รีเซต

เซ็นเซอร์ตรวจเหงื่อตัวแรกของโลก ที่สามารถตรวจวัดระดับความเครียดของเราได้ตลอดเวลา

เซ็นเซอร์ตรวจเหงื่อตัวแรกของโลก ที่สามารถตรวจวัดระดับความเครียดของเราได้ตลอดเวลา
TNN ช่อง16
11 กุมภาพันธ์ 2564 ( 16:35 )
299

เหงื่อของมนุษย์มีตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่มีค่าทุกชนิดบรรจุอยู่ภายใน สามารถใช้เพื่อติดตามลักษณะต่าง ๆ ในด้านสุขภาพของมนุษย์ได้ โดยเหงื่อของมนุษย์ประกอบด้วยไบโอมาร์คเกอร์ที่สามารถใช้เพื่อติดตามสุขภาพของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ เช่น ระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือภาวะการเผาผลาญระหว่างออกกำลังกาย ณ ปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่สามารถตรวจจับหรือประมวลผลค่าจากเหงื่อต่าง ๆ ได้แล้ว

นักวิทยาศาสตร์จาก Switzerland’s École polytechnique fédérale de Lausanne (EPFL) ได้พัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจเหงื่อตัวแรกของโลก ที่สามารถตรวจสอบระดับความเครียดได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน ซึ่งพวกเขาหวังว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยให้สังเกตเห็นสัญญาณของโรคที่เกี่ยวข้องกับความเครียด ซึ่งเกิดจากการหยุดชะงักของวงจรฮอร์โมนตามธรรมชาติได้ง่ายขึ้น


การวิจัยมุ่งเน้นไปที่ฮอร์โมนคอร์ติซอล สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดความตึงเครียดได้ แต่ก็หลั่งออกมาตามธรรมชาติตลอดทั้งวันตามจังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งจะมีระดับสูงสุดระหว่าง 6 โมงเช้า ถึง 8 โมงเช้า และจะค่อย ๆ ลดลงตลอดทั้งวัน มีบทบาทสำคัญในการควบคุมสิ่งต่าง ๆ เช่นน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และการเผาผลาญ

ปล. ถ้าร่างกายสร้างคอร์ติซอลมากเกินไป หรือสร้างออกมาไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่โรคอ้วน โรคหัวใจ หลอดเลือด ภาวะซึมเศร้า หรือความเหนื่อยหน่ายได้


เทคโนโลยีใหม่นี้ ถูกพัฒนามาโดยโฟกัสให้สามารถตรวจจับข้อมูลได้เร็วและต่อเนื่องมากที่สุด เป็นเทคโนโลยีแรกที่สามารถติดตามความเข้มข้นของคอร์ติซอลอย่างต่อเนื่องได้ นั่นทำให้ตัวระบบสามารถรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและวัตถุประสงค์เกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวข้องกับความเครียดได้ มันสามารถทำได้อย่างแม่นยำ และรวดเร็วเหนือระดับความเข้มข้นของคอร์ติซอลในเหงื่อของมนุษย์


เทคโนโลยีดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในห้องแล็บ โดยขณะนี้ทีมงานกำลังวางแผนที่จะทำการทดสอบในโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยที่เป็นโรคเครียดเช่น Cushing’s syndrome, Addison’s disease และโรคอ้วน อยู่ โดยพวกเขาเชื่อว่าเทคโนโลยีนี้สามารถมีบทบาทในการวินิจฉัยและรักษาโรคทางจิตใจที่เกิดจากความเครียดได้

เทคโนโลยีนี้จะทำให้แพทย์มีข้อมูลแบบเรียลไทม์ และเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้พวกเขาเข้าใจเกี่ยวกับโรคความเครียดมากขึ้น

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

แหล่งที่มา newatlas.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง