รีเซต

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของจีน อาจให้พลังงานกับสถานีอวกาศได้ถึง 10 สถานี

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของจีน อาจให้พลังงานกับสถานีอวกาศได้ถึง 10 สถานี
TNN ช่อง16
3 กันยายน 2565 ( 02:47 )
118
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของจีน อาจให้พลังงานกับสถานีอวกาศได้ถึง 10 สถานี

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศจีน (Ministry of Science and Technology) ได้อนุมัติโครงการเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในอวกาศ โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตไฟฟ้าในระดับเมกะวัตต์ ในขณะที่แผงโซลาร์เซลล์บนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากสุดที่ 120 กิโลวัตต์ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ดังกล่าวจึงจะผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอสำหรับสถานีอวกาศนานาชาติได้มากถึง 10 สถานี โดยประมาณ


โดยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์นี้เริ่มต้นมาจากการเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความสนใจอย่างแรงกล้าของชาวจีนในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อใช้ในอวกาศ (a strong Chinese interest in developing nuclear power for use in space) ในปี 2019


ต่อมาในปี 2021 สำนักข่าวเซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ (South China Morning Post) ที่ควบคุมการทำงานโดยรัฐบาลได้เผยว่าตัวต้นแบบของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ดังกล่าวถูกออกแบบเสร็จสิ้นแล้ว


ซึ่งประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประสบการณ์ค่อนข้างมากในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในอวกาศ เช่น “อี้ว์ทู่ (Yutu-2)” หรือ “กระต่ายหยก”ยานลงจอดบนดวงจันทร์ของฉางเอ๋อ 3 (Chang'e 3) ที่ใช้เครื่องกำเนิดพลังงานนิวเคลียร์พลูโทเนียม เพื่อเอาตัวรอดในด้านมืดบนดวงจันทร์ที่ยาวนานติดต่อกันถึง 2 สัปดาห์


ซึ่งด้านมืดบนดวงจันทร์เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์ ทำให้ในบ้างด้านและในบางเวลา จะมีด้านที่ไม่ถูกแสงอาทิตย์ส่องโดยตรง และใน 1 ใน 4 ด้าน ของดวงจันทร์จะใช้เวลาประมาณ 15 วัน ในการหลุดออกจากการเป็นด้านมืด


ภาพจาก socratic.org

ในอนาคตพลังงานนิวเคลียร์อาจตอบโจทย์การผลิตไฟฟ้าในอวกาศมากกว่าการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ เนื่องจากในบางเวลาและในบางจุดแสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องไปถึงได้ หรือส่องไปถึงแต่มีความเข้มข้นของแสงต่ำ ทำให้แผงโซลาร์เซลล์ไม่สามารถใช้การได้


ข้อมูลจาก www.space.com

ภาพจาก www.nasa.gov

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง