผู้ที่เราประพฤติล่วงเกินยกโทษให้ เมื่อท่านยกโทษให้แล้วก็ถือว่ากรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม ไม่ให้ผลอีกต่อไปทั้งในชาตินี้และชาติหน้า 

 

 

 

ความจริงใจในการอโหสิกรรม


ความสำคัญของความสมัครใจ / ความจริงใจที่จะอโหสิกรรมให้กันนั้น อยู่ที่ความคิดขออภัย ให้อภัย ไม่จองเวรซึ่งกันและกัน ซึ่งพึงระวัง เนื่องจากว่า โดยมากนั้น มักจะเป็นการขออโหสิแบบมีมานะ หรือเจือด้วยโทสะแฝงในใจลึก ๆ 


 
บางท่านเจตนาขออภัย/ขออโหสิจริง ๆ แต่แล้วในวันหนึ่ง เกิดคิดเล็กคิดน้อยขึ้นมาอีกแบบอดไม่ได้ตามประสาปุถุชน จึงมีผลให้การอโหสิกรรมนั้นให้ผลไม่เต็มที่

 


 

ถ้าขออโหสิกรรม แล้วเขาไม่ให้ทำอย่างไร


ถ้าเราเป็นฝ่ายยกโทษให้หมดอย่างไม่มีเงื่อนไข ให้อภัยจากใจบริสุทธิ์แล้ว หากเขายังมีจิตพยาบาท คิดอาฆาตต่อก็จะเหมือนกับเขาจองเวรกับความว่างเปล่า เพราะขั้วที่จะทำให้วงจรจองเวรขาดไป

 

 

 

ถ้าอโหสิกรรมให้เขาแต่เขาไม่ทราบจะสามารถหยุดการผูกเวรต่อกันได้ไหม


ไม่สามารถหยุดผูกเวรกรรมต่อกันได้ และต่อให้เขาทราบ แต่ถ้าใจไม่ยินดีไปด้วย เวรก็ไม่อาจระงับอยู่ดี แต่แง่ดีของการอโหสิให้เขานั้น คือใจคุณเองจะต่างไป ไม่ผูกพันอยู่กับเขาเพื่อความสูญเปล่าอีก   

 

ภพภูมิที่เหมาะกับผู้ให้อภัย คือภูมิของสัตบุรุษ ส่วนภูมิที่เหมาะกับผู้ไม่สำนึกผิด คือภูมิของอสัตบุรุษ 

ฉะนั้นโอกาสที่สัตบุรุษกับอสัตบุรุษจะโคจรมาพบกันก็ยากขึ้น โอกาสได้รับความเดือดร้อนจากเขาก็น้อยลง

 

 

 

จากข้อมูลข้างต้นเป็นการอ้างอิงตามหลักพระพุทธศาสนา สุดท้ายแล้วเวรนั้นจะเบาบางลงได้ เมื่อให้อภัยกันอย่างไร้เงื่อนไขและมาจากความบริสุทธิ์ใจจริง ซึ่งอย่างน้อยใจขอผู้ให้อภัยก็จะสบายมากกว่าการแบกความทุกข์ไว้เช่นเดิม

 

 

 

 

ข้อมูลจาก ข่าวสด , มติชน , ทรูปลูกปัญญา

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง