โบราณสถาน "ซ่อมแซมตนเองได้" ด้วยสปอร์ของแบคทีเรีย
สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์หลายแห่งในยุโรป ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นจากหินและคอนกรีต ซึ่งวัสดุเหล่านี้สามารถถูกกัดกร่อนด้วยแสงแดด, น้ำ และน้ำฝนที่เป็นกรดจากสภาพอากาศในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์จึงต้องการคิดค้นวิธีที่ช่วยให้สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ "ซ่อมแซมตัวเองได้"
ที่มาของภาพ https://interestingengineering.com/self-healing-bacteria-paste-helps-regenerate-historic-buildings
สหภาพจะมีค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ราว 1.5 แสนล้านบาทต่อปี นับว่าเป็นค่าใช้จ่ายปริมาณมากที่อาจส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินได้ ซึ่งก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบาธ ได้ค้นพบว่าหากผสมแบคทีเรียชนิดเข้ากับคอนกรีต สปอร์ของมันแบคทีเรียจะสะสมแร่แคลไซต์เคลือบคอนกรีตเอาไว้ ซึ่งช่วยปกป้องคอนกรีตจากสิ่งแวดล้อมได้
ดังนั้น ทีมสหภาพยุโรปจึงตั้งทีม Geoheal ซึ่งได้นำงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบาธมาประยุกต์ใช้ โดยการสเปรย์หรือทาของเหลวที่ผสมแบคทีเรีย Sporosarcina pasteurii และ Sporosarcina ureae ลงบนสิ่งก่อสร้างคอนกรีตเหล่านั้น ซึ่งพวกเขาหวังว่ามันน่าจะช่วยปกป้องสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์เอาไว้ได้
ที่มาของภาพ https://edition.cnn.com/2015/05/14/tech/bioconcrete-delft-jonkers/index.html
ทีม Geoheal ได้เริ่มทดสอบกับโบสถ์โบราณ Tintern Abbey ในแคว้นเวลส์ ประเทศสหราชอาณาจักร โดยทาสารผสมแบคทีเรียที่เตรียมไว้ในบางจุดของโบสถ์ ปรากฏว่าแบคทีเรียสามารถแทรกซึมเข้าไปในพื้นผิวคอนกรีตได้เป็นอย่างดี และมีการสะสมแคลไซต์ได้ตามที่มีการวิจัยมาก่อนหน้า โดยไม่ส่งผลกระทบต่อรูปลักษณ์ภายนอกของตัวโบสถ์ ทั้งนี้ ประสิทธิภาพของการใช้แบคทีเรียคงจะต้องมีการติดตามต่อไป ว่าจะสามารถป้องกันการผุกร่อนของคอนกรีตได้ดีและนานแค่ไหน
นับว่าเป็นนวัตกรรมที่ดีเลยทีเดียว ในอนาคตอาจมีการพัฒนาคอนกรีตที่ทนต่อสภาพอากาศได้ดี ด้วยความช่วยเหลือจากแบคทีเรียตัวจิ๋ว คุณคงไม่ต้องห่วงเรื่องรอยแตกร้าวภายในบ้านแล้วล่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Interesting Engineering
website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE