วันครีษมายัน 2566 กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี
ข่าววันนี้ วันครีษมายัน 2566 หรือปรากฏการณ์กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปีที่คนรักท้องฟ้าหเามพลาดชม วันที่ 21 มิถุนายนนี้ TrueID ขอชวนมารู้จัก วันครีษมายัน อ่านว่า ครีด-สะ-มา-ยัน (Summer Solstice) วันที่มีเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี โดยปรากฎการณ์จะเป็นลักษณะดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด
วันครีษมายัน 2566 กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี
สำหรับวันที่ 21 มิถุนายน นอกจากจะเกิดปรากฎการณ์บนท้องฟ้า ยังเป็นวันดาราศาสตร์ในโรงเรียน ประจำปี 2564 (Astronomy Day in School) ที่สหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ (IAU) ได้กำหนดไว้
การเกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวนั้น ดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลาประมาณ 05:51 น. ตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 18:47 น. ซึ่งดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่บนท้องฟ้านานถึง 12 ชั่วโมง 56 นาที จึงเป็นวันที่ช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี นับเป็นวันที่เข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศทางซีกโลกใต้
กลางวันและกลางคืน ปรากฎการณ์สวยงามเกิดขึ้นได้อย่างไร?
กลางวันและกลางคืน เกิดจากโลกหมุนรอบตัวเอง ในขณะเดียวกันโลกก็จะโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยที่แกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศากับแกนตั้งฉากกับระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้บริเวณต่าง ๆ ของโลกในแต่ละช่วงของปีได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ส่งผลให้เกิดเป็นฤดูกาลบนโลก
ในระยะเวลา 1 ปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะเกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น - ตก ของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่
- วันครีษมายัน วันที่กลางวันยาวนานที่สุด
- วันเหมายัน วันที่กลางคืนยาวนานที่สุด
- วันวสันตวิษุวัตและวันศารทวิษุวัต
- วันที่มีกลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน
ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
กดเลย >> community แห่งความบันเทิง
ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี