รีเซต

"มัดผมให้ดูหน่อยสิ" ไม่ต้องไปดูผีเสื้อ แค่ชวนมัดผมก็รู้ว่าคิดยังไง? จาก "Nevertheless" รักนี้ห้ามไม่ได้ EP.3

"มัดผมให้ดูหน่อยสิ" ไม่ต้องไปดูผีเสื้อ แค่ชวนมัดผมก็รู้ว่าคิดยังไง? จาก "Nevertheless" รักนี้ห้ามไม่ได้ EP.3
Ingonn
4 กรกฎาคม 2564 ( 18:16 )
1.2K
"มัดผมให้ดูหน่อยสิ" ไม่ต้องไปดูผีเสื้อ แค่ชวนมัดผมก็รู้ว่าคิดยังไง? จาก "Nevertheless" รักนี้ห้ามไม่ได้ EP.3

 

พอกันที! หมดมุกดูผีเสื้อที่ห้องแล้ว ตอนนี้มันถึงเวลาชวนมัดผมแล้วตางหาก ใครที่ได้ดู "Nevertheless" รักนี้ห้ามไม่ได้ EP.3 จะรู้เลยว่าไม่ต้องดูผีเสื้อแล้ว แค่ทักว่าเปิดหน้าม้า กับมัดผม ก็ชนะเลิศไปเลย ไม่ต้องยุ่งยากอีกต่อไป!

 

 

 

 

แต่ EP.3 มีสิ่งหนึ่งที่นาบีสงสัยตั้งแต่เริ่มต้นจนมาถึงวันนี้ คือ ความสัมพันธ์ของพัคแจออนกับเธอนั้นมันอยู่จุดไหน แล้วการจูบกันของทั้งสองคนโดยไม่ได้เป็นอะไรกันนั้น หมายความว่าอะไร ความสัมพันธ์แบบนี้เกิดขึ้นได้ยังไง ทำไมเราถึงกลายเป็นคนแบบนั้น  วิทยาศาสต์มีคำตอบให้เสมอ!

 

 

 


รู้หรือไม่ตามหลักวิทยาศาตร์ “ความสัมพันธ์” ของคนเราเป็นเรื่องของวิทยาศาตร์และสารเคมีในสมอง เมื่อเราเริ่มความรัก เมื่อนั้นสารเคมีในสมองจะเริ่มทำงาน โดยเราเรียกมันว่า ออกซิโตซิน (Oxytocin) ฮอร์โมนความรัก

 

 

 

รู้จักออกซิโตซิน ฮอร์โมนความรัก


ออกซิโตซิน (Oxytocin) คือ ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่ในช่วงแรก ๆ ที่เรามีอาการเพ้อ ฝัน กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ละเมอถึงคนที่เรารัก ทำให้เราเกิดความผูกพัน อยากอยู่ร่วมกับคนรัก และสร้างครอบครัว เช่นเดียวกัน การกอด สัมผัสมือ หรือการมีเซ็กส์จะทำให้สมองหลั่งออกซิโตซินมากขึ้น

 

 

นักวิจัยได้ทำการวิจัยถึงความเกี่ยวข้องระหว่างฮอร์โมนออกซิโทซินกับความรัก หลังจากการวิจัยพบว่าคู่รักที่เพิ่งคบกันในช่วงแรก หรือที่เราเรียกว่า “ช่วงโปรโมชัน” ในช่วงนี้จะมีการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินในปริมาณมาก เมื่อเทียบกับคู่รักที่คบกันมานานมากแล้ว นอกจากนั้นออกซิโทซินยังเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความผูกพัน ความรักใคร่ เกิดความเชื่อใจระหว่างกันมากยิ่งขึ้น

 

 

นอกจากนั้นในแง่ของวิทยาศาสต์และสารเคมีในสมอง ยังสามารถแบ่งระดับความรักได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้

 

 

1.Lust – ความรักแบบความใคร่ อารมณ์ทางเพศพลุ่งพล่าน นำไปสู่เซ็กซ์


จะเป็นความรักแบบโรแมนติก หรือกล่าวง่ายๆว่าเมื่อรู้สึกชอบใครสักคน ก็อยากจะมีเซ็กส์กับเขาด้วย ซึ่งสามารถเกิดร่วมกันหรือแยกกันก็ได้

 


2.Attraction – ความรักแบบหลงใหล รู้สึกดึงดูด


เป็นความรักแบบรู้สึกหลงใหล ดึงดูด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นพร้อมกับ Lust ก็ได้ หรืออาจจะเกิดเดี่ยว ๆ แค่ชอบอย่างเดียว ไม่ได้อยากมีเซ็กส์ด้วย

 

 

3.Attachment – ความรักแบบรู้สึกผูกพัน


นอกจากจะเป็นความรักของคู่รักได้แล้ว ก็ยังเป็นความรักของคนในครอบครัว และเพื่อนฝูงได้อีกด้วย

 

 

โดยความรักแบบความใคร่กับความรักแบบรู้สึกหลงใหลนั้น เราจะรู้สึกได้ว่ามันเป็นความรักแบบโรแมนติก โดยความรัก 2 แบบนี้จะเกิดร่วมกันหรือแยกกันก็ได้ ในขณะเดียวกันความรักแบบผูกพัน ความรู้สึกจะต่างออกไป ที่สำคัญคือไม่ได้พบแค่ความสัมพันธ์แบบคู่รักเท่านั้น แต่มีความรักของคนในครอบครัว เพื่อนฝูง บุคคลใกล้ชิด นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมความรักที่เรารักพ่อแม่ กับความรักที่รักแฟนนั้น ความรู้สึกหรือความปรารถนาถึงไม่เหมือนกัน

 

 


ความต้องการนี้ ถูกบงการโดยฮอร์โมนเพศ Testosterone (เทสโทสเตอโรน) และ Estrogen (เอสโตรเจน) ซึ่งผลิตที่อัณฑะและรังไข่ แต่ถูกกระตุ้นโดยสมองส่วน Hypothalamus (ไฮโปทาลามัส) ผลการศึกษาพบว่า Testosterone เป็นฮอร์โมนหลักที่กระตุ้นความต้องการทางเพศทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ส่วน Estrogen จะมีผลในเพศหญิงมากกว่า โดยพบว่าในช่วงไข่ตก เพศหญิงจะมีฮอร์โมน Estrogen พุ่งสูง ทำให้บางคนมีความต้องการทางเพศเพิ่มสูงขึ้น

 


สรุปง่ายๆว่า ระดับความสัมพันธ์แบบ Lust และ Attraction อาจกดการทำงานของ Prefrontal cortex (สมองกลีบหน้าผากส่วนหน้า) ซึ่งควบคุมการให้เหตุผลได้ ทำให้ในช่วงที่มีความต้องการทางเพศพลุ่งพล่าน หรือตกหลุมรักใครสักคนอย่างสุดหัวใจ เราอาจจะทำอะไรลงไปโดยไม่มีเหตุผลและในช่วง Attraction หากสมองหลั่ง Dopamine ที่ทำให้เรารู้สึกฟิน มีความสุขจนท้องไส้ปั่นป่วน มากไป เราอาจจะเริ่มติดกับความรักงอมแงม คล้ายกับคนติดยา ทำให้เรากลายเป็นคนติดแฟน ขาดแฟนไม่ได้ ว้าวุ่นใจ หากเขาหายเงียบไป และหากต้องเลิกกัน ก็จะลงแดงเหมือนคนขาดยาได้ด้วย

 

 

ประโยชน์ของฮอร์โมนความรัก


1.ลดความเครียด

 


2.เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

 


3.โรแมนติกมากขึ้น

 

 

นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับออกซิโตซินด้วย ได้แก่ เอนดอร์ฟิน (Endorphin) หรือ ฮอร์โมนแห่งความสุข โดยเอนดอร์ฟิน นั้นเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองเช่นกัน และยังเป็นฮอร์โมนที่ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เหมือนฮอร์โมนชนิดอื่น ต้องให้ร่างกายสร้างและหลั่งสารนี้เอง ทำให้ร่างกายเกิดความสุข ความผ่อนคลาย ลดความเครียด ลดอาการปวด ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ชะลอความเสื่อมของร่างกาย ดังนั้นเมื่อเรามีความรัก จะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งทั้งฮอร์โมนออกซิโตซินและเอนดอร์ฟินออกมา ทำให้เกิดความสุขนั่นเอง

 

 


พอมองตามหลักวิทยาศาสตร์ และวิเคราะห์จากหนังซีรี่ย์ Nevertheless ออกมา ทุกคนคิดว่า “ยูนาบี” กำลังตกอยู่ในความสัมพันธ์แบบไหนกัน

 

 

ข้อมูลจาก we are CP , trueplookpanya , โรงพยาบาลกรุงเทพ

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง