รีเซต

กล้องฮับเบิลถ่ายภาพดาวที่ไกลสุดเท่าที่เคยค้นพบอยู่ห่างออกไป 12,900 ล้านปีก่อน

กล้องฮับเบิลถ่ายภาพดาวที่ไกลสุดเท่าที่เคยค้นพบอยู่ห่างออกไป 12,900 ล้านปีก่อน
TNN ช่อง16
1 เมษายน 2565 ( 19:44 )
209

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลหนึ่งในกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ช่วยให้มนุษย์ศึกษาทำความเข้าใจอวกาศได้มากขึ้น ล่าสุดกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวนี้ได้เปิดเผยภาพของดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างออกไปมากที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบด้วยระยะห่างถึง 12,900 ล้านปีแสง เสมือนการมองย้อนไปในอดีตเมื่อเอกภาพเพิ่งถือกำเนิดและอาจเป็นดาวฤกษ์กลุ่มแรก ๆ ที่ถือกำเนิดขึ้น 


ก่อนหน้านี้ในปี 2018 กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ทำการค้นพบดาวฤกษ์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคที่เอกภพมีอายุ 4 พันล้านปี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ใช้การตรวจสอบจากการเลื่อนทางแดงของแสงที่เกิดขึ้นเมื่อเอกภพขยายตัว


ในวันที่ 30 มีนาคม 2020 ที่ผ่านมากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ทำบันทึกภาพดาวฤกษ์ที่ไกลที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมาโดยมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “Earendel” แปลว่า “ดาวรุ่งอรุณ” มีระยะห่างถึง 12,900 ล้านปีแสง อาจมีอายุเพียง 900 ล้านปี นับจากการเอกภพถือกำเนิด


นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่าดาวฤกษ์ Earendel อาจมีมวลไม่ต่ำกว่า 50 เท่าของดวงอาทิตย์และมีแสงสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์ 1 ล้านเท่า อย่างไรก็ตามการสังเกตการณ์จากโลกยังสามารถทำได้ยากและมองเห็นดาวฤกษ์ Earendel เป็นเพียงจุดเล็ก ๆ จาง ๆ ในอวกาศและอาจไม่สามารถค้นพบได้เลย


อย่างไรก็ตามการค้นพบดาวฤกษ์ Earendel เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่าเลนส์ความโน้มถ่วงตามทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอสไตน์ที่กล่าวเอาไว้ว่าแรงโน้มถ่วงมหาศาลของกระจุกกาแล็กซีมีผลทำให้เกิดการเบี่ยงเบนทางเดินของแสงคล้ายเลนส์ ในกรณีของดาวฤกษ์ Earendel ถูกแรงโน้มถ่วงจากกระจุกกาแล็กซี WHL0137-08 ส่งผลให้แสงบางส่วนถูกอ้อมไปในลักษณะบังเอิญและรวมตัวบริเวณตำแหน่งที่สังเกตการณ์จากโลกได้อย่างพอดีและมีความสว่างมากขึ้นทำให้สามารถการสังเกตการณ์จากโลก


นักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าจุดกำเนิดของเอกภาพในระยะแรกนั้นดาวฤกษ์มีองค์ประกอบสำคัญเป็นไฮโดรเจนและฮีเลียม ดาวฤกษ์ดวงแรก ๆ ถูกหนดให้มีชื่อว่า Population lll stars อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถสรุปได้ว่าดาวฤกษ์ Earendel เป็นดาวฤกษ์ Population lll stars หรือไม่ ซึ่งคำตอบดังกล่าวอาจต้องฝากความหวังไว้กับกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ที่กำลังเตรียมพร้อมปฏิบัติหน้าที่บนอวกาศภายหลังจากการส่งขึ้นสู่อวกาศในช่วงปี 2022



ที่มาของข้อมูล NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ที่มาของรูปภาพ hubblesite.org

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง