รีเซต

บัณฑูร เสนอ 4 แนวทางลดความเหลื่อมล้ำในไทย พร้อมเสนอแนวทาง Green Economy

บัณฑูร เสนอ 4 แนวทางลดความเหลื่อมล้ำในไทย พร้อมเสนอแนวทาง Green Economy
แบไต๋
25 พฤศจิกายน 2565 ( 16:01 )
62

นายบัณฑูร ล่ำซำ ไวยาวัจกร วัดบวรนิเวศวิหารและวัดญาณสังวราราม กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ ‘อนาคตประเทศไทยบนความไม่แน่นอน’ บนเวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2022 โดยได้เสนอวิธีการที่จะช่วยให้ไทยได้เข้าสู่ Green Economy มีทางเดียว คือการเพิ่มต้นไม้เพื่อให้ดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา ซึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่ เพราะแม้ว่าคนจะพยายามรณรงค์การรักษาป่ามากแค่ไหน แต่ปัจจุ พื้นที่ป่าก็หายไปเยอะมากแล้ว บางแห่งกลายเป็นเมืองใหญ่ บางแห่งกลายเป็นพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจไปแล้ว

ทั้งนี้ นายบัณฑูร ได้ยกตัวอย่างความผิดพลาดที่เกิดขึ้นที่จังหวัดน่าน ซึ่งเดิมทีมีพื้นที่ 85% ของจังหวัด ราว 6.4 ล้านไร่ ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำชั้น 1 ของประเทศไทย และถูกประกาศเป็นป่าสงวนตั้งแต่ปี 2507 แต่ในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้บริหาร ทำให้ป่าหายไป 1.8 ล้านไร่ หรือ 28% ซึ่งกว่าจะรู้ตัวก็สายไปแล้ว เรื่องนี้แก้คนเดียวไม่ได้ ขณะเดียวกัน แม้แต่ละบริษัทจะมีกาประกาศ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน Environment, Social, และ Governance หรือ ESG แต่ในการปฏิบัติเชื่อว่าไม่มีรายใดที่ที่ลงมาใส่ใจในรายละเอียดทำให้ภาพใหญ่เราสามารถทำสำเร็จได้ยาก

ประเด็นต่อมาคือการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย โดยตนเองต้องการเสนอ 4 หลักที่ต้องเร่งแก้ไข เรียงจากความง่ายไปยาก ได้แก่

  • การเก็บภาษีอย่างทั่วถึง โดยต้องเก็บให้หมดทุกด้านที่ควรเก็บ แต่จะเก็บเท่าไร เก็บอย่างไร ผู้มีอำนาจต้องไปตกลงและหารือกันในการประชุมสภา
  • ช่วยให้สู้กันได้ หรือเกิดความแข่งขันที่เท่าเทียม (ทั้งที่รู้ว่าสู้ไม่ได้) โดยเฉพาะเร่งช่วยเหลือกลุ่ม SMEs ที่ไม่มีทุน ไม่มีความรู้ ให้ต่อสู้กับบริษัทรายใหญ่ แม้ไม่รู้ว่าจะทำได้อย่างไร แต่ต้องทำ เพื่อให้เกิดการแข่งขัน รัฐบาลต้องลอง
  • อะไรที่จำนวนจำกัดต้องมีการจำกัด ไม่ให้ใครเอาไปหมด โดยเฉพาทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดคือ ที่ดิน เพราะมีจำนวนจำกัด จึงต้องจำกัดจำนวนการถือครอง แต่จะมีวิธีการอย่างไร ผู้มีอำนาจต้องไปตกลงและหารือกันในการประชุมสภา
  • คนทำผิดเหมือนกัน รับโทษเหมือนกัน เพื่อแก้ความเหลื่อมล้ำในหัวใจประชาชน ซึ่งจะได้ผลทันที เพราะผู้ที่มีเงินร้อยบาทกับผู้มีร้อยล้านบาทก็ซื้อระบบยุติธรรมไม่ได้ 

นอกจากนี้ ถ้าไทยจะมองถึงเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และมีขีดความสามารถทางการแข่งขันก็จะต้องมีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ควรมีผู้สนับสนุนผู้ประกอบการ และทำอย่างจริงจัง ส่วนการใช้นโยบายแจกเงินแม้จะทำได้ในยามที่ฉุกเฉินดังเช่นในช่วงการระบาดของโควิด19 แต่ก็ในที่สุดเงินก็จะมีไม่พอแจก ท้ายที่สุดเศรษฐกิจก็ไม่ฟื้นตัวในระยะยาว ผู้ที่เป็นรัฐบาลจะต้องคิดให้มากและหาทางให้ประชาชนยืนบนขาของตัวเองได้ในระยะยาวด้วย

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง