รีเซต

วันศารทวิษุวัต เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน 23 กันยายนนี้! มาทำความรู้จักกันหน่อย

วันศารทวิษุวัต เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน 23 กันยายนนี้! มาทำความรู้จักกันหน่อย
TeaC
22 กันยายน 2566 ( 11:49 )
732
วันศารทวิษุวัต เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน 23 กันยายนนี้! มาทำความรู้จักกันหน่อย

ข่าววันนี้ วันศารทวิษุวัต (autumnal equinox) เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน เกิดในวันที่ 22 หรือ 23 เดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับฤดูใบไม้ร่วงในเขตซีกโลกเหนือ ในปี พ.ศ. 2549 ศารทวิษุวัตเกิดตรงกับ วันที่ 23 กันยายน เวลา 4:03 น. ตามเวลากรีนิช หรือเท่ากับ 11:03 น. ตามเวลาประเทศไทย

 

วันศารทวิษุวัต เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน 23 กันยายนนี้! 

 

จากข้อมูลเว็บไซต์วิกิพีเดียระบุถึง วิษุวัต (equinox) หรือ จุดราตรีเสมอภาค เป็นศัพท์ดาราศาสตร์ หมายถึงช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตรงได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง หรือในหนึ่งรอบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ความเอียงของแกนโลกจะเลื่อนมาอยู่ในระนาบที่ได้ฉากกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ ซึ่งวันนั้นกลางวันจะเท่ากับกลางคืนนั่นเอง และข้อมูลยังระบุถึง ศารทวิษุวัต และ วสันตวิษุวัต ว่า

 

ศารทวิษุวัต (autumnal equinox) เกิดในวันที่ 22 หรือ 23 กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับฤดูใบไม้ร่วงในเขตซีกโลกเหนือ ในปี พ.ศ. 2549 ศารทวิษุวัตเกิดตรงกับ วันที่ 23 กันยายน เวลา 4:03 น. ตามเวลากรีนิช หรือเท่ากับ 11:03 น. ตามเวลาประเทศไทย

 

วสันตวิษุวัต (vernal equinox) เกิดในวันที่ 20 หรือ 21 มีนาคมซึ่งตรงกับฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกเหนือ ในปี พ.ศ. 2549 วสันตวิษุวัตเกิดขึ้นในวันที่ 20 เดือนมีนาคม เวลา 18:26 น เวลากรีนิช ซึ่งตรงกับเวลา 01:26 น. ของวันที่ 21 ในประเทศไทย

 

สำหรับวัฒนธรรมหรือความเชื่อนั้น ในประเทศจีน เรียกวันวสันตวิษุวัตว่า วันชุนเฟินหรือวันชุงฮุง (春分) และมีประเพณีการตั้งไข่มากว่า 4,000 ปีแล้ว

 

วันศารทวิษุวัต คือ

ขณะที่ เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ "วันศารทวิษุวัต" ว่า ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี ทำให้ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเปลี่ยนสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้


โดยวันที่ 23 กันยายน 2564 เป็นวัน “ศารทวิษุวัต” (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) เวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน คำว่า “Equinox” มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน 2 คำ คือ Aequus แปลว่า เท่ากัน และ Nox แปลว่า กลางคืน ดังนั้น Equinox หมายถึงวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ซึ่งตรงกับคำว่า “วิษุวัต” แปลว่า "จุดราตรีเสมอภาค" 


ทั้งนี้ วันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 6:07 น. เวลาประเทศไทย และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:13 น. (เวลา ณ กรุงเทพมหานคร) นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้ 
เนื่องจากแกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกได้รับแสงอาทิตย์ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณภูมิต่างกัน รวมถึงระยะเวลากลางวันและกลางคืนก็ต่างกันด้วย ใครอยากรู้เรื่องดาราศาสตร์ก็ไปติดตามเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ


และที่พลาดไม่ได้เลยสำหรับปรากฏการณ์ต่อไปที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น-ของดวงอาทิตย์ คือ “วันเหมายัน”  (Winter Solstice) หรือที่คนไทยเรียกว่า "ตะวันอ้อมข้าว" ซึ่งจะตรงกับวันที่ 21 ธันวาคม 2564 ใกล้วันนั้นอย่าลืมติดตามความรู้ดี ๆ  ที่ TrueID จะนำมาฝากทุกคนนะ 

 

ส่วนวันนี้ลองสังเกตปรากฎการณ์ในครั้งนี้ แล้วมาบอกกันบ้าง

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง