รีเซต

10 ตัวเลขสำคัญเกี่ยวกับดาวเทียม THEOS-2

10 ตัวเลขสำคัญเกี่ยวกับดาวเทียม THEOS-2
TNN ช่อง16
6 ตุลาคม 2566 ( 16:42 )
131

ดาวเทียมธีออส-2 (THEOS-2) เป็นดาวเทียมสำรวจโลก หรือ Earth observation satellite หนึ่งใน 2 ดวงที่อยู่ภายใต้โครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนาที่ดำเนินการโดยจิสท์ดา (GISTDA) ข้อมูลจากดาวเทียมจะถูกใช้ในการปรับปรุง (Update) ข้อมูลในทุกพื้นที่ของไทยให้เป็นปัจจุบันอย่างละเอียดและถูกต้อง มันกำลังจะถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศในวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 เวลา 8:36 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ณ ท่าอวกาศยานยุโรปเฟรนช์เกียนา (Guiana Space Center) ในทวีปอเมริกาใต้ ทั้งนี้มันยังมีรายละเอียดอีกเยอะมาก วันนี้เราจึงได้นำคุณสมบัติที่น่าสนใจของ THEOS-2 มานำเสนอผ่านตัวเลข 10 ตัวเลข ทั้งนี้ข้อมูลนี้ได้จากการนำเสนอ ดร. พรเทพ นวกิจกนก ผู้อำนวยการสำนักบริการโครงการ THEOS-2 ซึ่งจะทำให้เรารู้มิติของ THEOS-2 ได้ลึกขึ้น เอาล่ะ มีตัวเลขอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง มาดูกัน


คือ ธีออส-2 (THEOS-2) เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงที่ 2 ของไทย ซึ่งปล่อยขึ้นสู่อวกาศ 15 ปีถัดมา หลังจากที่ดาวเทียมธีออสตัวที่ 1 หรือที่เราคุ้นหูในชื่อดาวเทียมไทยโชตได้ทะยานขึ้นสู่อวกาศในวันพุธที่ 1 ตุลาคม 2551 


621 กิโลเมตร คือ ระยะห่างจากพื้นโลกถึงวงโคจรที่ดาวเทียมธีออส-2 โคจรอยู่ ทั้งนี้ดาวเทียมธีออส-2 ถือว่าเป็นดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit: LEO)


425 กิโลกรัม คือ นำ้หนักของตัวดาวเทียมธีออส-2 ส่วนขนาดของตัวดาวเทียมคือกว้าง 1.2 เมตร ยาว 1.2 เมตร และสูง 1.8 เมตร


10.3 กิโลเมตร คือระยะความกว้างของภาพตลอดแนวการถ่ายภาพเก็บข้อมูล ส่วนความยาวของการถ่ายภาพต่อ 1 วันคือ 74,000 กิโลเมตร ดังนั้นจึงสามารถเก็บข้อมูลพื้นโลกได้เยอะมาก


50 เซนติเมตร คือความละเอียดของภาพถ่ายที่ได้จากดาวเทียมธีออส-2 (ยกตัวอย่างเช่น รถ 1 คัน เก็บความละเอียดได้ 8 พิกเซล) ถือว่าเป็นดาวเทียมความละเอียดสูงมากดวงแรกที่ไทยมี


10 ปี คือ อายุการใช้การของดาวเทียมธีออส-2


26 วัน คือ ระยะเวลาที่ดาวเทียมธีออส-2 จะวนกลับมาที่ตำแหน่งเดิม ทั้งนี้ลักษณะการโคจรของตัวดาวเทียมจะโคจรแบบเหนือลงใต้ และอาศัยการหมุนของโลกด้วย ดังนั้นดาวเทียมจะวนกลับมาที่จุดเดิมภายในระยะเวลา 26 วัน แต่คุณสมบัติของธีออส-2 คือสามารถเอียงตัวถ่ายภาพในทั้งแนวซ้าย ขวา หน้า หลัง ดังนั้นจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกวัน


รอบ / วัน คือ รอบที่ดาวเทียมธีออส-2 โคจรผ่านประเทศไทย และติดต่อเพื่อเก็บข้อมูลระหว่างดาวเทียมกับสถานีควบคุมที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ทั้งนี้แบ่งเป็นรอบกลางวัน 2 รอบ รอบกลางคืน 2 รอบแต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 15 นาที


1 คือ เป็นดาวเทียมรายละเอียดสูงมากดวงแรกและ 1 เดียวของประเทศไทย


7 ตุลาคม 2566 คือ วันปล่อยตัวดาวเทียม THEOS-2 ขึ้นสู่วงโคจร โดยจะปล่อยตัวในเวลา 08.36 น. ของประเทศไทย ณ ท่าอวกาศยานยุโรปเฟรนช์เกียนา (Guiana Space Center) ในทวีปอเมริกาใต้


ที่มาข้อมูล ดร. พรเทพ นวกิจกนก ผู้อำนวยการสำนักบริการโครงการ THEOS-2

ที่มารูปภาพ Gistda, ESA, Gettyimages

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง