รีเซต

รู้จัก “พีพี-พัทน์ ภัทรนุธาพร” ผู้ช่วยศาสตราจารย์คนใหม่ของ MIT Media Lab ในฐานะผู้บุกเบิกสาขาวิจัย AI กับมนุษย์เข้าด้วยกัน

รู้จัก “พีพี-พัทน์ ภัทรนุธาพร” ผู้ช่วยศาสตราจารย์คนใหม่ของ MIT Media Lab ในฐานะผู้บุกเบิกสาขาวิจัย AI กับมนุษย์เข้าด้วยกัน
TNN ช่อง16
13 กรกฎาคม 2568 ( 06:52 )
10

MIT Media Lab สถาบันวิจัยแนวหน้าของโลกจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาจูเซสต์ (Massachusett Insitute of Technology: MIT) แต่งตั้ง พีพี - ดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร นักวิจัยของสถาบัน ขึ้นเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์คนใหม่ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ พีพี เป็นผู้นำร่วมโครงการศึกษาการยกระดับมนุษย์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AHA (Advancing Humans with AI)

MIT Media Lab คืออะไร

MIT Media Lab คือสถาบันวิจัยของ MIT ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1985 มีเป้าหมายเพื่อมุ่งเน้นการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม การออกแบบและศิลปะ รวมถึงสาขาแยกย่อยต่าง ๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่แก่มนุษยชาติ

หมุดหมายของ MIT Media Lab จึงเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ และส่งต่อแรงบันดาลใจทางเทคโนโลยีออกไปยังทั่วทุกมุมโลก เช่นเดียวกับที่เคยมางานเสวนาในไทยเมื่อปี 2023 ที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นภายใต้ชื่อ MIT Media Lab Southeast Asia Forum ณ ทรู ดิจิทัล พาร์ค

นอกจากนี้ MIT Media Lab ยังมีคณะและโครงการวิจัยแยกย่อยที่ต่างจากระบบสถาบันวิจัยหรือมหาวิทยาลัยทั่วไปที่แบ่งเป็นสาขาวิชา เนื่องจากที่สถาบันนั้นมีแนวคิดว่าการศึกษาวิจัยไม่จำเป็นต้องแบ่งแยกย่อยเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่เป็นการนำองค์ความรู้จากทุกสาขามาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่


พีพี-พัทน์ ภัทรนุธาพร: นักวิจัยไทยแห่ง MIT Media Lab

ในขณะที่โครงการศึกษาการยกระดับมนุษย์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AHA (Advancing Humans with AI) เป็นโครงการบุกเบิกใหม่ของ MIT Media Lab เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการทำให้ AI สามารถเสริมสร้างศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น การคิด การให้เหตุผล ตลอดจนการเรียนรู้และอารมณ์ที่มนุษย์มี

พีพี เริ่มต้นเส้นทางนักวิจัยด้วยการเป็นคนไทยคนแรกที่ได้เข้าไปศึกษาในสาขา Fluid Interfaces การศึกษาและออกแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ AI รวมถึงการผสมผสานระหว่างชีววิทยาเเละดิจิทัลและการศึกษาเฉพาะบุคคลจาก MIT Media Lab 

ก่อนที่พีพีจะกลายเป็นนักวิจัยแถวหน้าในการวิจัยหาหนทางให้ AI เข้ามาส่งเสริมศักยภาพมนุษย์โดยไม่ได้พิจารณาเฉพาะในแง่วิทยาศาสตร์ แต่ยังร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในศิลปะแขนงต่าง ๆ ทั่วโลกและรวมถึงในไทยเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ต่าง ๆ ตลอดจนสร้างโครงการวิจัยใหม่ ๆ ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรชั้นนำของโลก รวมไปถึง NASA และ OpenAI อีกด้วย

ทั้งนี้ พีพี ได้กล่าวบนเฟซบุ๊กส่วนตัวต่อการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ MIT Media Lab ว่า 

With this position, I will start a new research group (in addition to co-directing the AHA program) that will continue to push the frontier of human-AI interaction by asking bold, impossible (but important) questions and pioneering the new research area of "Cyborg Psychology."

แปล: “ด้วยตำแหน่งใหม่นี้ เราจะเริ่มกลุ่มวิจัยใหม่ (นอกเหนือจากที่ร่วมนำโครงการ AHA) ซึ่งจะดันแนวหน้าของการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์ด้วยการวางคำถามซื่อ ๆ ที่เป็นไปไม่ได้ (แต่สำคัญ) ในสาขานี้ และบุกเบิกขอบเขตวิจัยใหม่ ๆ ในด้าน “จิตวิทยาไซบอร์ก”

ซึ่งในโพสต์ดังกล่าวได้มีบุคคลที่มีชื่อเสียงทั้งวงการสื่อสารมวลชน นักวิทยาศาสตร์ไทยและนานาชาติร่วมแสดงความยินดีเป็นจำนวนมาก



ข่าวที่เกี่ยวข้อง