รีเซต

สถานการณ์โควิด-19: เปิดกฎหมายควบคุมโรค เอาผิดปกปิดไทม์ไลน์

สถานการณ์โควิด-19: เปิดกฎหมายควบคุมโรค เอาผิดปกปิดไทม์ไลน์
TrueID
28 มกราคม 2564 ( 12:21 )
267
สถานการณ์โควิด-19: เปิดกฎหมายควบคุมโรค เอาผิดปกปิดไทม์ไลน์

จากกรณีเคสการติดเชื้อของ "ดีเจมะตูม" ที่ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อ24 ราย แล้วยังพบว่า 1 ในนั้นมีการปกปิดข้อมูลหรือไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลไทม์ไลน์การเดินทาง กับทางเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคติดต่อ จนกลายเป็นประร้อนในโลกออนไลน์ที่ออกมาเรียกร้องให้เปิดเผยความจริง และ บางส่วนออกมาให้ใช้กฎหมายจัดการ

ล่าสุด "กรมควบคุมโรค" ได้ออกมาประกาศแล้วว่าเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ให้ตรวจสอบและสามารถใช้กฎหมายกับผู้ติดเชื้อได้ ตาม .ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ. โรคติดต่อ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

 

 


จากการตรวจสอบ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 17) ที่ประกาศเมื่อวันที่  6 มกราคม 2564 ในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา พบว่า มีสาระสำคัญ 4 ข้อ ประกอบด้วย

  1. ยกระดับการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค ให้ประชาชนในพื้นที่ติดตั้งแอพพลิเคชั่น “หมอชนะ” ควบคู่การใช้แอพพลิเคชั่นไทยชนะ
  2. ยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุดที่จำเป็นต้องมีมาตรการเข้มงวดอย่างยิ่ง โดยให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเส้นทางคมนาคมและยานพาหนะของประชาชนเดิน ทางเข้าออกเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้แก่ จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง และสมุทรสาคร เพื่อสกัดคัดกรองคนเข้าออกพื้นที่ โดยบุคคลที่จะอออกนอกพื้นที่ ต้องแสดงเหตุผลคววามจำเป็น บัตรประชาชน บัตรแสดงตนอื่นๆ ควบคู่กับเอกสารรับรอง ต่อเจ้าหน้าที่
  3. ปราบปรามลงโทษผู้กระทำผิดเด็ดขาด จัดการเจ้าหน้าที่ที่รู้เห็นให้มีบ่อนพนันในพื้นที่อันเป็นต้นตอของการระบาด รวมถึงบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างประเทศโดยไม่ได้มีการตรวจสอบ คัดกรองโรคตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข
  4. โทษของผู้ฝ่าฝืน จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

บทลงโทษผู้ปกปิดไทม์ไลน์ หรือแจ้งข้อมูลเท็จ


นอกจากนี้ ผู้ติดเชื้อที่จงใจปกปิดข้อมูลการเดินทางหรือแจ้งข้อมูลเท็จ ต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อทำให้เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนและควบคุมโรคเป็นผลให้เชื้อโรคแพร่ออกไป อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืน การฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ.2558 ด้วย

โดยมาตรา 49 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ คณะกรรมการด้านวิชาการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา 18 หรือคำสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ตามมาตรา 22(6) หรือคำสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครมาตรา 28(6) หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 45(1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

 

มาตรา 50 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งตามมาตรา 31 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา 51 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 34 (1)(2)(4) หรือ (6) มาตรา 39 (1)(2)(3) หรือ (5) มาตรา 40 (5) หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 39 (4) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 52 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 34 (3)(4)(7) หรือ (8) หรือมาตรา 40 (3) หรือ (4) หรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามมาตรา 35 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 53 ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 38 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา 54 เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 40 (2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 55 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 45 วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

 

ข้อมูล:

 

ภาพโดย Arek Socha จาก Pixabay 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง