รีเซต

เครื่องช่วยหายใจไว้ใช้ที่บ้าน ระหว่างกักตัวเอง ช่วงโควิด-19

เครื่องช่วยหายใจไว้ใช้ที่บ้าน ระหว่างกักตัวเอง ช่วงโควิด-19
Ingonn
25 เมษายน 2564 ( 11:31 )
14.5K
เครื่องช่วยหายใจไว้ใช้ที่บ้าน ระหว่างกักตัวเอง ช่วงโควิด-19

สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นหลักพันอย่างต่อเนื่อง ผู้เสียชีวิตก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีอีกหลายรายที่ป่วยโควิด-19 และยังคงต้องรอเตียงรักษา ต้องกักตัวอยู่ที่บ้านจนอาการเข้าขั้นวิกฤตต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

 


วันนี้ True ID ได้รวบรวมเครื่องช่วยหายใจ ที่เหมาะสมกับการใช้ที่บ้านในยามที่สถานการณ์โควิด-19 กำลังระบาดหนักไว้ เพื่อเป็นอีกตัวเลือกในการช่วยรักษาตนเอง ขณะกักตัวรอเตียงในช่วงนี้

 

>>>> แนวทางกักตัวเอง >>> 18 ข้อปฏิบัติ สำหรับผู้ป่วยโควิด ณ ที่พักอาศัย (Home Isolation)

 


รู้จักเครื่องช่วยหายใจ


เครื่องช่วยหายใจ มีหลักการทำงานที่เลียนแบบการทำงานของระบบการหายใจของมนุษย์ ด้วยการปล่อยก๊าซเข้าไปในปอดเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซภายในปอด และปล่อยก๊าซที่แลกเปลี่ยนแล้วให้ออกสู่บรรยากาศภายนอก

 

 

จากแนวทางการปฏิบัติในการช่วยผู้ป่วยโควิด-19 ทางกรมการแพทย์ได้แนะนำ การใส่หรือถอดเครื่องช่วยหายใจ ให้ดำเนินการตาม แนวทางปฏิบัติของสมาคมเวชบำบัดวิกฤติ สำหรับการใส่ท่อช่วยหายใจ แนะนำให้ใช้ Ventilator Support

 

 

Ventilator คืออะไร


Ventilator ก็คือ เครื่องช่วยหายใจ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจได้เอง หายใจไม่มีประสิทธิภาพ หรือทางเดินหายใจไม่โล่ง กลับมาหายใจได้เป็นปกติอีกครั้ง หรือใช้กับคนป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดและไม่สามารถหายใจด้วยตัวเองได้อย่างเต็มที่

 

การใช้ Ventilator จึงเป็นการช่วยประคับประคองให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจนกว่าจะหายใจได้เอง ซึ่งเครื่องช่วยหายใจจะมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

 

 

1) เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกต่อเนื่อง CPAP
เครื่องช่วยหายใจ CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) หรือเครื่องช่วยหายใจชนิดธรรมดา ใช้ได้กับผู้ป่วยทุกวัย ข้อดีของเครื่องช่วยหายใจแบบนี้ก็คือ ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน เคลื่อนย้ายสะดวก การทำงานของเครื่องสอดคล้องกับปอดของคนทั่วไป ระดับปริมาตรอากาศที่เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยจึงใกล้เคียงกับการหายใจของคนปกติ ทำให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ

 

เครื่องช่วยหายใจ CPAP นอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอแล้ว ยังเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ที่นอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับไม่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เครื่องช่วยหายใจ CPAP ทำให้ผู้ป่วยสามารถนอนหลับอย่างเต็มตื่น ลดปัญหาอาการง่วงนอนตลอดเวลา และยังมีให้เลือกใช้ทั้งแบบธรรมดา และแบบออโต้

 

 

2) เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันสองระดับ BiPAP (Bi-level Positive Airway Pressure)
เครื่อง BiPAP มีหลักการทำงานในการช่วยหายใจ (Ventilation) โดยการอัดลมด้วยความดันสูงในช่วงที่หายใจเข้า และผ่อนความดันลงในช่วงหายใจออก ทำให้มีการขยายตัวของปอดและลดความต้านทานของระบบทางเดินหายใจที่มีการปิดกั้น

 

ราคาเครื่อง BiPAP มีตั้งแต่ 95,000 – 125,000 บาท เป็นเครื่องช่วยหายใจที่สามารถตั้งให้ระดับแรงดันอากาศในจังหวะหายใจเข้าและหายใจออกมีค่าแตกต่างกันได้ เช่น ขณะหายใจเข้าแรงดันเป็น 15 cmH2O ขณะหายใจออกแรงดันเป็น 6 cmH2O เป็นต้น

 

เครื่อง BiPAP ใช้รักษาผู้ที่มีอาการนอนกรนหรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับขั้นรุนแรง ที่ต้องใช้แรงดันในการรักษาสูงๆ เช่น 15 cmH2O ขึ้นไปเป็นต้น และเนื่องจากสามารถกำหนดให้แรงดันตอนหายใจออกมีค่าต่ำๆได้ จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถหายใจออกได้ง่ายขึ้น ลดความอึดอัดเนื่องจากการที่ต้องหายใจออกสวนทางกับแรงลมที่เครื่องพ่นออกมา

 

แพทย์มักให้ผู้ป่วยใช้เครื่อง BiPAP ควบคู่กับเครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen Concentrator) เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอ

 

 


3) เครื่องช่วยหายใจชนิดควมคุมด้วยปริมาตร Volume Controlled Ventilator
เป็นเครื่องช่วยหายใจขนาดใหญ่ มักใช้ในโรงพยาบาล เครื่องชนิดนี้จะมีโหมดการทำงานที่ซับซ้อนมากกว่า 2 แบบแรกมาก ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจขั้นรุนแรง ที่อาจต้องใช้ท่อช่วยหายใจผ่านการเจาะคอ (Tracheostomy) รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจด้วยตัวเองได้

 

เครื่องช่วยหายใจประเภทนี้ เป็นเครื่องช่วยหายใจที่ทำงานด้วยการควบคุมปริมาตรอากาศในปอดให้ได้ค่าตามที่ต้องการ (Volume controlled) ส่วนเครื่อง CPAP และ BiPAP นั้นจะทำงานด้วยการควบคุมแรงดันอากาศ (Pressure controlled)

 

เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมด้วยปริมาตรนี้ มักมีความสามารถในการใช้งานร่วมกับการให้ออกซิเจนจากระบบท่อของโรงพยาบาล โดยเครื่องสามารถตรวจวัดและควบคุมระดับความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผสมรวมกับอากาศที่ให้คนไข้หายใจได้

 


อุปกรณ์ชนิดนี้จะไม่สามารถใช้ช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีอาการของโรคทางเดินหายใจรุนแรงได้ แต่ก็อาจนำไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการในระดับเบาหรือปานกลางแทน หากอาการรุนแรงควรรักษาตัวกับทางโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการอย่างเหมาะสม ซึ่งเครื่องช่วยหายใจเหล่านี้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่กลับมารักษาตัวที่บ้าน เนื่องจากใช้งานง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก

 

 

 

ทำไมต้องใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน


การใช้เครื่องช่วยหายใจจะช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ และกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจเป็นปกติในกรณีที่ได้รับยาสลบจากการผ่าตัด, กรณีที่มีอาการป่วยรุนแรง หรืออุบัติเหตุอันส่งผลต่อการหายใจ

 

หากแพทย์วินิจฉัยแล้วพบว่าผู้ป่วยมีอาการในระดับไม่รุนแรง หรือมีอาการคงที่หรือดีขึ้นแล้ว แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยกลับมารักษาตัวที่บ้าน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้เครื่องช่วยหายใจตัวใหญ่และพักในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน

 

ส่วนเครื่องหายใจที่แพทย์แนะนำให้ผู้ป่วยซื้อหรือเช่าเพื่อนำมาใช้ที่บ้านมักจะเป็นเครื่องช่วยหายใจขนาดเล็กที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ มีการทำงานที่ไม่ซับซ้อนเท่ากับเครื่องตัวใหญ่ตามโรงพยาบาล และที่นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่คือเครื่องช่วยหายใจประเภทแรงดัน 2 ระดับ (BiPAP) โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำการตั้งค่าหรือโหมดการทำงานที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วยก่อนที่จะส่งตัวออกจากโรงพยาบาลมารักษาตัวต่อที่บ้าน

 

 

อุปกรณ์ประกอบในการใช้เครื่องช่วยหายใจส่วนใหญ่มีอะไรบ้าง


1.เครื่องผลิตออกซิเจน


2.เครื่องพ่นยา


3.เครื่องวัดเปอร์เซ็นต์ออกซิเจนในเลือด


4.เครื่องช่วยหายใจแบบบีบมือ (Ambu bag)

 

 

ประโยชน์ของเครื่องช่วยหายใจ


เครื่องช่วยหายใจเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่มีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจได้อย่างปกติ รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพจากระบบทางเดินหายให้มีสุขภาพดีขึ้นได้ โดยข้อดีและประโยชน์ของเครื่องช่วยหายใจหลักๆ มีดังนี้

 

1.ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีระบบทางเดินหายใจผิดปกติหายใจได้ดีขึ้น เพราะระบบการทำงานของเครื่องช่วยหายใจ (Ventilator ) ทำงานใกล้เคียงกับการหายใจของคนปกติ

 

2.ช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจมีโอกาสกลับมาหายใจได้เป็นปกติ


3.ช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพได้รับออกซิเจนเพียงพอ


4.ช่วยส่งเสริมการรักษาและการฟื้นตัวของผู้ป่วย

 

 

วิธีดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น


1.ล้างมือให้สะอาดทั้งก่อน-หลังดูแลผู้ป่วย


2.จัดท่าให้ผู้ป่วยได้หายใจอย่างสะดวก รวมถึงเปลี่ยนท่านอนให้ผู้ป่วยทุก 1 – 2 ชั่วโมง


3.กรณีผู้ป่วยเจาะคอ ต้องดูแลท่อเจาะคอให้อยู่กับที่ หมั่นเช็กความสะอาด และดูว่าไม่มีเสมหะอุดตันอยู่เสมอ


4.ตรวจสอบรอยต่อระหว่างเครื่อง รวมถึงตัวผู้ป่วยให้แน่น ไม่หลุดง่าย


5.สังเกตอาการว่าได้รับออกซิเจนเพียงพอหรือไม่

 

 

ข้อมูลจาก nksleepcare , แนวทางปฏิบัติในสถานการณ์การระบาดของการดูแลผู้ป่วยวิกฤต COVID-19

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง