รีเซต

SpaceX ส่งนักบินอวกาศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและรัสเซีย ขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติ ISS

SpaceX ส่งนักบินอวกาศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและรัสเซีย ขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติ ISS
TNN ช่อง16
6 ตุลาคม 2565 ( 01:28 )
46
SpaceX ส่งนักบินอวกาศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและรัสเซีย ขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติ ISS

วันที่ 5 ตุลาคม ที่ผ่านมา บริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ประสบความสำเร็จในการทำภารกิจครูว์ - 5 (Crew-5) ส่งนักบินอวกาศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและรัสเซีย เดินทางขึ้นสู่อวกาศเพื่อเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ภารกิจอวกาศที่หลายประเทศทำร่วมกันเพื่อการค้นพบและองค์ความรู้ของมวลมนุษยชาติท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ


ภารกิจครูว์ - 5 (Crew-5)


จรวดฟอลคอล 9 (Falcon 9) หมายเลข B1077.1 ทำหน้าที่เป็นจรวดบูสเตอร์ส่งยานอวกาศครูว์ดรากอน เอนดิวแรนซ์ (Crew Dragon Endurance) พร้อมนักบินอวกาศ 4 คน ขึ้นสู่อวกาศประกอบด้วยผู้บัญชาการนิโคล อูนาปู แมน (Nicole Aunapu Mann) ชาวสหรัฐอเมริกา, นักบินอวกาศโจว์ คาสซาดา (Josh Cassada) ชาวสหรัฐอเมริกา, นักบินอวกาศโคชิ วากาตะ (Koichi Wakata) ชาวญี่ปุ่น และนักบินอวกาศแอนนา คิกินา (Anna Kikina) ชาวรัสเซีย

หลังจากฟอลคอล 9 (Falcon 9) ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยจรวดประมาณ 2 นาที 40 วินาที ฟอลคอล 9 (Falcon 9) จึงแยกตัวออกจากจรวดส่วนที่ 2 (Second stage) และเดินทางกลับโลกบนโดรนไร้คนขับชื่อว่า Just Read the instructions กลางมหาสมุทรแอตแลนติก นอกชายฝั่งรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา


ยานอวกาศครูว์ดรากอน เอนดิวแรนซ์ (Crew Dragon Endurance)

 
สำหรับยานอวกาศครูว์ดรากอน เอนดิวแรนซ์ (Crew Dragon Endurance) จะโคจรรอบโลกเป็นเวลาประมาณ 1 วัน ก่อนเข้าเทียบท่าโมดูล Harmony ของสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ในวันพฤหัสบดี โดยนักบินอวกาศทั้ง 4 คน จะใช้เวลาอยู่บนสถานีอวกาศต่อไปอีกประมาณ 5 เดือน เพื่อทำการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์และการทดสอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ โดยเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจ ISS Expedition 68 

นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) และนาซา หลังจากภารกิจต้องประสบปัญหาเลื่อนการปล่อยจรวดออกไปเนื่องจากพายุเฮอริเคนเอียนที่พัดขึ้นชายฝรั่งรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งต่อภารกิจ Crew-5 รวมไปถึงภารกิจอาร์ทิมิส 1 (Artemis 1) ซึ่งเลื่อนการปล่อยจรวด SLS มาแล้ว 3 ครั้ง และต้องเลื่อนภารกิจออกไปจนถึงช่วงระหว่างวันที่ 12-27 พฤศจิกายน 2022





ที่มาของข้อมูล Space.com

ที่มาของรูปภาพ Twitter.com/SpaceX

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง