ปรับโครงสร้างหนี้ ทางรอดของลูกหนี้
TrueID
20 สิงหาคม 2564 ( 14:14 )
440
เกิดวิกฤติกันถ้วนหน้า จากการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ระลอกแรกจนมาถึงระลอกล่าสุด จนทำให้ลูกหนี้เริ่มแบกรับภาระไม่ไหว จนทำให้ผู้ประกอบการต้องการเงินทุนไปหมุนเวียนเพื่อต่อชีวิตธุรกิจ และหนึ่งในทางออกที่นับว่าน่าจะดีที่สุดในขณะนี้ก็คือ การติดต่อกับสถาบันการเงิน เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ หรือปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ใหม่ให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง วันนี้ trueID จะพาไปดูว่าการแก้ปัญหาแบบปรับโครงสร้างหนี้ จะเป็นอย่างไร
รูปแบบของ วิธีปรับโครงสร้างหนี้
- ยืดหนี้ การยืดหรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ นิยมใช้กันมากที่สุดเพื่อช่วยให้ภาระการผ่อนสอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง เหมาะสำหรับ ผู้ที่จ่ายได้ไม่เต็มจำนวนที่ถูกเรียกเก็บ หรือจ่ายไม่ได้ตามสัญญา
- พักชำระเงินต้น ช่วยลดภาระการผ่อนชั่วคราว โดยปกติค่างวดที่ผ่อนชำระประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เงินต้นกับดอกเบี้ย เหมาะสำหรับ ผู้ที่จ่ายไหวเลย เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน เมื่อครบกำหนดแล้ว ค่อยจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงที่พักไป
- ลดอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลง ทำให้ค่างวดที่จ่ายแต่ละเดือนแบ่งไปตัดลดเงินต้นได้มากขึ้น และเมื่อเงินต้นลด ภาระดอกเบี้ยก็จะลดลง เหมาะสำหรับ ผู้ที่จ่ายได้ไม่เต็มจำนวนที่ถูกเรียกเก็บ หรือจ่ายไม่ได้ตามสัญญา
- ยกหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ เมื่อต้นปี 2563 แบงก์ชาติได้ประกาศให้สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยปรับบนฐานของงวดที่ผิดนัดชำระจริงเท่านั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และให้ความสำคัญกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นด้วย
- เพิ่มเงินทุนหมุนเวียน ในภาวะที่เหตุการณ์ในอนาคตมีความไม่แน่นอนสูง เงินทุนหมุนเวียน (working capital: WC) เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยหล่อเลี้ยงธุรกิจในยามที่ลำบาก ให้มีโอกาสฟื้นกลับอย่างรวดเร็วได้ในภายหลัง
- เปลี่ยนประเภทหนี้ หนี้ที่อัตราดอกเบี้ยแพงควรถูกเปลี่ยนประเภทเป็นหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยถูกลง เหมาะสำหรับ ผู้ที่จ่ายไหว แต่อยากประหยัดรายจ่ายที่เป็นดอกเบี้ยลง
- เจรจาขอส่วนลด เพื่อจ่ายทั้งหมดแบบปิดบัญชีด้วยเงินก้อน เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีเงินก้อนแต่ไม่พอปิดหนี้ทั้งหมด
- ปิดจบด้วยเงินก้อน หากพอมีความสามารถหาเงินก้อนได้จำนวนหนึ่ง
- รีไฟแนนซ์ (refinance) คือการปิดสินเชื่อจากเจ้าหนี้เดิมและย้ายไปใช้สินเชื่อของเจ้าหนี้ใหม่ที่ให้เงื่อนไขดีกว่า เหมาะสำหรับ ผู้ที่จ่ายไหว แต่อยากประหยัดรายจ่ายที่เป็นดอกเบี้ยลง
ข้อมูล : ธนาคารแห่งประเทศไทย , ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabay
ข่าวที่เกี่ยวข้อง