รีเซต

นักวิจัยออสเตรเลียพัฒนาโซลาร์เซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืน

นักวิจัยออสเตรเลียพัฒนาโซลาร์เซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืน
TNN ช่อง16
4 มิถุนายน 2565 ( 01:02 )
210
นักวิจัยออสเตรเลียพัฒนาโซลาร์เซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืน

ปัจจุบันการใช้งานโซลาร์เซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ถูกใช้งานมากขึ้น อย่างไรก็ตามการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยวิธีการนี้ยังมีข้อจำกัดที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงในเวลากลางวัน ล่าสุดทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ (ARC) ประเทศออสเตรเลีย พัฒนาเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ใหม่ล่าสุดสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืนซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของโซลาร์เซลล์ 


งานวิจัยโซลาร์เซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าแบบใหม่นี้ใช้หลักการทำงานของเทคโนโลยีอินฟราเรดที่ช่วยให้กล้องจับความร้อนมองเห็นวัตถุในที่มืดเวลากลางคืนโดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Thermo-Radiative Diode การเปลี่ยนความร้อนรังสีอินฟราเรดให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้า


นักวิจัยยกตัวอย่างเทคโนโลยีในอดีตที่ใช้หลักการความแตกต่างของอุณหภูมิ เช่น เครื่องยนต์ไอน้ำใช้ความแตกต่างกันของอุณหภูมิในเครื่องยนต์เพื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์แหล่งพลังงานความร้อนสำคัญที่แผ่รังสีเดินทางมายังโลกและสร้างพลังงานให้กับโลก ในขณะเดียวกันโลกที่มีพื้นผิวอบอุ่นก็แผ่รังสีอินฟราเรดจากพื้นโลกขึ้นสู่อวกาศ 


การแผ่รังสีอินฟราเรดจากพื้นโลกดังกล่าวจุดประกายให้นักวิจัยใช้เพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้า แม้ปริมาณการแผ่รังสีอินฟราเรดจากพื้นโลกจะมีปริมาณเพียงน้อยนิดและถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้เพียง 0.001% เมื่อเปรียบเทียบกับโซลาร์เซลล์ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่านี่คือจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์รูปแบบใหม่เพื่อใช้งานในเวลากลางคืนบนผิวโลก

 

เทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่มีจุดเริ่มต้นจากความพยายามเล็ก ๆ ของนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนและถูกใช้งานอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันหากค้นประวัติย้อนหลังเราจะพบว่าล้วนแล้วมีจุดเริ่มต้นจากงานวิจัยเล็ก ๆ หลายงานวิจัยถูกนำมาพัฒนาต่อยอดและกลายเป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อน โซลาร์เซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืนอาจกลายเป็นเทคโนโลยีแห่งความหวังของมนุษย์ในการพึ่งพาแหล่งพลังงานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


ที่มาของข้อมูล weforum.org

ที่มาของรูปภาพ pixabay.com


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง