รีเซต

Sustainable Bank คืออะไร? ทำไมต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

Sustainable Bank คืออะไร? ทำไมต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
TrueID
24 สิงหาคม 2564 ( 12:39 )
585

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้ระบบทุนนิยมส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศในหลาย ๆ ด้าน แต่ก็เกิดปัญหากระทบในหลายด้านตามมาเช่นเดียวกัน ในช่วงที่ผ่านมา ปัญหาดังกล่าวมีความรุนแรงมากขึ้นจนทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับแนวคิด “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเชิงคุณภาพ โดยคำนึงถึง ผลกระทบในระยะยาว และประโยชน์แก่สาธารณะในภาพรวม ในกลุ่มธนาคารเองก็ได้นำแนวคิดนี้มาใช้ วันนี้ trueID พาไปรู้จัก การธนาคารเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Bank ว่าเป็นอย่างไร

 

​​การธนาคารเพื่อความยั่งยืน คืออะไร

 

​​การธนาคารเพื่อความยั่งยืน หมายถึง การธนาคารที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจและสังคมในระยะยาว โดยดําเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และอยู่ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี (ESG) ตลอดจนการช่วยสร้างแรงผลักดันให้ทุกภาคส่วนทั้งภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และรัฐบาลดําเนินการในทิศทางที่นําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อทั้งระบบเศรษฐกิจและตัวสถาบันการเงินเอง

 

บทบาทของสถาบันการเงินในเรื่องการธนาคารเพื่อความยั่งยืน

 

สถาบันการเงินมีบทบาทสำคัญในการสร้างความยั่งยืนผ่านการทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรทางการเงินจากผู้ออมเงินไปยังผู้กู้ที่ต้องการใช้เงินทุน โดยคำนึงถึงการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจและสังคม และดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และอยู่ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี (ESG)

 

 

 

​มีกระบวนการพิจารณาสินเชื่อแก่ธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยสินเชื่อ และผลกระทบต่อชื่อเสียงของธนาคาร นอกจากนี้ ยังควรให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ส่งผลเสียต่อชุมชน เช่น สินเชื่อพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจไปยังกลุ่มลูกค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ

​ให้บริการทางการเงินโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้บริโภคในระยะยาว เช่น การนำเสนอผลิตภัณฑ์โดยพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าเพื่อลดปัญหาการก่อหนี้สินล้นพ้นตัว การส่งเสริมเข้าถึงบริการทางการเงินของลูกค้าโดยเฉพาะลูกค้าฐานราก หรือผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล ประกอบกับการให้ความรู้ทางการเงิน เพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงินที่ดี และให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่เหมาะสมต่อการตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้ตรงกับความต้องการและความสามารถของลูกค้า

​ส่งเสริมการดำเนินการภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดีทั้งภายในองค์กรของสถาบันการเงินเองและการดำเนินธุรกิจกับบุคคลภายนอกอย่างโปร่งใส รวมทั้งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือคอร์รัปชัน การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และผลกระทบต่อชื่อเสียงของสถาบันการเงิน

 

 

ประโยชน์ของการธนาคารเพื่อความยั่งยืน

 

 

 

บทบาทของ ธปท. ในการส่งเสริมการธนาคารเพื่อความยั่งยืน

 

ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจการเงินไทยได้เผชิญกับความเสี่ยงจากปัจจัย ESG หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) ทั้งการเกิดอุทกภัย ภัยแล้ง และฝุ่น PM 2.5 ความเสี่ยงจากปัจจัยด้านสังคม เช่น ปัญหาหนี้ครัวเรือน ตลอดจนความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาลที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณและการฉ้อโกงหรือคอร์รัปชัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งภาคธุรกิจและสังคมที่เป็นลูกค้าของกลุ่มสถาบันการเงิน

 

         ธปท. ในฐานะผู้ที่ดูแลเศรษฐกิจ สถาบันการเงิน และระบบการเงินของประเทศให้มีเสถียรภาพ จึงมีนโยบายส่งเสริมให้ระบบสถาบันการเงินไทยตระหนักถึงความสำคัญและความเร่งด่วนของการดำเนินธุรกิจตามหลักการธนาคารเพื่อความยั่งยืน โดยสนับสนุนการผนวกปัจจัย ESG เข้าไปในกระบวนการดำเนินธุรกิจ และผลักดันให้ฝังเป็นวัฒนธรรมหรือค่านิยมของสถาบันการเงินไทย

 

ข้อมูล : ธนาคารแห่งประเทศไทย

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง