วิธีคำนวณภาษีรถ 2565-2566 ผ่านออนไลน์ง่าย ๆ
ข่าววันนี้ เรื่องที่คนมีรถยนต์ ใช้รถจักรยานยนต์บนท้องถนนต้องทำเป็นประจำทุก ๆ ปี นั่นคือ การชำระภาษีรถประจำปี ชำระค่าพ.ร.บ. และชำระค่าประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ซึ่งเป็นรายจ่ายที่คนมีรถต้องเตรียมเงินสำรองไว้ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า รถยนต์ที่เราขับ รถจักรยานยนต์ที่เราขับขี่นั้น ต้องเสียเงินเท่าไหร่ วันนี้ TrueID มีวิธ๊คำนวณภาษีรถยนต์ ปี 2565-2566 ที่ผู้ใช้รถต้องรู้ จะได้เตรียมหยอดกระปุกเงินไว้แต่เนิ่น ๆ กัน
วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ 2565-2566
สำหรับอัตราการเสียภาษีรถยนต์ จะขึ้นอยู่กับประเภทรถ รุ่นรถ ขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) น้ำหนักรถ หรืออายุรถ โดยจะนำมาเป็นตัวกำหนดว่า เราต้องเตรียมเงินในการเสียภาษีประจำปีเท่าไร โดยมีวิธีคำนวณภาษีรถยนต์ของประเภทรถ ดังนี้
1. รถป้ายทะเบียน พื้นขาว ตัวหนังสือดำ
เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถกระบะ 4 ประตู รถเก๋ง ฯลฯ โดยจะมีวิธีคำนวณภาษีรถขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (cc) ตามนี้
- 600 cc แรก cc ละ 0.50 บาท
- 601 - 1,800 cc ๆ ละ 1.50 บาท
- เกิน 1,800 cc ๆ ละ 4.00 บาท
ยกตัวอย่าง รถยนต์ยี่ห้อ Toyota Camry มีความจุกระบอกสูบ 1,998cc จะมีการเรียกเก็บภาษีตามนี้
- 600 cc แรก = 300 บาท (600 x 0.5 บาท)
- 601 - 1,800 cc ต่อมา (1800 - 600 = 1,200 cc) = 1,800 บาท (1,200 x 1.50)
- 1801 - 1998 cc ต่อมา (1998 - 1800 = 198 cc) = 792 บาท (198 x 4)
รวม 3 ขั้น เป็น 600 + 1,800 + 792 = 3,192 บาท/ปี
ทั้งนี้ หากใช้งานรถยนต์ 5 ปีขึ้นไป จะมีการเสียภาษีรถยนต์ลดลงตามสัดส่วนดังนี้
- ปีที่ 6 ได้ส่วนลด 10%
- ปีที่ 7 ได้ส่วนลด 20%
- ปีที่ 8 ได้ส่วนลด 30%
- ปีที่ 9 ได้ส่วนลด 40%
- ปีที่ 10 และต่อไปจนยกเลิกการใช้ ได้ส่วนลด 50%
เมื่อคำนวณภาษี จะได้ตัวเชขที่ผู้ใช้รถยนต์ต้องจ่ายไปตามลำดับปี ดังนี้
- ปีที่ 6 ต่อภาษีรถยนต์เป็นเงิน 2,872.80 บาท
- ปีที่ 7 ต่อภาษีรถยนต์เป็นเงิน 2,553.60 บาท
- ปีที่ 8 ต่อภาษีรถยนต์เป็นเงิน 2,234.40 บาท
- ปีที่ 9 ต่อภาษีรถยนต์เป็นเงิน 1,915.20 บาท
- ปีที่ 10 และต่อไปจนยกเลิกการใช้ ต่อภาษีรถยนต์เป็นเงิน 1,596 บาท
2. รถป้ายทะเบียน พื้นขาว ตัวหนังสือเขียว
เป็นรถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง วิธีคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถตามนี้
- น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถ 751 – 1000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 600 บาท
- น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กิโลกรัม – อัตราภาษี 750 บาท
- น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 900 บาท
- น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,050 บาท
- น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,350 บาท
- น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,650 บาท
3. รถป้ายทะเบียน พื้นขาว ตัวหนังสือน้ำเงิน
เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง มีวิธีคำนวณภาษี โดยจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างจากแบบรถบรรทุก ตามนี้
- น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนักรถเกิน 1800 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,600 บาท
4. รถยนต์ไฟฟ้า
เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าไม่มีเครื่องยนต์ในการคิดอัตราค่าต่อทะเบียนประจำปี เหมือนรถยนต์ทั่วไป จึงให้มีวิธีคำนวนภาษีรถยนต์ในรูปแบบตามน้ำหนักรถยนต์เช่นเดียวกับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คนแทน
5. รถจักรยานยนต์ รถจักรยานไฟฟ้า
.ใครที่เป็นเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์ แบรนด์ค่ายรถอย่าง Honda หรือ Suzuki จะเสียค่าต่อทะเบียนประจำปีเป็นรายคัน จำนวน 100 บาทต่อปี ส่วนรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า จะถูกเรียกเก็บเพียงครึ่งเดียวนั่นคือ ปีละ 50 บาทเท่านั้น
ใครที่มีรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ เตรียมเงินสำรองไว้ต่อภาษีรถประจำปีกันได้เลย หรือหากต้องการคำนวณภาษีรถก่อนไป สามารถเข้าไปใช้โปรแกรมคำนวณภาษีออนไลน์ได้ที่นี่ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/esv/ebk/esv02q002/
ข้อมูล : กรมการขนส่งทางบก
ข่าวเกี่ยวข้อง :